ดีพร้อม จับมือ มหาวิทยาลัยรังสิต ปั้นนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ สู้ภัยโควิด - 19 อวดโฉมเครื่องมือแพทย์ฝีมือคนไทย รับมือสถานการณ์ปัจจุบัน

อังคาร ๐๖ กรกฎาคม ๒๐๒๑ ๑๕:๒๙
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยผลความสำเร็จการดำเนินงานระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ในการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทย เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน อาทิ ตู้แรงดันบวก อุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่อง (PAPR) เครื่อง Contactless Self Service Body Check up ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล Tele-Health เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป จำนวน 50,000 คน หรือ 100,000 โดส

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ห่วงใยประชาชนและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งขับเคลื่อนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น ดีพร้อม (DIPROM) จึงผลักดันมาตรการเร่งด่วนเพื่อเตรียมความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่จะเพิ่มความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนนี้ คือการส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยรังสิต ในการร่วมดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งเป้าหมายพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 25% ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมนั้นจะสามารถรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้

ทั้งนี้ จากการเยี่ยมชมการดำเนินงานของทางมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งมีการจัดระบบการให้บริการคัดกรองและการให้บริการฉีดวัคซีน โดยแยกพื้นที่อย่างชัดเจน ทำให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการให้บริการประชาชนด้านต่าง ๆ จึงได้นำต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมจากดีพร้อมมาใช้งานจริง ณ จุดบริการ ทั้ง คลินิกเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต และศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ตู้แรงดันบวก สำหรับตรวจคัดกรอง (Swab Test) เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถอยู่ภายในตู้ระหว่างการตรวจคัดกรองเชื้อจากประชาชนที่อยู่ภายนอกได้อย่างสะดวกและปลอดภัย อุปกรณ์จ่ายอากาศแบบต่อเนื่อง PAPR สำหรับป้องกันระบบทางเดินหายใจแบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เครื่อง Contactless Self Service Body Check up เครื่องตรวจสุขภาพเบื้องต้น แบบลดการสัมผัส ระบบปรึกษาข้อมูลสุขภาพทางไกล Tele-Health สำหรับติดตามข้อมูลสุขภาพและระบบหุ่นยนต์ตรวจสุขภาพใช้ในการวัดความดันโลหิตและติดต่อแพทย์เฉพาะทางสำหรับปรึกษาอาการเบื้องต้น โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ สามารถนำไปขยายผลสำหรับใช้ในการป้องกันและการตรวจคัดกรองบุคลากรในสถานประกอบการและภาคอุตสาหกรรม นอกเหนือจากต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 แล้ว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ไทย ยังได้มีการต่อยอดต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ อาทิ เครื่อง Auto CPR. ชุด Smart Infusion Pump ระบบ AI ในการวิเคราะห์โรคปอด เครื่องช่วยพยุงผู้สูงอายุ สำหรับการใช้งานในสถานพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ รวมทั้งชุมชน ซึ่งเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพไทย โดยมีผู้ประกอบการที่มีความสามารถและพร้อมนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอดผลิตในเชิงพาณิชย์โดยไม่มีลิขสิทธิ์ต้นแบบอีกด้วย นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติม

นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า มหาวิทยาลัยรังสิต รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง และได้เล็งเห็นถึงความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ จึงได้มุ่งมั่นที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์มาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สามารถรองรับกับความต้องการใช้งานที่หลากหลายได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิต โดยวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์และวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีบทบาทในการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์ ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาโดยตลอด โดยครั้งนี้ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่ผลงานจากความร่วมมือกันได้ถูกนำมาใช้งานจริง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการประชาชนในมิติที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

รวมทั้ง ยังสามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ณ คลินิกเทคนิคการแพทย์ อาคารวิทยาศาสตร์ 4 มหาวิทยาลัยรังสิต และ ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาคารนันทนาการ 14 มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิตได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป จำนวน 50,000 คน หรือ 100,000 โดส ภายในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีความพร้อมให้บริการตามเป้าหมาย โดยปัจจุบันได้มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วประมาณ 15,000 คน ส่งผลให้ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งเพิ่มความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยทั้งด้านอุปโภคและบริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่คาดว่าจะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากถึงกว่า 300 ล้านบาทต่อเดือน และจะสูงถึงกว่า 700 ล้านบาทต่อเดือนเมื่อฉีดวัคซีนได้ครบตามเป้าหมาย 50,000 คน นายอาทิตย์ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ