"ทรีนีตี้" ให้กรอบแนวรับดัชนีหุ้นเดือน ส.ค.ที่ระดับ 1,480-1,500 จุด มองขยายเวลา-เพิ่มจำนวน จังหวัดล็อกดาวน์

จันทร์ ๐๒ สิงหาคม ๒๐๒๑ ๑๕:๐๙
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางการลงทุนเดือน ส.ค.2564 ภายใต้สถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ที่ยังมียอดผู้ติดเชื้อยังสูงขึ้น ล่าสุด ศบค.ประกาศขยายเวลาในการล็อกดาวน์ไปจนถึงวันที่ 18 ส.ค. เป็นอย่างน้อย และเพิ่มจังหวัดจาก 13 เป็น 29 จังหวัด ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและการลงทุน ที่จะเห็นการปรับลดประมาณการจีดีพี รวมถึงลดประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ลงได้อีก

นอกจากนี้การล็อกดาวน์ที่ยืดเยื้อได้ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบปรับตัวลดลง สะท้อนผ่านปริมาณเงินในระบบหรือ M2 ที่ขยายตัวน้อยลงทำสถิติต่ำสุดในรอบ 13 ปี ส่งผลให้การมีส่วนร่วมของนักลงทุนทั่วไป ในตลาดหุ้นไทยเริ่มอยู่ในระดับจำกัด และทำให้วอลุ่มการซื้อขายโดยรวมเบาบางลงไปด้วย

นายณัฐชาต กล่าวว่า กลยุทธ์การลงทุนในภาวะแบบนี้ ทางทรีนีตี้ แนะนำว่า สำหรับพอร์ต ที่ทยอยสะสมหุ้นมาก่อนหน้านี้ที่บริเวณดัชนีต่ำกว่า 1,550 จุดลงมา มองว่าสามารถถือครองหุ้นไว้ก่อนได้ ขณะที่นักลงทุนที่ต้องการเข้าสะสมหุ้นครั้งใหม่ อาจรอจังหวะดัชนีหุ้นที่มีการย่อตัวแถวบริเวณแนวรับประจำเดือนนี้ที่ให้ไว้ที่ 1,480-1,500 จุด น่าจะเป็นระดับการเข้าลงทุนที่ปลอดภัย เนื่องจากเป็นระดับ ที่ Valuation ต่ำและมีการซื้อขายที่ระดับ Forward PE 15.5 เท่า เท่านั้น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง ที่ 17.2 เท่า

ขณะที่ปัจจัยจากต่างประเทศที่จะเข้ามามีผลต่อการลงทุนในเดือน ส.ค.คือ ดัชนีภาคการผลิต ทั่วโลกที่เริ่มส่งสัญญาณอ่อนแอให้เห็น นำโดยประเทศจีนที่รายงานตัวเลข PMI ชะลอลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ Covid-19 ที่กลับมารุนแรงอีกครั้ง และปัญหาคอขวดทางฝั่งอุปทาน ด้วยเหตุนี้ จึงประเมินว่าสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกของเราบางประเภทที่อยู่ใน Supply chain ของภาคการผลิตเหล่านี้อาจเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้นในช่วงถัดไป ในทางกลับกันสินค้ากลุ่มอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตรมีแนวโน้มจะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง จากพฤติกรรมการ WFH ที่กลับมามากขึ้น

สำหรับธีมการลงทุนที่น่าสนใจ เดือน ส.ค. มีทั้งหมด 7 กลุ่มดังนี้ 1. กลุ่มสินค้าส่งออกของไทยจำพวกอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ได้ประโยชน์จากพฤติกรรม WFH ได้แก่ PM, SUN, XO 2.กลุ่ม Logistics ที่ยังคงมี Valuation ถูก ได้แก่ NCL, WICE 3.กลุ่มเครื่องดื่มที่มียอดส่งออกช่วยหนุนการเติบโตและมี Upside จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้แก่ ICHI, SAPPE 4.กลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่ Laggard และยังคงมีแนวโน้มการเติบโตของกำไรที่ดี ได้แก่ SFLEX, SFT, UTP 5. กลุ่มการแพทย์ที่ได้อานิสงส์ทางอ้อมจาก Covid-19 ที่รุนแรงต่อเนื่องได้แก่ BDMS, CHG 6.กลุ่มยาและอาหารเสริมที่ได้ประโยชน์จากการที่คนหันมาตระหนักกับสุขภาพมากขึ้น ได้แก่ IP, MEGA และ7.กลุ่ม Commodities ต้นน้ำ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่อยู่สูงต่อไป ได้แก่ PTTEP

ที่มา: หลักทรัพย์ ทรีนีตี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม