กรมวิทย์ จับมือ ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมวิจัยสมุนไพรและพืชเสพติด เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

พุธ ๑๕ กันยายน ๒๐๒๑ ๑๑:๔๙
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยพืชสมุนไพรและพืชเสพติด ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผศ.ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์ รองอธิการบดีวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ผศ.ดร.ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช คณบดี คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเภสัชกรหญิงศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ผ่านระบบออนไลน์

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เล็งเห็นความสำคัญของพืชสมุนไพรและพืชเสพติดที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ และสามารถนำไปพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต เนื่องด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลาย ของพืชสมุนไพร ทำให้แนวโน้มความต้องการของตลาดโลกนั้นมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น มีการศึกษาที่หลากหลายที่แสดงให้เห็นว่าสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพของผู้บริโภค และผู้ป่วย โดยเฉพาะการรักษาโรคที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เป็นต้น สำหรับประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะพืชสมุนไพรทำให้นำไปสู่การศึกษาและพัฒนาพืชสมุนไพรให้ได้มาซึ่งสารสำคัญ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นยาและการรักษาโรค ดังนั้นสมุนไพรจึงเป็นตัวเลือกหนึ่งในการนำมาใช้ เพื่อพัฒนาทางด้านการแพทย์และเศรษฐกิจของประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยพืชสมุนไพรและพืชเสพติด เพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วย ส่งเสริมความมั่นคงทางด้านยาและการพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศที่ยั่งยืน โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงานร่วมกัน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนาม ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567

"กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานระดับประเทศที่มีภารกิจสำคัญในการวิจัยและพัฒนางานด้านสมุนไพรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกจนถึงการวิจัยทางคลินิก โดยมีสถาบันวิจัยสมุนไพร เป็นหน่วยงานหลักในการศึกษาวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการด้านสมุนไพร พร้อมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับภาครัฐและเอกชน และยังมีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย 15 แห่ง เป็นหน่วยงานสนับสนุนและดำเนินงานควบคู่กันไป ส่งผลให้เกิดการพัฒนาครอบคลุมทั้งประเทศ โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีบทบาทในการพัฒนาพันธุ์พืชสมุนไพร โดยเฉพาะพืชเสพติดอย่างกัญชา มีการใช้เทคโนโลยีทางพันธุกรรมในการจำแนกและพัฒนากัญชาพันธุ์ไทย 4 พันธุ์ร่วมกับเทคนิคที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากนั้นทำการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชกับกรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้แก่ กัญชาพันธุ์หางกระรอก หางเสือ ตะนาวศรีก้านขาว และตะนาวศรีก้านแดง เป็นต้น" นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว

ที่มา: โฟร์พีแอดส์ (96)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม