ESRI หนุนใช้เทคโนโลยี GIS จัดการภัยพิบัติ รับมือเหตุฉุกเฉินครบวงจร ชูประสิทธิภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนที่เชิงลึก หนึ่งกุญแจสำคัญแก้โจทย์โควิด-19

ศุกร์ ๐๑ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๐:๑๐
บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ArcGIS แพลตฟอร์มภูมิสารสนเทศอัจฉริยะระดับโลกในประเทศไทยมากว่า 30 ปี ชูโซลูชันสุดล้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก GIS for Crisis Management หรือ จีไอเอสเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตครบวงจร ดึงจุดแข็งด้านข้อมูลแผนที่อัจฉริยะและการวิเคราะห์ประมวลผลเชิงลึก เพื่อรับมือภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ชูศักยภาพขั้นสูงระบุความเสี่ยงของพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ เข้าใจสถานการณ์ คาดการณ์ผลกระทบ เตรียมแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา พร้อมบริหารจัดการภาวะวิกฤตตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุจนสถานการณ์คลี่คลาย ช่วยฟื้นฟูให้กลับสู่สภาวะปกติ ต่อยอดความสามารถ GIS สู่เทรนด์การพัฒนาเมือง เสริมคุณภาพชีวิตและการจัดการพื้นที่ทุกมิติ แนะหน่วยงานภาครัฐใช้เทคโนโลยีจีไอเอสเพื่อการบริหารภาวะวิกฤตเต็มรูปแบบในทุกสถานการณ์

นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์วิกฤต ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรง ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก จากรายงาน Adaptation Gap Report 2020 ที่จัดทำขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมนุษย์และเศรษฐกิจโลก ปัจจุบันในหลายประเทศได้จัดเตรียมแผนรับมือ โดย UNEP ระบุว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะใช้เงินทุนรับมือเรื่องดังกล่าวประมาณ 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ตัวเลขค่าใช้จ่ายจะเพิ่มสูงถึง 1.4 - 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2573 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2593

สำหรับประเทศไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายภัยพิบัติอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากเหตุไฟไหม้ป่าของไทยในปี 2563 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,100 ล้านบาท ขณะที่ภัยแล้ง ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 17,000-19,000 ล้านบาท ผนวกกับวิกฤตโควิด-19 คาดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจติดลบ 0.5% ในปีนี้ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเป็นสถานการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ดังนั้น การนำเทคโนโลยีเข้าวางแผนป้องกันและช่วยแก้ปัญหาภัยพิบัติรวมทั้งเหตุการณ์ฉุกเฉิน คือภารกิจเร่งด่วนที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องริเริ่มเตรียมพร้อมรับมือร่วมกัน

ปัจจุบันอีเอสอาร์ไอได้พัฒนาเทคโนโลยี GIS for Crisis Management หรือ จีไอเอสเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤต ซึ่งเป็นโซลูชันสำคัญในการช่วยเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เหตุฉุกเฉิน และสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถหยิบมาพัฒนาต่อได้ในเวลาอันสั้น พร้อมเข้าไปบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตได้ตั้งแต่การเตรียมพร้อมก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และฟื้นฟูสู่สภาวะปกติหลังเหตุการณ์ เรียกได้ว่ามีเครื่องมือเข้าจัดการแบบครบวงจร เป็นเครื่องมือด้านดิจิทัลที่ใช้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

GIS for Crisis Management เป็นโซลูชันที่เข้ามาช่วยจัดการสถานการณ์ภาวะวิกฤตครบวงจร คือ ช่วงเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ (Preparedness) หลายครั้งที่เหตุการณ์ฉุกเฉินหรือสภาวะวิกฤต ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ 100% แต่ด้วยเทคโนโลยี GIS และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องสามารถประเมินและคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลในหลากหลายมิติ และฐานข้อมูลย้อนหลัง เข้ามาช่วยคาดการณ์การเกิดเหตุล่วงหน้าได้ เช่น กรณีการพยากรณ์การเกิดอุทกภัย GIS สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า โดยนำข้อมูลแหล่งน้ำ ข้อมูลพารามิเตอร์มาวิเคราะห์ระดับและปริมาณน้ำ ฯลฯ และส่งข้อมูลเตือนภัยในเวลาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายได้ หรือในขณะที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังระบาดอยู่ขณะนี้ GIS สามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกทั้งที่มีความหลากหลายซับซ้อน และมีมิติสัมพันธ์จากฐานข้อมูลหมวดต่าง ๆ อาทิ จำนวนผู้ป่วยที่อาจเพิ่มขึ้น พื้นที่การระบาด การกระจายตัวของผู้ติดเชื้อ เพื่อประเมินการระบาดและวางแผนรับมือ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดการการระบาดฯ เพื่อบรรเทาและคลี่คลายสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังสามารถวางแผนเตรียมพร้อมการรักษาและการจัดการทรัพยากรให้เพียงพอในอนาคตได้เช่นกัน

ช่วงการรับมือกับสถานการณ์ในขณะเกิดภัยหรือเหตุฉุกเฉิน (Response) ซึ่งการบริหารจัดการเหตุด้วยการปฏิบัติที่เหมาะสมพร้อมรับมืออย่างทันทีทันใดนั้น GIS จะเข้าช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก พร้อมเสนอมาตรการต่าง ๆ เพื่อจัดการไม่ให้เกิดความสูญเสียหรือลดผลกระทบที่เกิดให้น้อยที่สุด ซึ่ง GIS มีเครื่องมือที่พร้อมใช้งาน สะดวกต่อการพัฒนาต่อยอด สามารถมอนิเตอร์ดูสถานการณ์จริงแบบเรียลไทม์ เพื่อหาแนวทางเข้าควบคุม แก้ไข ผ่านเว็บแอปพลิเคชันพร้อมอัปเดตข้อมูลและรายงานสรุปผลด้วย Dashboard เข้าใจและเข้าถึงง่าย โดยแสดงผลได้ทั้งบนหน้าจอโทรศัพท์ (Mobile Application) และบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ (Web Monitoring) ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อวางแผนรับมือกับสถานการณ์ได้เช่นกัน นับเป็นหนึ่งไฮไลท์ที่ช่วยให้การส่งต่อข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นถึงมือผู้ประสบเหตุหรือกำลังอยู่ระหว่างอพยพในเหตุวิกฤต สามารถคาดคะเนเหตุการณ์และเตรียมความพร้อมรับมือได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้รายงานข้อมูลนี้เพื่อประเมินภาพรวมและบริหารสถานการณ์รวมทั้งทรัพยากรให้เหมาะสมที่สุด

และสุดท้ายซึ่งเป็นช่วงการฟื้นฟู (Recovery) บรรเทาหลังเกิดเหตุวิกฤตให้กลับสู่สภาวะปกติ ให้ประชาชนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบกลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นโดยเร็ว ระบบสามารถวิเคราะห์จัดหาศูนย์อพยพสำหรับประชาชนในการเข้าขอความช่วยเหลือที่เร็วที่สุด ช่วยเจ้าหน้าที่จัดทำข้อมูลประชาชนและประเมินจัดลำดับการช่วยเหลือแบ่งเป็นระดับมาก กลาง น้อย เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ครบถ้วน อีกทั้งยังสามารถจัดทำข้อมูลสรุปผลสำหรับผู้บริหารให้เข้าใจสถานการณ์ภาพรวมตั้งแต่ต้นและนำไปวางแผนต่อสำหรับการรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

กุญแจสำคัญของการบริหารจัดการวิกฤต คือ ชุดข้อมูลที่หลากหลายนำมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี GIS เพื่อวิเคราะห์ประมวลผลให้สามารถรับมือเหตุฉุกเฉินได้ และด้วยความสามารถในการทำ Visualization ช่วยเปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายในทุกมิติ นำไปพัฒนาต่อยอดรับมือได้ทุกสถานการณ์ เช่น กรณีล่าสุด เหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติกขนาดใหญ่เมื่อไม่นานมานี้ อีเอสอาร์ไอนำ ArcGIS เครื่องมือวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลพื้นที่เพื่อตั้งจุดอพยพ เส้นทางการอพยพ และรายงานสถานการณ์รอบพื้นที่เกิดเหตุแก่ประชาชนแบบเรียลไทม์ ภารกิจจากทีมจิตอาสาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) นำ ArcGIS ใช้ในการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อหาเตียงส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงภาครัฐได้นำ ArcGIS ไปใช้ในการบริหารจัดการและมอนิเตอร์ การเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นต้น

"การใช้ระบบบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญสูง นับเป็นหนึ่งแนวทางสำคัญสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องพิจารณานำมาใช้เพื่อช่วยจัดการสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของโลกที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการการทำงาน แก้ไขปัญหา รวมทั้งรับมือทุกวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้เต็มรูปแบบในทุกสถานการณ์" นางสาวธนพร กล่าว

ที่มา: แอบโซลูท พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย