กสร. ร่วมกับ IOM เปิดตัว คู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน มุ่งป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

จันทร์ ๒๐ กันยายน ๒๐๒๑ ๑๐:๐๗
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ประเทศไทยจัดทำคู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานภายใต้กฎหมายแรงงานไทย สนับสนุนการปฏิบัติ ตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGP) รวมถึงมาตรการในการยกระดับการเข้าถึงการแก้ไขเยียวยาสำหรับแรงงานทุกสัญชาติรวมไปถึงแรงงานข้ามชาติ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

นางโสภา เกียรตินิรชา รองอธิบดีและโฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ร่วมกับ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ประเทศไทย จัดทำคู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานภายใต้กฎหมายแรงงานไทย เพื่อส่งเสริมบทบาทของนายจ้างและสนับสนุนลูกจ้างให้เข้าถึงกลไกการร้องทุกข์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งผลักดันให้ภาคธุรกิจตระหนักในบทบาทของตนเองในการเคารพกฎหมายแรงงาน อันเป็นสิ่งจำเป็นในการสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGP) รวมถึงมาตรการในการยกระดับการเข้าถึงการแก้ไขเยียวยาสำหรับแรงงานทุกสัญชาติรวมไปถึงแรงงานข้ามชาติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมภาคธุรกิจในการยกระดับแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติให้ได้รับการดูตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมอบหมายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทำหน้าที่ในการผลักดันสนับสนุนผู้ว่าจ้างไทย เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ล่าม และพนักงานในบริษัท  ที่ทำงานกับแรงงานข้ามชาติโดยตรงในการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานด้านสิทธิแรงงาน รวมถึงการทำความเข้าใจและการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมในการดำเนินงานทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น

โฆษก กสร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยเป็นจุดหมายของแรงงานข้ามชาติเกือบ 4 ล้านคน ทั้งจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา และเวียดนามซึ่งต่างช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยคู่มือสำหรับภาคธุรกิจวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานภายใต้กฎหมายแรงงานไทย ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้แรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายแรงงาน ส่งผลให้การรวมกันของแรงงานที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอยู่ร่วมกันโดยได้รับการคุ้มครอง มีสภาพการจ้าง และสภาพการทำงานที่ดี ได้รับการยอมรับและเคารพในสิทธิมนุษยชน มีขวัญกำลังใจในการทำงาน และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า นำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาให้องค์กรเติบโตอย่างมีคุณภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน โดยสถานประกอบกิจการภาคธุรกิจสามารถประสานรับข้อมูลได้ที่ https://publications.iom.int หรือ Facebook IOM Thailand

ที่มา: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version