อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกได้กลายเป็น disruption อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่งผลใหระบบบริการด้านสาธารณสุขทั่วโลกกำลังถูกทดสอบอย่างหนัก และโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุทั่วโลกที่รวมถึงประเทศไทยซึ่งก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้วในปี 2564 นี้ การเปลี่ยนผ่านทางด้านเทคโนโลยีเข้าสู่ยุคดิจิทัล อาทิ ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHR) การจัดการกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลด้วยเอไอ หรือ แมชชีน เลิร์นนิ่ง เพื่อส่งมอบบริการที่ดีขึ้นให้กับคนไข้ หรือเพื่อประโยชน์ด้านการวิจัยของวงการการแพทย์ เป็นต้น จึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการบริการด้านสาธารณสุข โดยการก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างมหาศาลอีกต่อไป เพียงใช้เทคโนโลยีทุกอย่างภายใต้การบริการ หรือ Everything-as-a-service ก็จะทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้บริการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างราบรื่น
ระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ EHR
ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (The Electronic Health Record- EHR) อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีของวงการสาธารณสุขเข้าสู่โลกของดิจิทัล โดยเริ่มต้นจากการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย ข้อมูลในการตรวจวินิจฉัยและผลลัพธ์อื่นผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก อุปกรณ์ในห้องตรวจวินิจฉัยโรค หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ขึ้นสู่ระบบดิจิทัลเพื่อที่แพทย์และพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้เข้ารับการรักษาแค่เพียงปลายนิ้ว
ปัจจุบัน ระบบ EHR รุ่นใหม่ถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ใช่แค่การปรับปรุงบริการด้านคลินิค การดำเนินงาน แต่ยังรวมถึงการส่งมอบประสบการณ์การสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย ควบคู่กับการปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลขั้นสูง ยิ่งกว่านั้นยังมีส่วนสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก การจ่ายเงินแลกบริการ (fee-for-service) ไปเป็นการดูแลแบบเน้นคุณค่า (value-based care) เพื่อเชื่อมกับกระบวนการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่สะดวกรวดเร็ว การพัฒนาขีดความสามารถของระบบ workflow ในการใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดความยุ่งยาก และเพิ่มการตัดสินใจที่แม่นยำในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด
สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ป่วย
วิวัฒนาการเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการดูแลผู้ป่วยด้วยแพลตฟอร์ม EHR มุ่งเน้นโครงสร้างการจัดการแบบยืดหยุ่น ขยายผลสู่การให้บริการการสาธารณสุขทางไกล (Telehealth) ที่มีการผลักดันอย่างมากก่อนการระบาดของโควิด-19 โดยต่างเห็นตรงกันว่า เป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบยั่งยืน โดยเป็นการทำงานผ่านแอปพลิเคชัน (App-based care) ที่ประกอบด้วย รูปแบบบริการตนเองและการเฝ้าติดตามสุขภาพแบบอัตโนมัติ การควบคุมเข้าถึงหรือเคลื่อนย้ายข้อมูลด้าน EHR ผ่านช่องทางหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆได้อย่างปลอดภัย พร้อม ๆ กับการตอบรับความต้องการของผู้ป่วยด้านความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงบริการได้สมบูรณ์ในแพลตฟอร์มเดียว
ตอบโจทย์ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น
เดิมการใช้คลาวด์สาธารณะน่าจะเป็นคำตอบสำหรับระบบจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุขที่เต็มไปด้วย ด้วยปริมาณข้อมูลที่เติบโตชนิดคาดการณ์ไม่ได้ รวมถึงความซับซ้อนและหลากหลายของข้อมูล เช่น จากแผนกรังสีวิทยา แผนกโรคหัวใจ ภาพนิ่งจากศูนย์รักษาแผล (Wound Care Center) วิดีโอจากการศึกษาเรื่องการนอน การเดิน, ศัลยกรรม และอีกมากมาย แต่เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล และข้อบังคับเรื่องความเป็นส่วนตัวในแต่ละประเทศ (jurisdictions) อาจทำให้การใช้คลาวด์สาธารณะเป็นเรื่องยุ่งยาก ยิ่งกว่านั้น อาจจะยิ่งผลักดันต้นทุนการเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะสูงตามไปอีกด้วย
ดังนั้น การสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยในองค์กร (on-premises storage) ซึ่งทางเทคนิคอาจหมายถึงการจัดเก็บในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรเอง หรือจากการใช้บริการ co-location จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดีกว่า ซึ่งการจัดหาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (storage) สามารถทำได้หลายระดับขึ้นอยู่กับความต้องการในการเข้าถึงข้อมูล หรือจากวิกฤตของความต้องการใช้งาน HPE Nimble Storage Adaptive Flash Arrays เป็นทางเลือกเริ่มต้นที่เข้มแข็ง เหมาะกับทั้งการทำงานในระดับ primary และ secondary และยิ่งร่วมกับความสามารถในการวิเคราะห์จาก HPE InfoSight แล้ว ก็จะยิ่งทำให้การคาดการณ์และป้องกันปัญหาทั้งระบบของการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้น ความสามารถอื่นเช่น intelligent deduplication ก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บในระดับที่หาตัวจับยาก และช่วยให้ใช้การจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเต็มความจุ
นวัตกรรมการส่งมอบบริการ
แม้เป็นที่ชัดเจนว่า เทคโนโลยีมีบทบาทต่อการเพิ่มประสิทธิภาพด้านบริการสาธารณสุข แต่ก็ยังมีตัวแปรสำคัญอื่นที่ท้าทายต่อการลงทุน นั่นคือ ระยะเวลาที่ยาวนานของการจัดสรรงบประมาณและกระบวนการจัดซื้อ ซึ่งเกิดแทบทุกองค์กรสาธารณสุขทั่วไป หรือกระทั่งองค์กรสาธารณสุขที่ไม่แสวงผลกำไร (not-for-profit) ความตึงเครียดของการพัฒนาสารสนเทศด้านระบบระเบียนยาและเวชภัณฑ์ ทัศนคติของบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี รวมถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารงานด้านสาธารณสุขที่ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้หรือไม่ ทางออกของปัญหาด้านงบประมาณ คือ การจ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง (Consumption-based models) ซึ่งเริ่มถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อตอบโจทย์องค์กรในการก้าวข้ามผ่านความท้าทายเหล่านี้ ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ตั้งแต่เริ่มต้น (up-front capital) ขณะเดียวกัน ก็ได้ความคล่องตัวในการสร้างนวัตกรรมด้านดิจิทัล ด้วยค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่น้อยลงเท่ากับปริมาณที่ใช้งานจริงเท่านั้น
นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาของฟอร์เรสเตอร์ระบุถึงการนำ HPE GreenLake ไปปรับใช้ในองค์กรสาธารณสุข พบว่า มีผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ที่เพิ่มขึ้น 163% มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value-NPV) ซึ่งเกิดจากการประหยัดต้นทุน สูงถึง 3.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ประหยัดเวลาในการพัฒนาบริการสาธารณสุขเพื่อส่งต่อให้ลูกค้า (time-to-market) โดยคิดออกมาเป็นตัวเงินได้สูงถึง 2.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ประหยัดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ได้ถึง 1.9 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และประหยัดงบด้านไอทีได้ถึง 708,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปี
รุกคืบบริการแบบ As-a-Service
HPE GreenLake เป็นวิธีการให้บริการแบบ Everything-As-a-Service ที่ช่วยให้ธุรกิจและองค์กรทั่วโลกนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานได้รวดเร็ว ง่าย และหลากหลายขึ้น พร้อมส่งต่อประสบการณ์ทำงานแบบคลาวด์ให้เกิดขึ้นได้ในองค์กร (on premises) พร้อมด้วยบริการดูแลจัดการชนิดเต็มรูปแบบ (fully managed) และคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง (pay-per-use) โดยผู้เชี่ยวชาญของ HPE ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจึงไม่เพียงได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด แต่ยังประหยัดเวลาของบุคลากรด้านสารสนเทศจากการแก้ปัญหาพื้นฐานประจำวันไปสู่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบงานได้มากขึ้น
สำหรับผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขหลายรายที่ต้องเผชิญกับการเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดของปริมาณข้อมูล และความต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่เกิดจากเทคโนโลยีด้านการแพทย์สมัยใหม่ ขณะอาวุธที่ใช้รับมือยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบเดิมนั้น เห็นชัดว่า ไม่สามารถรองรับรูปแบบการใช้งานในปัจจุบันได้มีประสิทธิภาพดังที่ต้องการ ความยืดหยุ่นแบบคลาวด์โดย HPE GreenLake จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาซึ่งการบริหารข้อมูลด้านสาธารณสุขที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างแท้จริง
ที่มา: มายด์ พีอาร์