เลขากองทุนฟื้นฟูฯ โชว์ผลงาน แก้หนี้และฟื้นฟูอาชีพ แถมช่วยเหลือช่วงโควิด-19 สำเร็จตามเป้า

พฤหัส ๐๒ กันยายน ๒๐๒๑ ๑๕:๕๒
นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้และการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรในองค์กรสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูฯ ของปีงบประมาณ 2564 ได้มีผลการดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนด โดยในส่วนของการแก้ไขปัญหาหนี้ ซึ่งเป็นหนี้ในระบบตามระเบียบที่กำหนด ภายใต้การเข้าไปช่วยเหลือจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. การฟื้นฟูอาชีพให้กับสมาชิกในรูปของกลุ่มหรือองค์กร ที่มีการเสนอแผนฟื้นฟู ได้รับการสนับสนุนทั้งในรูปเงินกู้ยืมและในรูปเงินอุดหนุน โดยนับตั้งแต่มีการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูฯมาจนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการอุดหนุนและสนับสนุนแล้วรวมทั้งสิ้น 11,361 กลุ่ม คิดเป็นจำนวนเกษตรกรที่ได้ประโยชน์ 270,000 กว่าราย และ 2. การแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งเป็นหนี้ในระบบตามที่ระเบียบกำหนด เช่น หนี้สถาบันการเงินต่างๆ ได้มีการช่วยเหลือด้วยการเข้าไปซื้อหนี้และซื้อทรัพย์คืนจากเจ้าหนี้ แล้วนำมาไว้ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อให้เกษตรกรมาซื้อคืนภายหลัง รวมจำนวนทั้งสิ้น 30,161 ราย โดยใช้ทุนหมุนเวียนในการนี้ประมาณ 7,000 ล้านกว่าบาท

" ส่วนการให้ความช่วยเหลือจากการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด - 19  ซึ่งเรื่องที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญและมีความห่วงใยเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯอย่างมาก จึงมอบหมายให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ และคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ กำหนดแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิก และได้นำมาสู่การแก้ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรทำให้สามารถช่วยเหลือใน 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่กู้ยืมเงินไปจากกองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 11,361 กลุ่ม โดยในการช่วยเหลือ แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินให้เปล่า  9,558 กลุ่ม และเป็นกลุ่มที่กู้ยืม  1,803 กลุ่ม รวมเงินหมุนเวียนสนับสนุน  1,000 กว่าล้าน พร้อมกันนี้ยังมีการช่วยเหลือด้วยการงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ที่ค้างตามสัญญากู้ที่องค์กรเกษตรกรกู้ยืม โดยเริ่มมาตั้งแต่เดือนมกราคม ที่ผ่านมา"

 นายสไกร กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวจากสถานการระบาดของโควิด -19 ยังทำให้เกิดการอพยพของแรงงานที่ได้รับผลกระทบกลับสู่บ้านเกิดเป็นจำนวนมาก  จากที่ทางกองทุนฟื้นฟู ฯได้มอบหมายให้สำนักงานสาขาจังหวัดได้ทำการสำรวจในเบื้องต้นพบว่า ได้มีแรงงานที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีอายุในช่วง 30 ปีต้น ๆ กลับเข้ามาสู่ภาคการเกษตรเป็นจำนวนมาก และได้กลายเป็นแรงงานหลักที่ช่วยเหลือครอบครัวเกษตรกรสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูฯ ดังนั้นทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะเข้าไปช่วยสนับสนุนในด้านการสร้างแนวคิดในการพัฒนาอาชีพ ที่ต้องมาสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการผลิตอาหารปลอดภัย เป็นสำคัญ ดังนั้นจึงขอให้เยาวชนที่กลับบ้านเกิดเพื่อทำอาชีพเกษตรได้มองถึงแนวทางความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เพื่อให้กำหนดแนวทางในการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้อง และประสบความสำเร็จ ไม่ต้องพบกับความล้มเหลวและต้องรอการช่วยเหลือจากรัฐบาลเหมือนในอดีต

ที่มา: สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version