โดมินิกาเป็นประเทศขนาดเล็กแต่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศโดมินิกามีประชากรเพียง 70,000 คน มีขนาดใกล้เคียงกับเมืองออสติน รัฐเท็กซัส และตั้งอยู่บริเวณหมู่เกาะในทะแลแคริบเบียนที่ทอดยาวตั้งแต่เปอร์โตริโกไปจนถึงอเมริกาใต้ โดมินิกาประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งเฮอริเคนที่รุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้งทุกปี รวมถึงพายุโซนร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม โดมินิกาได้กลายเป็นผู้นำของโลกด้านการฟื้นตัวจากภัยพิบัติ อันเป็นผลมาจากการออกกฎหมายและการบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF) ซึ่งสนับสนุนยุทธศาสตร์ "Build Back Better" ของโดมินิกา กล่าวว่า "โดมินิกาให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและขยายถนน สร้างสะพานให้สูงขึ้นเพื่อให้น้ำและเศษซากต่าง ๆ ไหลผ่านไปได้ สร้างบ้านที่ทนต่อภัยพิบัติ รวมถึงปรับปรุงโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพ ทั้งยังสนับสนุนด้านการเกษตรเพื่อความมั่นคงทางอาหาร การศึกษา การฟื้นฟูป่า การฝึกอบรมประชาชนให้มีความพร้อม และอีกมากมาย"
หลังจากที่พายุเฮอริเคนมาเรียได้สร้างความเสียหายอย่างหนักในปี 2560 นายกรัฐมนตรี รูสเวลต์ สเกอร์ริต ได้ให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูโดมินิกาให้เป็นชาติแรกของโลกที่ทนต่อสภาพอากาศ โดยมีการใช้เงินทุนจากโปรแกรมการลงทุนเพื่อขอสัญชาติ หรือ Citizenship by Investment (CBI) Programme เพื่อจัดตั้งหน่วยงานรัฐแห่งใหม่ Climate Resilience Execution Agency for Dominica (CREAD) ในปี 2561 ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมความสามารถในการฟื้นตัวในทุกภาคส่วนของประเทศ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทั้งหมดโดยใช้เงินทุนจากโปรแกรม CBI ตั้งแต่โรงพยาบาลที่ทันสมัยไปจนถึงบ้านสำหรับ 5,000 ครอบครัว เป็นไปตามหลักเกณฑ์การก่อสร้างให้ทนต่อสภาพอากาศ โดยฟรานซีน บารอน ซีอีโอของ CREAD กล่าวว่า "เราพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทนต่อเฮอริเคนความรุนแรงระดับ 5 ได้"
นับตั้งแต่ปี 2537 นักลงทุนชาวต่างชาติจำนวนมากเลือกขอสัญชาติที่สองจากโดมินิกา เพราะได้รับสิทธิเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง 75% ของทั่วโลกโดยไม่ต้องขอวีซ่า หรือขอวีซ่าเมื่อเดินทางมาถึง (visa on arrival) อีกทั้งยังได้ช่วยเหลือประชาชนในประเทศด้วย เมื่อนักลงทุนผ่านการตรวจสอบอันเข้มงวดแล้วก็สามารถลงทุน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐใน กองทุนของรัฐบาล เพื่อเป็นพลเมืองโดมินิกาภายใน 3 เดือน
เว็บไซต์ : www.csglobalpartners.com อีเมล: [email protected]