" อีกแนวทางที่ต้องดำเนินการไปควบคู่กันตามนโยบายของเลขาธิการ กฟก. คือ การประสานและตรวจสอบยืนยันเกี่ยวกับข้อมูลหนี้จากเจ้าหน้าหนี้ โดยในส่วนภูมิภาคมอบหมายให้สำนักงานจังหวัดสาขา ประสานกับอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดดำเนินการประสานข้อมูลจากเจ้าหนี้ เช่น สหกรณ์ต่าง ๆในพื้นที่ สำหรับในส่วนกลางสำนักงานใหญ่ จะดำเนินการประสานกับเจ้าหนี้ ทั้งในส่วนของ ธกส. ธนาคารพาณิชย์ หรือนิติบุคคลต่างๆ และ ตรวจสอบยืนยันกับทางเจ้าหนี้ด้วย โดยเฉพาะทางสหกรณ์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่ในระดับพื้นที่ ส่วนเจ้าหนี้ที่อยู่ส่วนกลางที่ทางสำนักงานใหญ่ที่จะต้องเป็นคนประสาน อาทิ ธกส. ธนาคารพาณิชย์ หรือนิติบุคคลต่างๆ เป็นต้น"
ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมานั้น เกษตรกรสมาชิกที่ได้มาขึ้นทะเบียน บางส่วนยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า เมื่อขึ้นทะเบียนเสร็จแล้ว ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยข้อมูลไว้อย่างนั้น ไม่มีการแจ้งถึงสถานะหนี้เปลี่ยนแปลงอย่างหรือไม่ หรืออยู่ในกรณีเจ้าหนี้ฟ้องหรือยัง เป็นต้น ส่งผลให้ข้อมูลหนี้ไม่มีการอัพเดทให้เป็นปัจจุบัน สำหรับจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้จนถึงขณะนี้มีประมาณ 510,000 กว่าราย รวมสัญญาจำนวน 769,000 กว่าสัญญา คิดเป็นมูลหนี้ประมาณ 107,000 ล้านบาท ทั้งจากที่ขึ้นทะเบียนไว้ 510,000 กว่าราย มีจำนวนถึง 200,000 กว่าราย ที่ไม่มีการอัพเดทสถานะหนี้ให้เป็นปัจจุบัน
" ดังนั้นนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ สามารถมาติดต่อประสานกับทางสำนักงานจังหวัดในพื้นที่ เพื่อแจ้งข้อมูลปรับปรุงทะเบียนหนี้ของตนเอง ได้ที่สำนักงานสาขาจังหวัดได้ในทุกวันทำการ เพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือได้ทันต่อสถานการณ์ ทั้งกรณีเป็นหนี้ที่ผิดนัดชำระ หนี้จำเป็นเร่งด่วน หรือขั้นบังคับคดีขายทอดตลาด" นายมนัส กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา: สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร