ข้อมูลสถิติล่าสุดอ้างอิงจาก IDF Diabetes Atlas ฉบับที่ 9 เผยประเทศไทยมีความชุกของภาวะเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 20-79 ปี สูงถึง 8.3% และมีประชากรที่มีภาวะก่อนเบาหวานสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก[1] แอปพลิเคชัน mySugr ช่วยให้ผู้มีภาวะเบาหวานสามารถรวบรวมข้อมูลการรักษาส่วนบุคคลได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในที่เดียวด้วยการเชื่อมต่อแอปฯ mySugr กับเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลากหลายรุ่น เช่น เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด แอคคิว-เช็ค รุ่นไกด์ (Accu-Chek Guide) เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแอคคิว-เช็ค รุ่นอินสแตนท์ (Accu-Chek Instant) และยังสามารถทำงานร่วมกับโซลูชันอื่นๆ อาทิ Apple Health เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลจากในแอปฯ ในการดูแลสุขภาพของตนเอง สำหรับคุณสมบัติหลักบางส่วนในการใช้งาน mySugr ได้แก่ หน้าจอบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ประเมินค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (Estimated HbA1c) วิเคราะห์ข้อมูลค่าน้ำตาลย้อนหลังได้ 7, 14, 30 และ 90 วันและการแปลผลค่าน้ำตาลแบบต่อเนื่องด้วยกราฟ
มร. มิไฮ อีริเมสซู (Mr.Mihai Irimescu) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) แผนกธุรกิจเบาหวาน กล่าวถึงความสำคัญในการเปิดตัวแอปพลิเคชัน mySugr ว่า "เรารู้สึกยินดีและมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำ mySugr แอปพลิเคชันในการดูแลเบาหวานผ่านการบริหารจัดการข้อมูลมาสู่ประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีภาวะดังกล่าวสามารถดูแลตนเองได้สะดวกยิ่งขึ้น เป็นที่ทราบกันดีกว่า 'ข้อมูล' มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดูแลภาวะเบาหวาน ผู้ใช้งาน mySugr สามารถบริหารจัดการและดูแลตนเองในแต่ละวันได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านคุณสมบัติต่างๆ ของแอปฯ ตลอดไปจนถึงบุคลากรทางการแพทย์ก็สามารถใช้งานแอปฯ นี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนแนวทางในการรักษาได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การรวบรวมและจัดการข้อมูลเกี่ยวกับเบาหวานมักมีความยุ่งยากและต้องใช้เวลา ดังนั้นการเปิดตัว mySugr ซึ่งพร้อมใช้งานในประเทศไทยแล้ววันนี้ จึงเป็นตัวช่วยที่ทำให้การดูแลภาวะเบาหวานเป็นเรื่องง่ายและสะดวก ผ่านการรวบรวมข้อมูลการรักษาที่เกี่ยวข้องไว้ในที่เดียว ด้วยการเชื่อมต่อกับเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด การประมวลผล และการป้อนข้อมูลจากผู้ใช้งานโดยตรง เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แอปพลิเคชัน mySugr จะช่วยให้ผู้ใช้งานในประเทศไทยสามารถบริหารจัดการดูแลภาวะเบาหวานได้ทุกที่ ทุกเวลา"
แอปพลิเคชัน mySugr ช่วยให้การดูแลเบาหวานกลายเป็นเรื่องง่าย
ผู้ใช้งานสามารถกรอกข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลการใช้อินซูลิน ค่าระดับน้ำตาลในเลือดปัจจุบันและค่าระดับน้ำตาลในเลือดเป้าหมาย ระดับความเครียด ข้อมูลการใช้ยา ปริมาณคาร์บ และกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในแต่ละวันได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ แอปพลิเคชัน mySugr ยังมีคุณสมบัติการใช้งานอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้งานปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถานะการรักษาในปัจจุบัน และมีคาแรกเตอร์การ์ตูนที่ถูกออกแบบขึ้นมาสำหรับแอปพลิเคชัน mySugr เท่านั้น จะช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกสนุกและเกิดความมุ่งมั่นตั้งใจในการรักษา นอกจากคุณสมบัติพื้นฐานของ แอปพลิเคชัน ผู้ใช้งานที่เชื่อมต่อแอปพลิเคชัน mySugr กับเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแอคคิว-เช็ค (Accu-Chek) จะได้ใช้งาน mySugr PRO โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้สัมผัสประสบการณ์การใช้งานที่หลากหลาย อาทิ ประมวลผลค่าน้ำตาลพร้อมรายงานผลในรูปแบบ PDF และ Excel โดยสามารถส่งต่อข้อมูลดังกล่าวผ่านทางอีเมล ไลน์ และ SMS ให้แพทย์ผู้รักษาตลอดจนสมาชิกในครอบครัว บันทึกค่าน้ำตาลพร้อมรูปมื้ออาหาร ระบบการค้นหาเพื่อตรวจดูรูปแบบในการบริหารจัดการภาวะเบาหวานในแต่ละวัน
การเชื่อมต่อเข้ากับดิจิทัลแพลตฟอร์มของโรช ไดอะบี-ทีส แคร์ (RocheDiabetes Care Platform)
ผู้ใช้ mySugr จะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลการใช้งานเข้ากับแพลตฟอร์ม RocheDiabetes Care ซอฟต์แวร์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยของโรช ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลในเชิงลึกประกอบกับระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อมีเป้าหมายหลักในการดูแลรักษาและอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ช่วยส่งเสริมวิธีการรักษาแบบองค์รวมที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในการรักษา โดยเน้นการจัดการภาวะเบาหวานเฉพาะบุคคลเป็นสำคัญ
แพลตฟอร์มดังกล่าวได้เปิดให้บริการในประเทศไทยมาตั้งแต่กลางปี 2563 โดยมีเป้าหมายหลักในการดูแลรักษาและอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์
การเชื่อมต่อข้อมูลผู้ใช้ของ mySugr เข้ากับแพลตฟอร์ม RocheDiabetes Care จะช่วยให้ผู้มีภาวะเบาหวานสามารถส่งต่อข้อมูลที่บันทึกไว้ในแอปฯ mySugr ให้กับแพทย์ผู้รักษาได้ทันที ช่วยให้การปรึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการรักษาของทั้งสองฝ่ายเป็นไปอย่างราบรื่น และสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาให้มีความเฉพาะตัวและเหมาะสมกับผู้มีภาวะเบาหวานในแต่ละราย
[1] International Diabetes Foundation. 2019. IDF Diabetes Atlas Ninth edition.
ที่มา: Edelman