"ข้อมูลจากบลูมเบิร์กและศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งมีส่วนแบ่งต่อ GDP โลกมากถึง 24% นั้น ในไตรมาสที่ 3/2564 จะเติบโตเพียง 7% น้อยกว่าไตรมาส 2/2564 ที่คาดว่าจะเติบโต 8.1% ด้านเศรษฐกิจจีนที่มีส่วนแบ่งต่อ GDP โลกที่ 16% ก็เติบโตชะลอตัวเช่นกัน โดยในไตรมาสที่ 3/2564 คาดว่าจะเติบโต 5.2% น้อยกว่าไตรมาส 2/2564 ที่คาดว่าจะเติบโต 5.6% นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังเตรียมส่งสัญญาณปรับลดสภาพคล่องในระบบ โดยคาดว่าจะเริ่มในการประชุม Jackson Hole ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ ประเด็นนี้จะกดดันให้ส่วนต่างของพันธบัตร (Yield curve) ระยะสั้นและระยะยาวแบนราบลง ซึ่งจากการเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2554 พบว่า ในช่วงที่ Yield curve ระยะสั้นและระยะยาวเข้ามาใกล้กัน หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์รวมถึงนวัตกรรมการแพทย์มักจะสร้างผลตอบแทนอย่างโดดเด่นกว่าหุ้นวัฏจักรเศรษฐกิจ" นายณัฐกฤติกล่าว
ดังนั้น ในช่วงนี้ธนาคารทิสโก้จึงยังเน้นย้ำให้ลูกค้าโฟกัสการลงทุนไปที่หุ้นกลุ่ม 'นวัตกรรมการแพทย์' ของสหรัฐฯ และจีน เพราะในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจเฮลธ์แคร์ของทั้งสองประเทศมีอัตราการเติบโตสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยสหรัฐฯ และจีนมีเม็ดเงินลงทุนในการวิจัยยาตัวใหม่ด้วยนวัตกรรมไบโอเทคที่สูงอย่างต่อเนื่อง การทุ่มงบวิจัยยาที่มากขนาดนี้ทำให้ตั้งแต่ปี 2557จนถึงปี 2560 ทั้งจีนและสหรัฐฯ ต่างถือสิทธิบัตรยาใหม่ๆ เพิ่มขึ้นกว่า 4,000 รายการต่อปี
ทั้งนี้ การมียาใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลประกอบการธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์มีโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากผลประกอบการของกลุ่มไบโอเทคของสหรัฐฯ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่น มีระดับอัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (ROE) ที่สูงถึง 37% มากกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจเฮลธ์แคร์ (Health Information Services) ที่อยู่ในระดับ 19.27% และถ้าไปดูอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ธุรกิจ Biotech ก็สามารถสร้างผลกำไรขั้นต้นได้ 83.89% ขณะที่กลุ่มเฮลธ์แคร์ทำได้ 54.98%
นางวรสินี เศรษฐบุตร ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน และสื่อสารการตลาด สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้ (Mrs.Vorasinee Sethabutr, Head Of Wealth Product Development and Marketing Communication TISCO Bank Public Company Limited) เปิดเผยว่า ธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์มีความน่าสนใจตรงที่เป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ของโลกที่ได้รับอานิสงส์โดยตรงจากสังคมสูงอายุที่เกิดขึ้นทั่วโลก ผลประกอบการมีโอกาสเติบโตในทุกภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งทางธุรกิจจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากใช้นวัตกรรมขั้นสูงในการดำเนินธุรกิจ ด้านราคาหุ้นก็มีโอกาสปรับขึ้นแรง หากยาที่อยู่ในระหว่างการวิจัยได้รับการอนุมัติจากองค์กรอาหารและยา และมักจะถูกเข้าซื้อกิจการจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก
สำหรับกองทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ของสหรัฐฯ และจีนที่ธนาคารทิสโก้คาดว่ามีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้ามี 2 กองทุน คือ
- กองทุนเปิด ยูไนเต็ด ไชน่า เฮลท์แคร์ อินโนเวชั่น ฟันด์ (UCHI) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมตราสารทุน เน้นลงทุนในธุรกิจเฮลธ์แคร์ ของประเทศจีนผ่านกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นซึ่งมีความเกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากการพัฒนานวัตกรรมด้านเฮลธ์แคร์ (Healthcare Innovation) ของประเทศจีน ซึ่งเกี่ยวเนื่องหรือได้รับประโยชน์จากการพัฒนานวัตกรรมด้านเฮลธ์แคร์ของจีน เช่น การพัฒนาและค้นคว้าด้านเภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ การบริหาร สถานพยาบาล การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบไอทีด้านการดูแลสุขภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ลงทุนในบริษัทที่น่าสนใจคือ Cansino Biologics ผู้ผลิตวัคซีนโควิดแบบเข็มเดียว และแบบชนิดสูดดม ซึ่งมีประสิทธิภาพในการช่วยเรื่องระบบหายใจโดยตรงและใช้ปริมาณวัคซีนที่น้อยกว่าการฉีดถึง 5 เท่า นอกจากนี้บริษัทยังพัฒนาวัคซีนอีก 16 ชนิด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ ไข้สมองอักเสบ ปอดอักเสบ และบริษัทมีจุดเด่นในเรื่องสภาพคล่อง เพราะเป็นบริษัทวัคซีนบริษัทที่สามารถจดทะเบียนซื้อขายได้ทั้งในตลาด A-Share และ H-Share
อีกหนึ่งบริษัทคือ Shenzhen Mindray Bio-Medical Electronics ผู้ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ที่สามารถนำไปวางขายในโรงพยาบาลชั้นนำของสหรัฐฯ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เด่น คือ เครื่องช่วยหายใจยี่ห้อ Mindray ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดเครื่องช่วยหายใจของโลกที่ 40% และปัจจุบันมีสัดส่วนยอดขายต่างประเทศที่ 42% และอีก 58% ขายในประเทศ และในไตรมาส 1 ที่ผ่านมากำไรสุทธิของบริษัทก็เติบโต 31% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน - กองทุนเปิด ทิสโก้ ไบโอเทคโนโลยี เฮลธ์แคร์ (TBIOTECH) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) การวินิจฉัยโรค (Diagnostics) และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต (Life Sciences Tools) ทั่วโลกผ่านกองทุน Polar Capital Funds plc - Biotechnology ชนิดหน่วยลงทุน I US Dollar (กองทุนหลัก) ทั้งนี้ กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
สำหรับบริษัทที่กองทุนหลักเข้าไปลงทุน เช่น Biogen ซึ่งล่าสุดได้คิดค้นยาอัลไซเมอร์ที่ชื่อว่า Aduhelm และได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ไปเมื่อเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ Biogen ยังมียาอีกหลายชนิด เช่น ยารักษาหลอดเลือด รวมถึงยาที่เกี่ยวข้องกับประสาทวิทยาอีกจำนวนมากที่อยู่ในขั้นตอนทดลอง ด้านผลประกอบการในไตรมาส 1/2564 ที่ผ่านมา กำไรสุทธิของบริษัทสามารถปรับตัวขึ้นได้กว่า 70% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
อีกบริษัทคือ Regeneron มียาไบโอเทคที่เป็นไฮไลต์คือ Eylea ซึ่งเป็นยารักษาเกี่ยวกับโรคตา ความดันตา และเบาหวานขึ้นตา สำหรับยาอีกตัวหนึ่ง ชื่อว่า Dupixent สำหรับรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน โรคหอบหืด ริดสีดวงใจจมูก โดยปัจจุบันมีชาวอเมริกันต้องการยาตัวนี้มากกว่า 3 ล้านคน และตัวอย่างสุดท้ายคือ ยา Libtayo ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก FDA เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นยาที่สามารถรักษาโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจายได้ นอกจากนี้ ยังมียาที่อยู่ในระหว่างการทดลองมากถึง 30 ชนิด ด้านผลประกอบการก็ถือว่าอยู่ในระดับที่โดดเด่น โดยในไตรมาส 1/2564 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) เพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ กองทุน TBIOTECH และ UCHI อาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ติดต่อสอบถามรายละเอียด หรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ TISCO Contact Center โทร. 02-633-6000 กด 2 กด 4
ที่มา: ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป