ผลสำรวจจาก FICO เผยคนไทย 1 ใน 2 จะเลิกสมัครใช้บัญชีธนาคารออนไลน์หากขั้นตอนเยอะเกินไป

อังคาร ๑๔ กันยายน ๒๐๒๑ ๐๘:๑๐
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กำลังขับเคลื่อนวิธีคิดที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลักในเรื่องบริการทางการเงิน
  • ไทย 1 ใน 2 คาดหวัง ที่จะต้องตอบคำถามไม่เกิน 10 ข้อ มิเช่นนั้นจะเลิกสมัคร
  • ผู้บริโภค 66% มีแนวโน้มเปิดบัญชีทางระบบดิจิทัลมากกว่าปีที่ผ่านมา
  • คนไทย 25% เปิดเผยว่า สถาบันการเงินถามคำถามมากเกินไป

ผลสำรวจธนาคารดิจิทัลประจำปี 2564 ของ FICO แสดงให้เห็นว่า ชาวไทยคาดหวัง ที่จะได้รับประสบการณ์ใช้บริการทางธนาคารที่ราบรื่นเมื่อเปิดบัญชีธนาคารผ่านแอปมือถือหรือเว็บไซต์ โดยคนไทย 1 ใน 2 คาดหวัง ที่จะต้องตอบคำถามไม่เกิน 10 ข้อ มิเช่นนั้นจะเลิกสมัครไปเลย ขณะที่คนไทย 1 ใน 5 จะเลิกสมัครหากต้องตอบคำถามเกิน 5 ข้อ

"การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กำลังขับเคลื่อนวิธีคิดที่มุ่งเน้นดิจิทัลเป็นหลักในไทย โดยผู้บริโภค 66% มีแนวโน้มเปิดบัญชีทางระบบดิจิทัลมากกว่าปีที่ผ่านมา" คุณ Aashish Sharma ผู้อำนวยการบริหารระดับอาวุโสด้านโซลูชันการตัดสินใจ ของ FICO ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว "จำนวนผู้บริโภคที่ต้องการเปิดบัญชีธนาคารทางดิจิทัลนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 44% และยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งมีนัยสำคัญอย่างยิ่งในประเทศที่นิยมใช้บริการที่สาขาเป็นส่วนใหญ่"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://www.fico.com/en/solutions/account-opening  

เปลี่ยนอุปสรรคเป็นพลังกระตุ้น

ผลสำรวจพบว่า ความอดทนของผู้บริโภคในการสมัครบัญชีนั้นแตกต่างกันตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ คนไทยมีความคาดหวังมากที่สุดในการสมัครบัญชีให้สำเร็จโดยตอบคำถามไม่เกิน 10 ข้อสำหรับบัญชีเงินฝาก (62%) บัญชีรองรับการทำธุรกรรม (58%) และผลิตภัณฑ์ Buy Now Pay Later (55%)

สิ่งที่น่าสนใจคือความคาดหวังที่ว่านี้สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในการสำรวจอย่างมีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรเพียง 41% และผู้บริโภคชาวออสเตรเลียเพียง 51% หวังที่จะต้องตอบคำถามไม่เกิน 10 ข้อเมื่อเปิดบัญชีซื้อขาย

ในภาพรวมนั้น ผู้บริโภคชาวไทยต้องการประสบการณ์ดิจิทัลที่ลดอุปสรรคและความไม่สะดวกสบาย พวกเขาคาดหวังว่าธนาคารที่ใช้บริการเป็นประจำต้องรู้จักพวกเขาอยู่แล้ว โดย 85% ต้องการพิสูจน์อัตลักษณ์ของตนเองทางระบบออนไลน์ และคนไทย 25% เปิดเผยว่าสถาบันการเงินถามคำถามมากเกินไป

"อย่างที่เขาพูดกันว่า ที่ใดมีอุปสรรค ที่นั่นย่อมมีโอกาส" คุณ Sharma กล่าว "ถ้าวันนี้คุณไม่ได้แก้ไขปัญหาให้ลูกค้า วันพรุ่งนี้คู่แข่งก็จะทำ ผู้บริโภคต้องการให้ธนาคารใช้เทคโนโลยีหาคำตอบให้กับคำถามในการสมัครใช้งานผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงกลไกตรวจสอบอัตลักษณ์ การวิเคราะห์ประวัติการทำธุรกรรม ฐานข้อมูลบริการธนาคารและฐานข้อมูลรัฐบาลแบบเปิด"

การสมัครสินเชื่อจำนองควรตรวจสอบให้ละเอียดกว่าเดิม

ผลสำรวจพบว่า ผู้บริโภคยอมให้มีอุปสรรคและความปลอดภัยมากขึ้น ในการสมัครและให้ข้อมูลต่าง ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์การเงินที่มี มูลค่าสูงบางประเภท

แม้ผู้บริโภคคาดหวัง ให้การสมัครใช้งานผลิตภัณฑ์ทางการเงินออนไลน์ในแต่ละวันต้องมีความสะดวกง่ายดายให้มาก ๆ เข้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีกระแสรายวัน บัญชีเงินฝาก เงินกู้ และบัตรเครดิต แต่ลูกค้ากว่าครึ่งหนึ่ง (61%) ในการสำรวจ คาดหวังว่าการสมัครสินเชื่อจำนองควรจะมีการตรวจสอบเข้มงวดยิ่งขึ้น

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีคนไทยเพียง 27% ที่ยินดีสมัครสินเชื่อจำนองทางออนไลน์ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในการสำรวจที่ราว 1 ใน 3 (34%) โดยทุกประเทศยกเว้นสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร การสมัครใช้บริการในสาขาเป็นที่นิยมมากกว่าออนไลน์ ขณะที่แอฟริกาใต้นั้นแตกต่างจากประเทศอื่น เนื่องจากมีลูกค้านิยมสมัครสินเชื่อจำนองออนไลน์ถึง 43%

คนไทยเกือบ 1 ใน 2 (48%) ในการสำรวจ ยินดีตอบคำถาม 11-20 ข้อหรือมากกว่านั้นในการสมัครสินเชื่อทางออนไลน์

อย่าเปลี่ยนช่องทาง

คนไทยที่เปิดบัญชีออนไลน์ต้องการดำเนินขั้นตอนอื่น ๆ ทั้งหมดในช่องทางที่เลือกไว้ ไม่ว่าจะผ่านสมาร์ทโฟนหรือเว็บไซต์ หากลูกค้าต้องเปลี่ยนช่องทางเพื่อพิสูจน์อัตลักษณ์ของตนเอง ลูกค้าหลายคนจะเลิกสมัคร ไม่ว่าจะเลิกสมัครเปิดบัญชีไปเลยหรือไม่ก็ไปสมัครกับคู่แข่งแทน ส่วนในจำนวนลูกค้าที่ไม่ได้เลิกสมัครทันทีนั้น ลูกค้าอีก 20% จะยืดเวลาดำเนินการออกไป

ผลสำรวจพบว่าอุปสรรคทุกรูปแบบมีความสำคัญ การขอให้ผู้ใช้สแกนและส่งเอกสารทางอีเมล หรือใช้ช่องทางอื่นในการพิสูจน์ตัวตนนั้น ส่งผลให้ผู้บริโภคเลิกสมัครใช้บริการได้แทบจะพอ ๆ กับขอให้ไปที่สาขาหรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์

แบบสำรวจนี้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2564 โดยบริษัทวิจัยอิสระรายหนึ่งและยึดตามมาตรฐานวงการวิจัย จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่ชาวไทย 1,000 คน รวมถึงผู้บริโภค 13,000 รายในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บราซิล โคลอมเบีย และเม็กซิโก

FICO เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Fair Isaac Corporation ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1623956/TH_infographic.jpg

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/450763/FICO_Logo.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ