ชาวชุมชน จ.ชลบุรี ขานรับโครงการ "จ้างงานฝากเลี้ยงกล้าไม้" ซีพี ช่วยสร้างรายได้ให้ครอบครัว หลังวิกฤตโควิด-19 ตกงาน-สูญเสียรายได้

พฤหัส ๒๖ สิงหาคม ๒๐๒๑ ๑๓:๔๓
หลังจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยนายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือซีพี มีนโยบายส่งเสริมอาชีพ สร้างงาน เพื่อสร้างรายได้สู่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จนส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของชาวบ้านในท้องถิ่นชุมชนต่างๆ ทำให้เกิดการนำร่องโครงการฝากเลี้ยงกล้าไม้ใน 3 ชุมชนของ จ.ชลบุรี ได้แก่ ชุมชนใน ต.ห้วยใหญ่ ต.นาจอมเทียน และ ต.เขาชีจรรย์ และได้มีการจ้างงานกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งกลุ่มผู้ตกงาน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพประมง กลุ่มผู้เปราะบาง และกลุ่มผู้สร้างสาธารณะประโยชน์แก่สังคม รวมทั้งสิ้น 2,000 ครอบครัว โดยชาวบ้านจะมีรายได้จากการรับฝากเลี้ยงกล้าไม้ครอบครัวละ 1,000 ต้น ตลอดระยะเวลาฝากเลี้ยง 3 เดือน รวม 15,000 บาทต่อครอบครัวลฃ

นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะผู้ดูแลโครงการซีพีร้อยรักษ์โลก กล่าวว่า หลังจากดำเนินโครงการฝากเลี้ยงกล้าไม้มาได้ระยะหนึ่ง ได้รับการตอบรับดีจากชุมชนนำร่องทั้ง 3 แห่ง โดยชาวบ้านในชุมชนได้สะท้อนเข้ามายังผู้ดำเนินโครงการว่าเป็นโครงการที่เข้ามาช่วยเพิ่มรายได้ในภาวะเช่นนี้ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนนี้ที่ประชาชนในหลายครัวเรือนไม่ได้ทำงานต่อเนื่องทำให้ขาดรายได้ การรับจ้างปลูกและดูแลกล้าไม้ทำให้มีรายได้เสริมเข้ามาจุนเจือครอบครัวและช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในระยะนี้ไปได้ ซึ่งชาวบ้านที่เข้าร่วมมาจากหลายหลายอาชีพ บางคนตั้งแต่มีสถานการณ์โควิดได้รับผลกระทบขาดรายได้ในทันที บางคนได้รับผลกระทบมายาวนานจนยังไม่มีโอกาสกลับไปทำงานอีก ทั้งนี้โครงการฝากเลี้ยงกล้าไม้อยู่ภายใต้โครงการซีพีร้อยรักษ์โลก ที่เครือฯ และบริษัทในเครือฯ ตั้งเป้าหมายปลูกต้นไม้ให้ได้ 10 ล้านต้นภายในปี 2573 เพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสอดคล้องกับค่านิยม 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์

นางประภาภรณ์ เพชรเหมือน ชาวบ้านในชุมชนห้วยใหญ่ ซึ่งมีอาชีพขับรถรับส่งนักเรียน กล่าวว่า หลังจากโรงเรียนปิดให้นักเรียนเรียนออนไลน์ที่บ้าน ทำให้ต้องหยุดงานไม่มีรายได้ จึงดีใจที่มีโครงการฝากเลี้ยงกล้าไม้เข้ามาช่วยเพิ่มรายได้ทางหนึ่ง เพราะโดยปกติมีภาระต้องดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พอมีเงินส่วนนี้เข้ามาจุนเจือทำให้มีความหวังในการใช้ชีวิตต่อไปได้บ้าง และอยากให้มีโครงการแบบนี้เข้ามาในชุมชนอีกจะได้มีรายได้และสู้ต่อไป

นายอำนาจ เรืองศรี กล่าวว่า ปกติทำงานรับจ้างทั่วไป และปลูกมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบันรายได้หายไปกว่าครึ่ง เพราะไม่มีใครจ้างให้ทำงาน โครงการนี้จึงมีประโยชน์ต่อชุมชนมาก ทำให้หลายครอบครัวมีรายได้เข้ามาตลอด 3 เดือน อีกทั้งหลังจากรับจ้างเลี้ยงกล้าไม้แล้ว แต่ละครัวเรือนยังสามารถแบ่งเวลาไปทำอาชีพอื่นเพิ่มรายได้ได้อีก ซึ่งวันนี้หลักคิดในชีวิตคือถึงเราจะมีรายได้ไม่มากเท่าแต่ก่อน แต่ก็ดีกว่าไม่มีรายได้อะไรเลย

นายอำนวย กลัดเข็มทอง ซึ่งมีอาชีพทำทัวร์ กล่วาว่า ด้วยความที่พอจะมีความรู้เรื่องเกษตรอยู่บ้างจึงได้นำความรู้ที่มีมารับฝากเลี้ยงกล้าไม้ ทำให้มีรายได้ในช่วงตกงาน ยอมรับว่าโครงการนี้ช่วยตนได้มากและถ้าเราใช้จ่ายอย่างประหยัด เงินจำนวน 5,000 บาทต่อเดือนก็อยู่ได้ ซึ่งช่วงนี้ทุกคนก็ต้องใช้ชีวิตอย่างมีสติ อะไรที่พอจะประหยัดได้ก็ต้องประหยัดไว้ก่อน

ด้านนางนภา รักษาศิลป์ ประกอบอาชีพค้าขาย กล่าวว่า ช่วงนี้ลำบากออกไปค้าขายไม่ได้ และต้องเลิกกิจการไปในที่สุด การได้ร่วมโครงการรับฝากเลี้ยงกล้าไม้ที่ได้ลงมือทำตั้งแต่ปรับพื้นที่เพาะเลี้ยงกล้าไม้ รดน้ำใส่ปุ๋ย ทำให้มีรายได้มาช่วยเหลือจุนเจือครอบครัวไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลาน ถือเป็นโครงการที่ดีทำให้มีงานทำช่วยต่อชีวิต เพราะเรายังมีภาระอื่น ๆ อีกมาก วันนี้อยากจะบอกทุกคนว่าอย่าไปท้อ มีอะไรก็ทำ มีงานอะไรมาถึงมือก็ต้องคว้าไว้ก่อน

ขณะที่นางดวงพรรณ ทองทรัพย์ เจ้าของพื้นที่ที่ใช้เพาะเลี้ยงกล้าไม้ในชุมชน และดูแลจัดการการเพราะเลี้ยงต้นกล้าในชุมชนพื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 พื้นที่นำร่องของโครงการฯ กล่าวว่า พื้นที่ที่ใช้เพาะกล้านี้เดิมเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านพืชผักสมุนไพรของชาวชุมชนห้วยใหญ่ มีสมาชิกอยู่ 100 กว่าคน โดยเมื่อโครงการฝากเลี้ยงกล้าไม้ของซีพีเข้ามาในชุมชน ช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของชาวบ้านในช่วงโควิด-19 ได้มาก เพราะบางคนเคยมีรายได้ พอเจอโควิดรายได้ลดลงไปจนถึงไม่มีรายได้ สำหรับการดูแลกล้าไม้มีการแบ่งโซนกันดูแล มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน แต่ละโซนจะมีหัวหน้าชุด ถ้ามีปัญหาอะไรจะประสานงานมาที่ส่วนกลาง ก็จะส่งคนเข้าไปช่วยดูแลแก้ปัญหากันอย่างทั่วถึง

"โครงการนี้ช่วยเหลือชุมชนห้วยใหญ่มากกว่า 100 ครอบครัว ใน 3 เดือนนี้ทำให้คนในชุมชนมีรายได้ และหลังจากนี้อีกกว่า 100 ครอบครัวก็จะมีรายได้จากการที่นำไม้ผลไปปลูก พอมีผลผลิต และนำไปจำหน่ายก็จะมีการเพิ่มรายได้ให้ชุมชนต่อไปเรื่อย ๆ ต้องขอขอบคุณซีพีที่มีโครงการดี ๆ แบบนี้ให้ชุมชนในช่วงวิกฤตโควิด" นางดวงพรรณกล่าว

ที่มา: ซีพี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version