"แลนดี้ โฮม" หนุนนักรบชุดขาว สู้ โควิด-19 ติดตั้งเครื่องเพิ่มการถ่ายเทอากาศในโรงพยาบาล พร้อมมอบตู้แรงดันอากาศบวก สร้างพื้นที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยง

จันทร์ ๑๖ สิงหาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๔๐
 ในขณะที่ตัวเลขของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน นักรบชุดขาว คือด่านหน้าที่ต้องรับมือกับโรคอุบัติใหม่นี้อย่างหนักหน่วง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้กับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ บริษัท แลนดี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์รับสร้างบ้านอันดับ 1 และ บริษัท แคพพลัส จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีเพิ่มอากาศถ่ายเท โดยมี คุณลีเดีย - ศรัณย์รัชต์ ดีน เป็นตัวแทนของครอบครัวที่รักสุขภาพร่วมเป็นพรีเซ็นเตอร์  ได้ร่วมมือกันจัดทำโครงการ "ลดความเสี่ยง ให้กับแพทย์" มอบตู้แรงดันอากาศบวก (Positive Pressure Room)  และติดตั้งเครื่อง CAP PLUS รุ่น CAP200  รวมมูลค่ากว่า 500,000 บาท ให้กับ รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร, รพ.นพรัตนราชธานี รามอินทรา กทม. และ รพ.สามพราน จ.นครปฐม เพื่อลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์จากการติดเชื้อขณะทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้กับประชาชน

นางสาวพรรัตน์ มณีรัตนะพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนดี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า จากสถานการณ์ โควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงมากในปัจจุบันส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้า มีโอกาสได้รับเชื้อมากกว่าบุคคลทั่วไป ประกอบกับ บริษัท แคพพลัส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ และเป็นผู้นำเทคโนโลยีเพิ่มอากาศถ่ายเท ช่วยลดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) และเชื้อโรคในอากาศ โดยการเติมอากาศใหม่ที่มีออกซิเจนเข้าไปในห้อง ผ่านการกรองฝุ่น PM 2.5 ตั้งแต่ก่อนเข้าห้อง อีกทั้งยังสร้างสภาวะแรงดันบวก (Positive Pressure) ซึ่งจะช่วยผลักฝุ่นและเชื้อโรค ทำให้อากาศภายในห้องมีเชื้อโรคลดลง โอกาสติดเชื้อโควิด-19 ก็จะลดลงด้วย จึงคิดว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์จากวิกฤติของโรคอุบัติใหม่นี้ได้

ทางบริษัทฯ มุ่งหวังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ จึงจัดทำโครงการ "ลดความเสี่ยง ให้กับแพทย์" ขึ้น โดยจะส่งมอบและติดตั้งเครื่อง CAP PLUS รุ่น CAP200 จำนวน 15 เครื่อง ให้กับ 3 โรงพยาบาล ได้แก่ รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร, รพ.นพรัตนราชธานี รามอินทรา กทม. และ รพ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดมีขนาดกระทัดรัด สามารถติดตั้งภายในห้องของโรงพยาบาลที่ต้องการให้เป็นพื้นที่ ที่ปลอดภัย ทั้งคนไข้ และบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ ห้องกุมารเวชกรรม, ห้องฉุกเฉิน,หัองสูติกรรม ตลอดจนห้องเวชระเบียน  พร้อมจัดทำตู้แรงดันอากาศบวก ขนาด 1.2 x 1.2 x 2.2 เมตร จำนวน 1 ตู้ เพื่อส่งมอบให้กับ รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทธสาคร สำหรับตรวจคัดกรอง (Swab Test) ด้วยวิธีป้ายจมูกและลำคอ โดยภายในตู้แรงดันอากาศบวกติดตั้งเครื่องปรับอากาศ พร้อมเทคโนโลยี CAP200 สร้างแรงดันอากาศภายในให้สูงกว่าภายนอก ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่อาจลอยอยู่ในอากาศภายนอกไม่ให้ไหลเข้าสู่ภายในตู้ได้ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติงานภายในตู้แรงดันอากาศบวก ในขณะที่ผู้รับบริการอยู่ด้านนอก โดยบริเวณด้านหน้ามีการเจาะช่องปิดด้วยอะคริลิคใส สำหรับวางหลอดเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่ง มีช่องสำหรับสอดมือเพื่อทำหัตถการเพื่อช่วยสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยจากเชื้อโรค ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 และสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์

นอกจากนั้นเพื่อส่งต่อความรักและความห่วงใยให้กับนักรบชุดขาว ทางบริษัทฯ ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจเตรียมส่งมอบพร้อมติดตั้ง CAP PLUS รุ่น CAP200 และ ตู้แรงดันอากาศบวก ให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ต่อไป  สำหรับโรงพยาบาลใดที่ต้องการเครื่อง CAP PLUS รุ่น CAP200 หรือตู้แรงดันบวก สามารถติดต่อได้ที่ Line id @landyhome หรือ @capplus

ที่มา: โซลิสเตอร์ พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ