บสย. พร้อมค้ำ เฟส 2 สินเชื่อฟื้นฟู 1 แสนลบ.

ศุกร์ ๑๗ กันยายน ๒๐๒๑ ๑๖:๒๔
บสย. เปิดค้ำแล้ว พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู เฟส 2 วงเงิน 100,000 ล้านบาท มั่นใจกระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้าย ปรับเกณฑ์ใหม่ช่วยกลุ่มไมโคร - SMEs เปราะบาง มากขึ้น จ่ายเบาค่าธรรมเนียมต่ำ เริ่มต้น 1 % ต่อปี นาน 4 ปี เติมสภาพคล่องขยายวงเงินสินเชื่อ สูงสุด 50 ล้านบาทต่อราย

นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์  รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ บสย. ได้เปิดรับคำขอค้ำประกันสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ที่เข้าร่วมโครงการค้ำประกันสินเชื่อ ตามพระราชกำหนดให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ระยะที่ 2 พ.ศ. 2564 วงเงิน 100,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ 3 กลุ่มได้แก่ 1. ผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร (Micro) 2.ผู้ประกอบการ SMEs 3. กลุ่ม คอร์ปอเรท (Corporate)

จุดเด่นของโครงการคือ การปรับเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อให้ดียิ่งขึ้น เพื่อช่วยผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร และ กลุ่ม SMEs เปราะบาง ได้ลดภาระต้นทุนค่าธรรมเนียม และเพิ่มโอกาสได้วงเงินสินเชื่อเพิ่ม ได้แก่

1.ปรับลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันทันทีตั้งแต่ปีแรก สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร และ กลุ่ม SMEs เปราะบาง จ่ายเบา เริ่มต้นเพียง 1% ต่อปีต่อเนื่อง 4 ปีแรก รวม 13% ตลอดระยะเวลา 10 ปี

2.เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการกลุ่มไมโคร และกลุ่ม SMEs เปราะบาง ได้รับวงเงินสินเชื่อเพิ่มขึ้นสูงสุด 50 ล้านบาทต่อราย

3.เพิ่มความมั่นใจให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อโดย บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเต็ม 100% ในกลุ่มไมโคร (Micro) จากเดิม 90%  และ กลุ่ม SMEs เปราะบาง จากเดิม 80%  

สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มคอร์ปอเรท (Corporate) รัฐบาลได้ช่วยบรรเทาภาระต้นทุน จ่ายค่าธรรมเนียม 1% ต่อปีต่อเนื่อง 2 ปีแรก รวม 14 % ตลอดระยะเวลา 10 ปี โดย บสย. ค้ำประกันสูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน  และมีระยะเวลาค้ำประกันสูงสุดถึง 10 ปี  เริ่มรับคำขอตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2564 สิ้นสุดรับคำขอวันที่ 9 ตุลาคม 2566

โดยคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอรับการค้ำประกันสินเชื่อ ประกอบด้วย  

  1. เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่จดทะเบียนและมีสถานประกอบการในประเทศไทย
  2. มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงิน ณ วันที่ 28 ก.พ.2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาท หรือไม่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับสถาบันการเงิน
  3. ไม่เป็น NPL ณ 31 ธ.ค.2562
  4. ไม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยกเว้น บริษัทที่จดทะเบียนในตลาด MAI
  5. ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน

ทั้งนี้ในกระบวนการพิจารณาการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนดังนี้  1.ผู้ขอสินเชื่อติดต่อธนาคารพร้อมยื่นเอกสาร  2.ธนาคารพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ 3.ธนาคารนำส่งเอกสารให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ 4.ธนาคารส่งคำขอค้ำประกันสินเชื่อมาที่ บสย. 5. บสย.ตรวจสอบเอกสาร ถูกต้อง ครบถ้วน  6.อนุมัติค้ำประกัน  7. บสย.แจ้งอนุมัติพร้อมส่งเอกสารเพื่อให้ธนาคารนัดหมายผู้ขอสินเชื่อ     8.ผู้ประกอบการได้รับสินเชื่อ  

ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับคำปรึกษาฟรีที่ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs หรือ บสย. F.A. Center ที่ บสย. Call Center 02-890-9999 ในวันเวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น.

สำหรับผลดำเนินงาน ค้ำประกันสินเชื่อ ระหว่าง 1 มกราคม ถึง 12 กันยายน 2564 บสย. ได้อนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ รวมทุกโครงการวงเงินรวม กว่า 182,000 ล้านบาท และได้อนุมัติหนังสือค้ำประกัน  (LG)  ไปแล้วจำนวนกว่า  162,800 ฉบับ

ที่มา: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ