วันนี้องค์กรจำนวนมากต้องปรับวิธีการทำงาน ปรับโฟกัส และปรับกลยุทธ์ จากเดิมที่การเปิดตลาดหรือผลิตภัณฑ์ใหม่เคยเป็นโฟกัสสำคัญก่อนการแพร่ระบาด วันนี้ผู้บริหารกลับมีแนวโน้มหันมามุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กรมากกว่าไอบีเอ็มและพันธมิตรตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนของธุรกิจ โดยล่าสุดได้ตั้งเป้านำเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญเข้าช่วยองค์กรไทยก้าวฝ่าวิกฤติ เน้นที่สี่ด้านหลัก ประกอบด้วย
- ลดต้นทุน-เพิ่มประสิทธิภาพ (Cost & Efficiency) โดยมี AI และ Automation เป็นเครื่องมือสำคัญ เทคโนโลยีอย่าง Automation Intelligence ทำให้องค์กรสามารถลดเวลาที่ใช้ไปกับงานที่มีกระบวนการซ้ำๆ อย่างเห็นได้ชัด ยิ่งเมื่อผนวกกับ AI ยิ่งทำให้ระบบสามารถเรียนรู้ พัฒนา และเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ทั่วทั้งองค์กรได้ นอกจากนี้ ในแง่การบริหารจัดการระบบไอที ปัจจุบันยังได้มีการนำเทคโนโลยีอย่าง Watson AIOps เข้ามาช่วยให้ทีมซัพพอร์ทสามารถคาดการณ์และแก้ไขได้ก่อนที่ระบบไอทีหรืออุปกรณ์จะเสียหาย โดยไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าไซต์งาน หรือหากมีปัญหาเกิดขึ้น ก็มี AI คอยแนะนำแนวทางการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ - ติดสปีดงานปฏิบัติการและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์/บริการ (Operations Agility) วันนี้ข้อมูลคือความได้เปรียบ เทคโนโลยีอย่าง Cloud Satellite คือสิ่งที่จะทำให้องค์กรสามารถดึงข้อมูลจากทุกแหล่งมาประมวลผลได้ ไม่ว่าข้อมูลจะอยู่ภายในองค์กร บน Cloud หรือบน Edge อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือก้าวล้ำและ API ข้ามแพลตฟอร์มได้ ภายใต้ระดับความปลอดภัยสูงสุดเท่ากันทุกที่- ป้องกันและรับมือภัยไซเบอร์ (Cyber Security) ปีที่ผ่านมา แรนซัมแวร์ครองแชมป์ภัยไซเบอร์อันดับหนึ่ง โดยมีข้อมูลรับรองตัวตนของบุคคลที่ถูกขโมย และการตั้งค่าระบบคลาวด์ผิด กลายเป็นช่องโจมตีสำคัญของอาชญากร วันนี้ธุรกิจไม่สามารถตั้งรับได้อีกต่อไป นอกจากต้องนำ AI เข้าช่วยต่อกรภัยไซเบอร์แล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยี Zero Trust รวมถึงการเข้ารหัสแบบ Fully Homomorphic Encryption (FHE) ที่ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสอยู่ตลอดเวลา - สร้างภูมิคุ้มกันให้องค์ยืดหยุ่นฟื้นตัวได้ไว (Resilience) การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีใครสามารถคาดการณ์อนาคตได้ แต่สามารถปรับปรุงระบบปฏิบัติการและซัพพลายเชนให้ชาญฉลาดและแข็งแกร่งขึ้นได้ด้วย AI และ Blockchain เพื่อให้องค์กรของตนรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอน"ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา องค์กรไทยเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อพาธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปในโลกที่ท้าทายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
โดยทีมพาร์ทเนอร์อีโคซิสเต็มของไอบีเอ็มได้โฟกัสต่อเนื่องในการนำเทคโนโลยีเข้าช่วยลูกค้าแก้ปัญหา ตั้งแต่การลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจ ไปจนถึงการปรับระบบองค์กรให้มีความทันสมัย" ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าว "การลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนพาร์ทเนอร์อีโคซิสเต็มทั่วโลกของไอบีเอ็ม ช่วยให้เราสามารถจับมือกับพันธมิตรและคู่ค้าในประเทศไทย ในการเดินหน้าสร้างโซลูชันและส่งมอบศักยภาพต่างๆ ให้กับองค์กรไทยได้อย่างเต็มที่"
สุดยอดพันธมิตรแห่งปี นำเทคโนโลยีสร้างต้นแบบความสำเร็จองค์กรไทยที่ผ่านมา ไอบีเอ็มและพันธมิตรได้จับมือนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญเข้าสนับสนุนองค์กรไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีพันธมิตร 10 รายที่มีความโดดเด่นและประสบความสำเร็จมากที่สุด เป็นสุดยอด IBM Ecosystem Partner แห่งปี ประกอบด้วย
- Automation Solution Partner of the Year คือ บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยหนึ่งในความสำเร็จคือการช่วยสนับสนุนเดอะมอลล์ กรุ๊ป ในการเข้าใจและตอบโจทย์ความต้องการและไลฟสไตล์ที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค โดยมีเทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญเบื้องหลังบริการที่รวดเร็วและประสบการณ์แห่งการช็อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ (Seamless Shopping Experience) โดยเดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้นำเทคโนโลยี IBM API Connect ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างห้างฯ กับธนาคารพันธมิตรอัตโนมัติ ช่วยให้ทั้งลูกค้าของห้างฯ และบัตร SCB M ไม่ต้องเสียเวลากับการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน ทำให้การเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว- Data & AI Solution Partner of the Year คือ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) โดยหนึ่งในความสำเร็จคือการช่วยสนับสนุนธนาคารออมสิน ที่บทบาทการเป็นธนาคารประชาชนทำให้วันนี้ธนาคารฯ มีภารกิจสำคัญในการมอบบริการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในแง่การพักชำระหนี้และสินเชื่อเพื่อธุรกิจ โดย IBM Cognos Analytics ช่วยให้ธนาคารฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์และตัดสินใจ นำสู่ความพร้อมยิ่งขึ้นในการเร่งเครื่องบริการที่เร่งด่วนและทันสถานการณ์ให้กับประชาชนและ SME ทั่วประเทศ- Security Solution Partner of the Year คือ บริษัท รูธ วิคเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ช่วยสนับสนุนบริการแก่ บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ โดยปัจจุบันการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และสามารถสร้างความเสียหายที่รุนแรง บมจ. โทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งให้บริการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังความปลอดภัยไซเบอร์ (CSOC) กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้นำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลและการตรวจจับภัยคุกคามไซเบอร์อัจฉริยะระดับโลก IBM QRadar Security Information and Event Management แบบเดียวกับศูนย์ CSOC ของไอบีเอ็มทั่วโลก เข้ามาช่วยในการตรวจจับภัยคุกคามตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมการแจ้งเตือนภัยคุกคามล่าสุดที่รวบรวมจากข้อมูลกว่า 150,000 ล้านเหตุการณ์ต่อวันบน IBM X-Force ช่วยให้หน่วยงานสามารถตอบสนองต่อเหตุภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น - IBM Power Hybrid Cloud Partner of the Year คือ บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MSC โดยการบริหารโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ รวมถึงการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ระบบ ERP มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินการของบมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ MSC จึงได้นำระบบ Enterprise Database Appliance เข้าช่วยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง Data Warehouse เดิม ที่ใช้งานมายาวนานแต่ยังมีข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์จำนวนมาก เข้ากับระบบ ERP ที่เป็น SAP S/4HANA ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำ อันเป็นกุญแจสำคัญสู่ความคล่องตัวและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ- Hybrid Cloud Storage Solution Partner of the Year คือ บริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด โดยเมื่อความผันผวนและความไม่แน่นอนทางธุรกิจอันเป็นผลมาจากการระบาดโควิด-19 ทำให้ทุกการตัดสินใจต้องเป็นไปอย่างแม่นยำ บนพื้นฐานของข้อมูลรอบด้าน ดาต้าโปรจึงได้นำระบบ IBM Power Systems และ FlashSystem เข้าช่วยรองรับระบบ SAP และ SAP HANA ของสิงห์ เอสเตท ด้วยประสิทธิภาพและเสถียรภาพระดับ 99.999% ช่วยวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลธุรกิจระดับเทราไบต์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีดาวน์ไทม์ รองรับการวางแผน การบริหารจัดการ และการลงทุน รวมถึงก้าวย่างการเติบโตอย่างยั่งยืนและการทรานส์ฟอร์มสู่คลาวด์ในอนาคต ด้วยค่าใช้จ่ายระบบไอทีที่ลดลง 20%- Innovative Services on IBM Excellence Award คือ บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด โดยหนึ่งในความสำเร็จสำคัญคือการร่วมสนับสนุนกรมสรรพากร ที่มีเป้าหมายในการจัดเก็บภาษีตรงเป้า ด้วยนโยบายตรงกลุ่ม บริการตรงใจ และได้ทรานส์ฟอร์มองค์กรอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การทำ Design Thinking ปรับการทำงานให้เป็นแบบ Agile รวมถึงการนำเทคโนโลยีก้าวล้ำเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงาน และวันนี้ยังได้เดินหน้าต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนบริการแบบเบ็ดเสร็จผ่านระบบ Digital Service รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้การทำงานที่เชื่อมโยงและเกี่ยวข้องหลายส่วนงานทั้งราชการและเอกชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส และเอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการใหม่ๆ- Build with IBM Excellence Award คือ บริษัท ซิสเต็มส์ ดอท คอม จำกัด หรือ SDC กล่าวคือ ท่ามกลางปัจจัยเชิงลบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินบาทที่ผันผวน ต้นทุนการส่งออกด้านโลจิสติกส์ที่ถีบตัวสูงขึ้น และปัญหาการจัดการระบบ Supply Chain ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั้งในประเทศและประเทศคู่ค้า ทำให้บริษัท กันยงอีเลคทริก จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "มิตซูบิชิ อีเล็คทริค" ต้องบริหารงานภายใต้การจัดการความเสี่ยงใหม่ๆ มากมาย โดยระบบ IT ของไอบีเอ็มที่ติดตั้งโดย SDC ที่รองรับทั้งในแง่การวิเคราะห์ข้อมูลและการบริหารจัดการข้อมูลการผลิตมหาศาลแบบ end-to-end ช่วยให้บริษัทได้รับมุมมองเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่แม่นยำและรวดเร็วทันท่วงที รองรับการปรับ Capacity ตามสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน โดยไม่มีภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดตามมา Insights จากระบบประมวลผลข้อมูลที่ทรงพลัง ยังเป็นหนึ่งในกลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ของบริษัทอีกด้วย- Industry Solution Partner of the Year คือ บริษัท แอ็บสแตรค คอมพิวเตอร์ จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังการสนับสนุนโรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวคือ ด้วยพันธกิจในการจัดบริการด้านการแพทย์และสุขภาพที่มีคุณภาพสูงได้มาตรฐานสากลด้วยเทคโนโลยี โรงพยาบาลฯ ตระหนักถึงความจำเป็นในการมีระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) ที่มีความเสถียรสูง พร้อมรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 โดยได้นำ IBM Power Systems เข้ามารองรับระบบสารสนเทศ เพิ่มประสิทธิภาพระบบสำรองข้อมูล และปกป้องข้อมูลผู้ป่วยกว่าสองล้านรายจากภัยไซเบอร์และการเจาะข้อมูล โดย IBM Power Systems ช่วยให้ระบบการให้บริการของโรงพยาบาลมีความเสถียรสูง พร้อมรองรับแอพพลิเคชันทั้งที่มีอยู่แล้วและรูปแบบใหม่ๆ ในอนาคต รวมถึงรองรับการให้บริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) และนวัตกรรมการรักษาใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพแก่ผู้ป่วยทั่วประเทศ- Rookie Partner of the Year คือ บริษัท ไอเอสเอส คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ISS ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญในการนำแพลตฟอร์มที่มีความเสถียรและปลอดภัยสูงอย่าง IBM Power เข้าสนับสนุนการเพิ่มจำนวนสาขาและการทำธุรกรรมของบริษัทประกันภัยชั้นนำของไทย เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่มีสะดุดโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทั้งยังทำให้องค์กรพร้อมและสามารถปรับปรุงระบบ ERP หลักให้รองรับการทำงานในรูปแบบ On-premise ไปจนถึงเชื่อมต่อกับการทำงานบน Cloud ในรูปแบบ Hybrid Cloud ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ- Distributor of the Year บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด กล่าวคือ วันนี้บุคลากรทางด้านไอทีโดยเฉพาะด้าน AI กำลังเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเงิน การผลิต ค้าปลีก โดยการจะพัฒนาบุคลากรที่เข้าใจธุรกิจและการนำ AI มาใช้อย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจได้อย่างแท้จริงนั้น จำเป็นต้องอาศัยการเปิดให้ผู้เรียนได้ทดลองสร้าง AI จาก Dataset จริง และเกิดการคิด วิเคราะห์ จากการใช้งานจริง โดย Computer Union ที่มีความชำนาญด้านระบบที่รองรับ AI อันดับต้นๆ ของไทย ได้ติดตั้ง IBM Power ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในงาน AI ในองค์กรทั่วโลก เพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพสามารถทดลองรันโมเดล AI บน Dataset ขนาดใหญ่ พร้อมทดลองตั้งค่าระบบใน Container ของตนได้อย่างอิสระ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากร AI ในอนาคตจะมีความรู้ลึกและเข้าใจการใช้งาน AI จริงๆ เมื่อเรียนจบในปีที่ผ่านมา บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยังเป็นบริษัทคู่ค้าไอบีเอ็มจากประเทศไทยเพียงรายเดียว ที่ได้รับรางวัล 2021 IBM Geography Excellence Award ASEAN - Thailand Partner of the Year
ที่มา: IBM