มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ลงนามเอ็มโอยูกับอีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ ศึกษานำร่องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ เพื่อการพาณิชย์

พฤหัส ๑๕ กรกฎาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๔๑
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ร่วมกับบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการศึกษานำร่องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicles หรือ BEV) ในประเทศไทย มุ่งทำความเข้าใจ แนวทางการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ เพื่อการพาณิชย์ และทำการศึกษาข้อมูลจากการใช้งานจริงโดยอีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จะจัดส่งรถยนต์ มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ เพื่อการพาณิชย์ จำนวน 1 คัน ให้แก่ อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์สำหรับใช้ในการดำเนินธุรกิจการขนส่งสินค้าเป็นเวลา 1 ปี

โครงการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งในแผนดำเนินงานของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ที่จะพัฒนายนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าให้ครอบคลุมการใช้งานทั้งในรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและเพื่อการพาณิชย์ โดยมีเป้าหมายส่งเสริม ให้ผู้ใช้รถยนต์ชาวไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า และศึกษาโอกาสที่จะขยายต่อไปสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลไทย

ขณะเดียวกัน แผนงานการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในธุรกิจโลจิสติคส์ ของอีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมและแนวคิดการลดต้นทุนการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จัดตั้งและถือครองโดยบริษัท ฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ กรุ๊ป หนึ่งในบริษัทชั้นนำ ผู้ให้บริการโลจิสติคส์ทั่วโลกแบบ 'ครบวงจร'

มร. เออิอิชิ โคอิโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้จัดส่งรถ มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ ประมาณ 9,000 คัน ให้กับบริษัทขนส่งต่างๆ บริษัท ค้าปลีก และหน่วยงานรัฐ ในประเทศญี่ปุ่น และยังจัดส่งอีก 1,500 คัน เพื่อเป็นรถยนต์ ที่ใช้ในกรมไปรษณีย์ของญี่ปุ่นอีกด้วย จากนี้ เราจะเดินหน้าศึกษาถึงแนวทางที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการใช้ยนตรกรรมไฟฟ้า ควบคู่กันไปกับการขยายสถานีชาร์จไฟและการสนับสนุน จากรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่อง โครงการศึกษานำร่องครั้งนี้ ทำให้เราได้มีโอกาสศึกษาความเป็นไปได้ ของการปรับใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อการพาณิชย์ สานต่อให้เกิดการสนับสนุนและการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายสำหรับประเทศไทยในอนาคต โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการใหม่ ด้านสิ่งแวดล้อม (The New Environmental Plan Package) ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ที่มีการกำหนดขอบข่ายของสังคมในอนาคตและทิศทางโครงการริเริ่มต่างๆ สู่เป้าหมายในปี 2593 และยังเป็นการสนับสนุนแผนริเริ่มส่งเสริมยนตรกรรมไฟฟ้าของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของแผนปฏิบัติการใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ก็คือ การเพิ่มสัดส่วนการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 50% จากยอดจำหน่ายรถยนต์มิตซูบิชิทั้งหมดทั่วโลกในปี พ.ศ. 2573" มร. โคอิโตะ กล่าวเพิ่มเติม

มร. ฮอนดะ เรียวอิชิ ประธานกรรมการ และผู้อำนวยการ บริษัท ฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ (สำนักงานใหญ่) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ในฐานะหนึ่งในบริษัทผู้นำในอุตสาหกรรมโลจิสติคส์ เรามีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะเดียวกัน ก็พิจารณาถึงวิธีการการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานไปพร้อมๆ กันด้วย เรามีความภาคภูมิใจที่ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับหนึ่งในบริษัทรถยนต์ชั้นนำ เพื่อส่งเสริมแนวคิดริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมของเรา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและศักยภาพ ที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ล้ำสมัย โครงการศึกษาครั้งนี้จะช่วยให้เรามีความเข้าใจและได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการปฏิบัติงานของเราในอนาคต สอดคล้องกับเป้าหมายการเป็นบรรษัทพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นผู้นำในการสร้างความยั่งยืนทั้งในด้านอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม"

ภายใต้บันทึกความเข้าใจดังกล่าว อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จะใช้มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ ในการปฏิบัติงาน ส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าทุกวันเป็นเวลา 1 ปี รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นดังกล่าว เป็นรถยนต์ที่ได้รับการยอมรับด้านสมรรถนะการขับขี่และการบรรทุกสินค้า ตอบรับการขับขี่ที่เงียบสงบ ประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อรองรับการบรรทุกสินค้าที่หลากหลาย มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ ได้ถูกออกแบบให้สามารถบรรทุกสินค้าได้สูงสุด 350 กก. พร้อมผู้โดยสาร 2 คน พื้นที่เก็บสัมภาระเมื่อพับเบาะผู้โดยสารลงมีความยาว 2,685 มม. และประตูแบบสไลด์ ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า

รถยนต์รุ่นนี้รองรับการชาร์จไฟแบบเร็วด้วยหัวชาร์จ CHAdeMO สามารถชาร์จไฟได้สูงสุด 80 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 35 นาที หรือด้วยการชาร์จไฟแบบปกติจนเต็มแบตเตอรี่ 100 เปอร์เซ็นต์ใช้เวลา 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีระบบคืนพลังงานขณะเบรก ที่จะช่วยแปลงพลังงานจากการเบรกเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ขณะขับขี่มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ ยังสามารถเป็นแหล่งพลังงาน ภายใต้คอนเซ็ปต์ระบบนิเวศพลังงานไฟฟ้าแห่งอนาคต หรือ เดนโด ไดร์ฟ เฮ้าส์ (Dendo Drive House) เหมือนกับ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี อีกด้วย

โครงการศึกษานำร่องร่วมกับอีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จะช่วยขับเคลื่อนแผนงานพัฒนายนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเปิดตัวมิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ผลิตและเปิดตัวในประเทศไทย เมื่อปลายปี 2563 รถยนต์ รุ่นดังกล่าว เป็นรถเอสยูวี ปลั๊กอินไฮบริดที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก และเป็นยนตรกรรมที่ผสมผสาน ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ปล่อยมลพิษในระดับต่ำจนถึงศูนย์ และช่วยคลายความกังวลด้านระยะทางการขับขี่ พร้อมสมรรถนะการขับขี่ที่ยอดเยี่ยมในระดับเดียวกับรถยนต์เอสยูวีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ยังเป็นรถยนต์ที่ตอบโจทย์ กับสถานการณ์ความพร้อมและความสะดวกสบายด้านโครงสร้างพื้นฐานของการชาร์จไฟฟ้าในปัจจุบัน มียอดขายรวมทั้งหมดจนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ของรถเอสยูวีปลั๊กอินไฮบริดรุ่นนี้อยู่ที่ 283,038 คัน

ที่มา: มิตซูบิชิ มอเตอร์ส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย
๐๙:๑๘ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัด Pitching day การเขียนโฆษณา และ การเล่าเรื่องผ่านแคมเปญ
๐๙:๔๔ รมว.เอกนัฏ โชว์ ดีพร้อม หนุนซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย ในงาน ShowPow ต้อนรับปีใหม่ ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น
๐๙:๓๒ กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) หารือแนวทางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใต้โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล)
๐๙:๐๘ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ภายใต้โครงการ อายิโนะโมะโต๊ะ โภชนาการเพื่อเด็กไทย