ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้แนะนำกองทุนผสมจำนวน 3 กองทุน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์โดยคำนึงถึงระดับความเสี่ยงของตนเอง และสามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว กองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนในตราสารที่หลากหลาย อาทิ ตราสารหนี้ หุ้น เงินฝาก กองทุนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ พร้อมทั้งกำหนดมูลค่าความเสี่ยง (VaR หรือ Value-at-Risk) ให้อยู่ในกรอบที่กำหนด โดยทั้ง 3 กองทุนนี้ นักลงทุนสามารถซื้อได้ในทุกช่องทางรวมถึงผู้สนับสนุนการขายทุกราย ประกอบด้วย
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ทแพลน 2 (SCBSMART2) จัดสรรสินทรัพย์โดยควบคุมมูลค่าความเสี่ยงให้อยู่ในกรอบที่กำหนดประมาณ -5% ต่อปี กองทุนจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไม่เกิน 25% และลงทุนเฉพาะในประเทศไทย โดยกองทุนนี้ได้เปิดให้นักลงทุนได้ลงทุนได้เลือกลงทุนถึง 3 Share Class ได้แก่ 1) SCBSMART2 - ชนิดจ่ายเงินปันผล 2) SCBSMART2A - ชนิดสะสมมูลค่า และ 3) SCBSMART2-SSF - ชนิดกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว?(SSF) ทั้งนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการลงทุน ซึ่งรวมถึงการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากการลงทุน?
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ทแพลน 3 (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBSMART3) จัดสรรสินทรัพย์โดยควบคุมมูลค่าความเสี่ยงให้อยู่ในกรอบที่กำหนด ประมาณ -10% ต่อปี กองทุนจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไม่เกิน 34% รวมทั้งยังมีการลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 35% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน SCBSMART3 จัดเป็นกองทุน 4 ดาว ประเภท Thailand Fund Moderate Allocation ของมอร์นิ่งสตาร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ทแพลน 4 (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBSMART4) จัดสรรสินทรัพย์โดยควบคุมมูลค่าความเสี่ยงให้อยู่ในกรอบที่กำหนด ประมาณ -15% ต่อปี กองทุนจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไม่เกิน 43% รวมทั้งยังมีการลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 36% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุน SCBSMART4 จัดเป็นกองทุน 5 ดาว ประเภท Thailand Fund Moderate Allocation ของมอร์นิ่งสตาร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564) ทั้งนี้ กองทุน SMART3 และกองทุน SMART4 อาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนในต่างประเทศ
นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงแรกความกังวลต่อการระบาดของ COVID-19 รวมถึงการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้าจะมีอิทธิพลต่อภาพรวมตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังคงทรงตัวในระดับสูง ซึ่งทำให้เกิดการปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อป้องกันการติดเชื้อของประชากรที่เพิ่มขึ้นจนระบบสาธารณสุขไม่สามารถรองรับได้ ในขณะที่การกระจายการฉีดวัคซีนยังคงล่าช้าทำให้โอกาสการกลับมาเปิดประเทศในช่วงปลายปียังมีความท้าทายอยู่มาก อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนก.ค.การฉีดวัคซีนจะมีการเร่งตัวขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ติดเชื้อภายในประเทศมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป และคาดว่าจะเป็นการสร้างบรรยากาศการลงทุนเชิงบวกให้กับตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาสที่ 4 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในเรื่องการลดวงเงินอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ สงครามทางการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ และเสถียรภาพของรัฐบาลจากการชุมนุมประท้วงที่เพิ่มขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
สำหรับตราสารหนี้ เนื่องจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวได้ปรับลดลงมาค่อนข้างมาก โดยล่าสุดอยู่ในกรอบประมาณ 1.3 - 1.4% ซึ่งคาดว่าผลตอบแทนระยะยาวอาจปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน FED เริ่มพิจารณาการลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ (QE) และแนวโน้มการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศหลัก ๆ มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นและยังคงเป็นปัจจัยบวกในระยะถัดไป ในส่วนของตลาด REITs และ Infra จะสามารถกลับมา outperform ตลาดหุ้นโลกด้วยธีม recovery จากภาพเศรษฐกิจทั่วโลกที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นจากปัจจัยหลัก ๆ อาทิเช่น การเปิดเมืองในบางประเทศที่มีแนวโน้มเป็นไปค่อนข้างเร็ว รวมถึงผลประกอบการของ REIT ทั่วโลกที่ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2 ปี 2563 กำลังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง เห็นได้จากการปรับประมาณการ Earnings ของ REIT ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นหลังจากเริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown เป็นต้น
ผลการดำเนินงานในอดีต มิใช่สิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจ ลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ได้ที่ SCBAM Call Center โทร.02-777-7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน SCBAM Fund Click ได้ที่ https://scbam.info/3dEjSFD
ที่มา: หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์