"รูปแบบที่ หนึ่ง การช่วยซื้อหนี้ที่เกษตรกรเป็นหนี้สถาบันการเงินหรือหนี้สถาบันการเกษตรในรูปแบบต่างๆ เช่น หนี้สหกรณ์แล้วชำระหนี้ไม่ได้กำลังจะเข้าสู่กระบวนการยึดทรัพย์หรือยึดที่ดินทำกินที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมโดยกองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปซื้อหนี้ แล้วโอนหลักทรัพย์มาไว้ที่กองทุนและให้เกษตรกรมาผ่อนชำระหนี้กับกองทุนแทน เมื่อผ่อนชำระจนหมดสิ้น จะคืนโฉนดหลักทรัพย์ที่ดิน และรูปแบบที่ สอง การซื้อหนี้บุคคลค้ำประกัน ซึ่งเกิดจากการผลักดันของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะประธานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้ช่วยสนับสนุนและผลักดันจนออกเป็นพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูฯ ฉบับที่ 3 ที่ระบุให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าไปซื้อหนี้ในส่วนที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่มีบุคคลค้ำประกันได้ ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องเป็นหนี้ของเกษตรกรรายย่อยที่เกี่ยวกับการเกษตร และเป็นหนี้สถานบันเงินที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยหลังจากที่กองทุนฟื้นฟูฯได้ชำระหนี้แทนแล้ว ให้เกษตรกรมาผ่อนชำระกับกองทุนฟื้นฟู ซึ่งมีระยะเวลาผ่อนนานถึง 20 ปี"
นายสมยศ กล่าวต่อไปว่า การจัดการหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูฯ นอกจากเกษตรกรจะไม่สูญเสียที่ดินทำกินแล้ว ยังสามารถฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้พึ่งพาตนเองได้เกษตรกรที่ชำระหนี้คืนกองทุนครบตามสัญญา โดยจนถึงขณะนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถมอบโฉนดที่ดินคืนให้กับเกษตรกรที่ชำระหนี้คืนครบถ้วนและปิดบัญชีแล้ว เป็นจำนวนกว่า 9,000 รายคิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้นกว่า 70,000 ไร่ จากจำนวนเกษตรกรที่กองทุนฟื้นฟูฯได้เข้าไปจัดการหนี้ทั้งหมดกว่า 30,000 กว่าราย คิดเป็นจำนวนที่ดินที่กองทุนฟื้นฟูฯ ช่วยเอามาเก็บไว้เพื่อไม่ให้ถูกเจ้าหนี้ยึดกว่า 160,000 ไร่
" ดังนั้นจึงฝากถึงพี่น้องเกษตรกรว่า กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นอีกทางเลือกที่สามารถให้การช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร เพื่อบรรเทาการแก้ปัญหาหนี้ได้ทั้งในวันนี้และในอนาคต เพราะวันนี้เกษตรกรอาจจะไม่มีปัญหา แต่หากในอนาคตข้างหน้า ถ้าเกษตรกรมีปัญหาหนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยพี่น้องเกษตรกรได้ ดังนั้นจึงอยากขอเชิญชวนให้มาสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดต่าง ๆและสมัครได้ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ สาขาได้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศในวันและเวลาทำการ"นายสมยศ กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา: ฟรีแลนซ์