กองทุนฟื้นฟูฯ พร้อมเต็มร้อย แก้หนี้สมาชิกชุดแรก 45,000 ราย กรณีบุคคลค้ำประกันรอเพียงรัฐบาลอนุมัติงบปี 65 ที่ยื่นขอ 4 พันล้าน

พฤหัส ๒๒ กรกฎาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๒๙
นายมนัส  วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ กฟก. เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิกที่ได้มาขึ้นทะเบียนหนี้กับกองทุนฟื้นฟูฯ กรณีที่มีบุคคลค้ำประกัน รวมทั้งสิ้น 230,000 กว่าราย มูลค่าหนี้รวม 50,000 บาท  โดยในจำนวนนี้เป็นหนี้ที่ผิดนัดชำระหรือหนี้ NPLประมาณ 130,000 ราย และจากการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบให้อำนาจกองทุนฟื้นฟูฯ สามารถเข้าไปซื้อหนี้เกษตรกรที่มีบุคคลค้ำประกันได้ ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถทำได้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการช่วยเหลือเกษตรกรทั้ง 130,000 ราย ที่ส่วนใหญ่จะเป็นหนี้กับสหกรณ์การเกษตร ธกส. และธนาคารพาณิชย์  

 " การแก้ไขหนี้เกษตรกรกรณีที่มีบุคคลค้ำประกัน คาดว่า จะต้องใช้เงินประมาณ 10,000 ล้านบาทในการเข้าไปซื้อหนี้แทนตามระเบียบของกองทุนฟื้นฟูฯ ดังนั้นจึงกองทุนฟื้นฟูฯจึงได้เสนอของบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 4,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแปรญัตติของบประมาณของปี 2565 เพื่อมาดำเนินจัดการหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิกชุดแรกที่ตั้งเป้าไว้ ประมาณ 45,000 ราย  "

นายมนัส  กล่าวต่อไปว่า ส่วนหลักเกณฑ์ในการเจรจาหนี้ NPL ตามระเบียบของของกองทุนฟื้นฟูฯ นั้นจะประกอบด้วย 4 มาตรการ คือ  หนึ่ง เจรจาเพื่อขอประนอมหนี้ให้กับพี่น้องเกษตรกร สอง เจรจาเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ สาม เจรจาเพื่อขอให้เจ้าหนี้ชะลอการดำเนินการทางกฎหมาย ไม่ฟ้องดำเนินคดี หรือไม่บังคับคดีขายทอดตลาด และสี่ เกษตรกรสมาชิกรายไหนที่อยู่ระหว่างการฟ้องบังคับคดีขายทอดตลาด ทางกองทุนฟื้นฟูฯจะไปขอชะลอให้งดการขาย หรือถ้าเกษตรกรมีคุณสมบัติถูกต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเจ้าหนี้ยินยอมขาย ตามเงื่อนไข จะนำไปสู่การชำระหนี้แทนโดยกองทุนฟื้นฟูฯ

ทั้งนี้ ตามระเบียบ กรณีที่มีบุคคลค้ำประกัน กองทุนฟื้นฟูฯให้สิทธิชำระหนี้ได้ รายละไม่เกิน 500,000 บาท และเกษตรกรมีระยะเวลาชำระหนี้ภายใน 20 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย โดยระหว่างนี้เกษตรกรต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูอาชีพ โดยยื่นโครงการฟื้นฟูอาชีพผ่านองค์กรเกษตรกรที่สังกัด ซึ่งจะได้รับสนับสนุนงบประมาณทั้ง แบบให้เปล่าเพื่อใช้เรียนรู้ศึกษาดูงาน ฝึกทักษะอาชีพ และอื่น ๆ และงบอุดหนุน กู้ยืม โดยไม่มีดอกเบี้ย เพื่อใช้เป็นทุนสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อนำมาชำระหนี้คืน

"การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นั้น ขอยืนยันว่ากองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีเป้าประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรหนีหนี้ เบี้ยวหนี้ หรือไม่รับผิดชอบหนี้ แต่กลับมีความต้องการและเป้าหมายส่งเสริมให้เกิดการรักษาเครดิต และมีวินัยทางการเงิน  จึงของฝากถึงพี่น้องเกษตรกร ทั้งที่เป็นสมาชิกและยังไม่ได้เป็นสมาชิก ถ้ามีปัญหาเรื่องหนี้ ประสบปัญหาวิกฤตจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ให้มาแจ้งกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อที่จะได้ช่วยกันเจรจาหาทางออก โดยติดต่อได้ที่สำนักงานสาขาจังหวัด รวมถึงเกษตรกรที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สามารถสมัครได้ในทุกวันทำการที่สำนักงานสาขาจังหวัดเช่นกัน"นายมนัส กล่าวทิ้งท้าย 

ที่มา: สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO