คุณกิตตินันท์ อนุพันธ์ ได้เล่าว่า ตนเองเคยเป็นอดีตหัวหน้าทีม Claim Di ทีมชนะเลิศการแข่งขัน DTAC Accelerate ปี 2014 และเป็นทีมแรกๆ ที่นอกจากจะได้รับการสนับสนุนและเงินทุนจาก DTAC Accelerate แล้ว ยังได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติอีกด้วย ตอนที่เริ่มเป็น Startup นั้น ก่อนหน้านี้ เคยทำงานเป็นพนักงานประจำอยู่ที่ธนาคารนครหลวงไทย ต่อมาคือธนาคารธนชาติ ตอนนั้น อยากทำงานเสริมจึงได้ร่วมกับเพื่อนเปิดบริษัทเพื่อหารายได้พิเศษ และได้มีโอกาสไปแข่งขันที่ประเทศนอร์เวย์พร้อมกับนำประสบการณ์มีประโยชน์มาแชร์ให้ได้ฟัง ส่วนแอปพลิเคชัน Claim Di เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการ เคลมประกันของทีมนี้ ก็ประสบความสำเร็จอย่างมากอีกด้วย ถือเป็น Tech Startup ของไทย ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก คุณแจ็คได้เคยให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ it24hrs on radio ทาง FM 106 วิทยุครอบครัวข่าว เขากล่าวว่า แอพ Claim Di นี้ เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาต่อยอดจาก "แอปมาเร็ว เคลมเร็ว" ซึ่งบริษัทสินมั่นคงประกันภัย ได้เอาไปโฆษณา โดยกรณีเกิดเหตุการณ์รถชนแล้ว ก็เรียกพวกทีมงานตัวแทนประกัน ที่จะมาพร้อมกับแอปบนมือถือ พร้อมพริ้นเตอร์ ทำการถ่ายภาพอุบัติเหตุ ณ ที่เกิดเหตุ แล้วพิมพ์รายละเอียดเหตุการณ์แล้ว พริ้นสลิป นำรถไปเข้าอู่ (มาเร็ว เคลมเร็วจริงๆ) แต่เคลมดิ แทนที่เราจะต้องรอตัวแทนจากประกันมาดำเนินการให้ ซึ่งต้องรอประมาณ 15 นาทีขึ้นไป แอปพลิเคชัน Claim Di จะช่วยให้การดำเนินการเคลมเร็วขึ้น ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุชนกัน ก็หยิบโทรศัพท์มา Shake กันระหว่าง เรากับคนที่ถูกชน ระบบจะเช็คว่ามันเกิดเหตุรถชนจริง และมีกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองอยู่จริง แล้วก็กลับบ้านได้เลย แถมทำให้รถไม่ติดด้วย และได้ภาพในสภาพที่ใกล้เคียงกับเวลาเกิดเหตุจริงๆ ตอนนี้ Claim Di มีบริษัทที่เป็นลูกค้าอยู่ในประเทศไทย 50 บริษัท ซึ่งนั่นก็คือ การผูกขาด (Monopoly) ซึ่งไม่มีใครขาย Software ได้ถึง 50 บริษัทอย่างนี้ คุณแจ็คได้เงินทุกวันจากบริษัทประกันภัยเหล่านี้ ความจริง Claim Di ได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 ต่อมาได้เอา GPS จากรถบรรทุกมาใส่ และหลังปี ค.ศ.2014 เปลี่ยน Business Model มาเป็น Startup และเล็งเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีตลาดรถมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนนี้กำลังจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ Me Claim คุณแจ็คยังให้ความเห็นอีกว่า Startup ในอเมริกา เกิดมาจากโรงรถ เพราะในอเมริกา ส่วนมากจะมีบ้านหลังใหญ่และมีโรงจอดรถติดอยู่กับตัวบ้าน แต่ในประเทศอื่นจะไม่ค่อยมีโรงจอดรถ แต่ถ้าในที่อื่น Startup จะเกิดจากร้านกาแฟ บางคนบอกว่า Startup คือ บริษัทที่เกิดใหม่ก็พอถูกบ้าง แต่ถูกยังไม่หมดเสียทีเดียว เช่น www.startupswat.com เกิดมาในปี ค.ศ.2000 Startup กับ SMEs แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา วัฒนธรรมขององค์กร ความเป็นเจ้าของกิจการก็แตกต่างกัน Startup เป็นไปเรื่อย ๆ ไม่มีจุดจบ "SMEs ทุกคนไม่ได้เป็น Startup แต่ Startup คือ SMEs" สรุปความคือ Startup คือ SMEs แต่มีการเปลี่ยนแปลงคือมีจุด Big Point หมายความว่า พอมาถึงจุดหนึ่งแล้วต้องเปลี่ยน Uber, Line จัดเป็น Startup และปัจจุบันก็ยังเติบโตไปเรื่อย ๆ ไม่มีจุดจบ
Startup จะเติบโตรวดเร็วอย่างมหาศาล เขาจะใช้รูปจรวด เป็นตัวแทนอธิบายถึงเรื่อง Startup เพราะถ้าปล่อยพุ่งขึ้นไปแล้วมันจะเร็วมาก แต่ถ้าเป็นเครื่องบินมันจะเริ่มขึ้นไปอย่างช้า ๆ ถ้าคุณไม่รู้จัก Startup เหมือนกับคนไปจับส่วนต่างๆ ของช้าง แล้วบอกว่า นี่คือช้าง เราได้ยินคำว่า Startup กันมาตั้งแต่ ปี ค.ศ.2540-2543 ในช่วงนั้น เป็นช่วงของการทำธุรกิจซื้อขายสินค้าผ่านเว็บไซต์เป็นส่วนใหญ่ที่เรียกกันว่า .com ตัวอย่าง Startup ของไทยที่เห็นได้ชัดเจนอีกอันหนึ่งคือ
Ookbee - ร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ของคุณณัฐวุฒิ พึ่งเจริญพงศ์ (คุณหมู) Startup คือ Money เกม คุณต้องมีศักยภาพ Startup ตาย 90% รอดเพียง 4% Startup อาศัยไอทีเป็นตัวขับเคลื่อนเป็นไปได้เรื่อย ๆ บางครั้ง เรียกกันว่า ซอมบี้ (Zombie) บางทีคนเรียกว่า แมลงสาบ คุณแจ็ค ได้ตัดสินใจไปเข้าโรงเรียน Startup ที่ชื่อว่า DTAC Accelerate เหมือนกับโรงเรียนบัณฑิตพันธุ์ใหม่นี้แหละ เรียน 4 สัปดาห์ เขาเคยอ่านหนังสือของคุณเรืองโรจน์ พูนผล (กระทิง) เขาเคยเอา Software Eliminate ไปทำการแข่งขัน ปรากฎว่าไปเจอคุณกระทิงเป็นคณะกรรมการตัดสิน และตัดสินให้เขาเข้าไปอยู่ใน DTAC Accelerate ตอนอยู่ที่ DTAC Accelerate มีพนักงาน 20 คน ทำยอดขายได้ 20 ล้านบาท เพราะถ้าทำไม่ได้ต้องออก (Exit) และหลังจากเจอคุณกระทิง และคุณกระทิงก็ชวนเขาให้เข้ามาร่วมงานด้วย คุณกระทิงบอกเขาว่า ให้เวลา 4 เดือน คุณต้องสร้าง Product ให้เสร็จ คุณต้องขายของให้ได้ คุณต้องหาลูกค้าให้ได้ คุณต้องระดมทุนให้ได้ โดยให้ยึดหลักการของ 9 Rules of Innovation โดยพาะการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ (Creativity) นั่นคือ Doing something new product และเกี่ยวกับนวัตกรรม (Innovation) นั่นคือ Doing something difference คุณกระทิงสอนผมให้เป็นควาย Startup งานควาย เขาบอกว่า คุณแจ็คคุณต้องทำ 10 ควาย ต้องมี Co-Founder และต้องหา Co-Founder และต้องสอนให้เขาทำ 10 ควาย งานควายรายได้น้อย แต่มีเงินเป็นของนักลงทุน Startup ต้องเติบโต คุณแจ็คเองก็เคยถามน้อง ๆ ว่า "ถ้าให้เงิน 100 ล้านบาท และใช้ให้หมดภายใน 18 เดือน สามารถทำได้ไหม? ถ้าบริษัทไม่มีกำไร ถ้าคุณกล้าใช้ คุณก็ทำได้ นี่คือ สิ่งที่ Startup ทำ" หลังจากนั้นมาจึงได้เริ่มทำ Startup โดยได้เงินทุนมา $10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ให้ใช้ชีวิตอยู่ใน Camp เป็นเวลา 4 เดือน มีคนเก่งทั่วโลกมาสอน ตอนที่อยู่ใน Camp เขาสอนเรื่องใหม่ทั้งหมด เป็นเรื่องที่ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย และได้ไอเดียในการทำเรื่องการเคลมประกัน ในปี ค.ศ.2014 ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นจาก 11 ราย กลายเป็น 17 ราย ได้เงิน $35,000 ดอลล่าร์สหรัฐ นี่คือวิธีการของ Startup ต่อมาได้เงินเพิ่มอีก 2 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในแอปพลิเคชัน Claim Di เป็นการทำธุรกรรมแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ (Business to Business: B2B) Claim Di เคยใช้เงินจำนวนมาก วันนี้ Claim Di ยังเคยขาดทุน Grab เคยได้เงิน $1 Billion ก็ใช้หมดเหมือนกัน KBank, Central ก็เคยลงทุนกับ Grab จ่ายค่าอาหาร โดยไม่ต้องเสียค่าขนส่ง ถ้าเงินหมดแล้วจะทำอย่างไร? ถ้าเงินหมดก็หาใหม่ ถ้าหาไม่ได้ก็ตาย หรือเจ้ง ถ้าได้เงินมาแล้วจะเอามาทำอะไร
หลักในการทำ Startup มี 2 อย่างที่สำคัญคือ (1). Repeatable สามารถทำซ้ำได้ และ (2). Saleable ขยายได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตเร็วที่สุดคือ ปีครึ่งต้องโต 10X ถ้าเป็น SME โตเพียง 1X หรือ 2X ปีแรกต้องเติบโต 3X เพื่อ Monopoly เช่น รถแท็กซี่ พอเอาป้ายออกก็กลายเป็น Grab และตัวอย่าง Uber ของอเมริกา ตอนนี้โดน Grab เท็กโอเวอร์ไปแล้ว นั่นคือ การฆ่าให้ตายและกลายเป็น Monopoly เรื่องของ Startup มองเงินกู้เป็น Negative ไม่เอาเงินพ่อมาลงทุน ถ้าเจ้ง ก็คือเป็นหนี้ Startup ต้องไปหา Pain Point ให้ได้ว่าคืออะไร คุณอย่าไปคุ้ยขยะหา Paint Point Startup เป็นการทำงานแบบควาย เพราะต้องเติบโตแบบ 5-10 เท่า ไม่ได้เป็นเจ้าของตลอดชีวิต มีการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ Startup อาจจะเริ่มจากธุรกิจครอบครัว ธุรกิจที่พ่อ-แม่ทำอยู่แล้ว เช่น การส่งผัก อย่าเริ่มจากสิ่งที่คุณไม่รู้จัก แต่ควรจะเริ่มจากสิ่งที่คุณชำนาญ รู้เรื่องจริงเท่านั้น
บทความ โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์
อาจารย์ที่ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ที่มา: มหาวิทยาลัยศรีปทุม