- การใช้ประโยชน์จาก IoT ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบนหน้างานการผลิต
- ถ้าไม่มี IoT "การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตแบบอัจฉริยะ" ก็จะไม่บรรลุความเป้าหมาย
- วิธีการจัดแผนปฏิบัติงานของ IVI จะทำให้ IoT ดำเนินการได้อย่างเกิดประสิทธิผลสูงสุด
- ถึงเวลาที่เราจะต้องขับเคลื่อน IoT ให้เป็นก้าวแรกสู่การปฏิรูปอุตสาหกรรมการผลิต
ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) กล่าวว่า "Smart Monozukuri Support Team System in Thailand" เป็นความสำเร็จของการปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดในอุตสาหกรรมยุคปัจจุบันและอนาคต ด้วยการบริหารขับเคลื่อนองค์กร การบูรณาการระบบที่มุ่งเน้น ผลิตภาพที่สูง กระบวนการที่มีความยืดหยุ่น โดยการนำหลักการ Smart Monozukuri โดยผ่านกระบวนการ IVI-MODEL มาเป็นส่วนช่วย โดยมุ่งเน้นการนำปัญหาหน้างานขึ้นมาดำเนินการปรับปรุงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความรวดเร็ว การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถภายในองค์กร เพื่อทำให้เกิดการใช้งาน IoT ภายในองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
การบันทึกลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร ในภาคการผลิตให้มีความรู้และทักษะที่ทันสมัย เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในภาคการผลิตให้มีความเข้าใจในการนำ IoTs มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ส.ส.ท. และ IVI อีกทั้งยังร่วมสนับสนุนอุตสาหกรรมอัจฉริยะที่เข้มแข็งเพื่อเป็นกลไกในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน
ที่มา: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)