7 คำถามของโรคสะเก็ดเงินกับโควิด-19

จันทร์ ๐๔ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๑:๐๓
ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด19 ทำให้มีคำถามจากผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหลากหลายประเด็น จึงขอเลือกโอกาสของเดือนตุลาคม ซึ่งในเดือนนี้ในวันที่ 29 ตุลาคมของทุกปีถือให้เป็นวันสะเก็ดเงินโลก (World Psoriasis Day) สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย จึงขอเป็นสื่อกลางนำ 7 คำถามที่มีคุณค่า เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมีความกล้าที่จะบอกเล่าเกี่ยวกับอาการ นอกเหนือจากบริเวณผิวหนังของโรคที่ต้องเผชิญร่วมกันกับแพทย์ผู้รักษา ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเองในการรักษาให้ตรงจุดและครอบคลุมในการลดอุบัติการณ์ของโรคร่วม และให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รศ.พญ.พลอยทราย รัตนเขมากร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า 7 คำถามโรคสะเก็ดเงิน ประกอบด้วย

1.การเป็นโรคสะเก็ดเงินนั้นสามารถติดต่อและเป็นโควิด-19 ได้ง่ายกว่าคนปกติหรือไม่

  • ไม่แตกต่างจากคนปกติโดยทั่วไป แต่ประเด็นที่สำคัญและควรรู้ คือการที่เป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง พบว่ามักจะมีโรคร่วมที่พบได้บ่อยขึ้นกว่าคนปกติ เช่น ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ยังพบว่ามีอัตราการสูบบุหรี่และดื่มเหล้าเพิ่มขึ้น ปัจจัยร่วมดังกล่าวทำให้ในกรณีที่โรคโควิด-19 อาจส่งผลกระทบ คือมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง

2. ยาทา ยากิน ยาฉีดหรือการรักษาสะเก็ดเงินด้วยการใช้แสงอาทิตย์เทียมมีผลอย่างไรต่อโรคโควิด-19

  • การทายา การได้รับยาชนิดรับประทานประเภท Acitretin การฉายแสงอาทิตย์เทียม รวมไปถึงฉีดยา ฉีดชีวภาพและยาปรับภูมิในระดับต่ำไม่ได้ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นจากข้อมูลในปัจจุบัน แต่หากผู้ป่วยได้รับยาปรับภูมิในขนาดสูง มีข้อสันนิษฐานว่าอาจทำให้การขจัดเชื้อโควิด-19 ออกจากร่างกายยากมากขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลจากทั่วโลกที่มีการรวบรวมไว้ถึงปัจจุบันไม่พบว่าการรักษาสะเก็ดเงินด้วยวิธีการต่าง ๆ จะส่งผลกระทบหากผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จะมีการรวบรวบรวมข้อมูลจากหลายประเทศ พบว่าผู้ป่วยสะเก็ดเงินที่ติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า 90 % หายเป็นปกติและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ

3.ควรปรับการรักษาโรคสะเก็ดเงินอย่างไร ในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19

  • มีแนะนำจากกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่รักษาโรคสะเก็ดเงินและข้ออักเสบจากสะเก็ดเงินแนะนำให้คงการรักษาโรคสะเก็ดเงินและข้ออักเสบสะเก็ดเงินตามปกติ

4.ปกติรับการรักษาด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียมที่โรงพยาบาล แต่ไม่อยากมาโรงพยาบาลบ่อย ๆ สามารถอาบแดดหรือตากแดดที่บ้านเพื่อทดแทนได้หรือไม่

  • มีกรณีศึกษารายงานว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งประสบความสำเร็จ คือผื่นสะเก็ดเงินทุเลาลงจากการตากแดดเองที่บ้าน ดังนั้นหากผู้ป่วยท่านใดต้องการตากแดดที่บ้านเพื่อทดแทนการฉายแสงยูวีบีโดยตรงและสัมผัสกับผิวหนัง หากเป็นสะเก็ดเงินเฉพาะส่วน  เช่น บริเวณขาสามารถยื่นขาออกไปนอกบ้านและให้แสงอาทิตย์สัมผัสกับบริเวณผิวหนังโดยตรง อาจเลือกใช้เสื่อหรือเตียงนอนนึ่ง ในขณะการตากแดดเป็นเวลา 10 ถึง 15 นาทีทุกวันอย่างสม่ำเสมอ โดยช่วงเวลา 10 ถึง 15 นาที และพลิกคว่ำอีก10 -15 นาที ควรหลีกเลี่ยงการตากแดดที่บริเวณใบหน้า เนื่องจากอาจทำให้เกิดฝ้า กระหรือริ้วรอยก่อนวัยอันควร ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการได้รับแสงอาทิตย์สะสมเป็นปริมาณต่อเนื่องและขณะที่ทำการรักษาด้วยการตากแดดนั้น ควรระมัดระวังการเป็นลมแดดจากความร้อนสะสมในร่างกายสูงเกินไป หากช่วงเวลาดังกล่าวมีอากาศร้อนมาก ควรดื่มน้ำให้เพียงพอและอาบน้ำเปล่า หลังจากการตากแดดเพื่อลดระดับความร้อนในร่างกาย

5.การฉีดวัคซีน โควิด-19ในผู้ป่วยสะเก็ดเงิน

  • ผู้ป่วยสะเก็ดเงินสามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ทุกชนิดที่มีในปัจจุบัน โดยมีข้อพิจารณาดังนี้  ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการทายา  การใช้แสงอาทิตย์เทียม การกินยา Acitretin ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการรักษาใด ๆ หลังฉีดวัคซีน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะโรคที่สงบและควบคุมได้และได้รับการรักษาด้วยยาปรับภูมิ เช่น Methrotrexate แนะนำให้หยุดยาหนึ่งสัปดาห์หลังรับการฉีดวัคซีนโควิด-19

6.คำแนะนำโดยทั่วไปสำหรับผู้ป่วยสะเก็ดเงินในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19

  • ควรดูแลรักษาผิวหนังด้วยการทาโลชั่นอย่างสม่ำเสมอ เลือกใช้สบู่อ่อน ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะผิวแห้ง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของความคัน  นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง อาหารหมักดองเนื่องจากการมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากอาหารไขมันสูง อาจทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบได้ เช่นเดียวกันกับอาหารหมักดอง ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินคงทราบดีว่าภาวะเครียดในจิตใจหรือการนอนหลับพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ   หลับไม่สนิทหรือ

นอนดึกต่อเนื่อง ทำให้โรคสะเก็ดเงินเห่อได้  ดังนั้นในสภาวะที่มีการระบาดของโควิด-19 และคนส่วนใหญ่จำเป็นต้องทำงานจากที่บ้าน จึงมีวินัยในตนเอง หลีกเลี่ยงการนอนดึก ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและหาหนทางคลายเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น การฟังเพลง การนั่งสมาธิสวดมนต์ การดูหนังหรือละคร เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียด นอกจากนี้ยังแนะนำให้ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหาวิธีออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวันเนื่องจากสามารถผ่อนคลายความเครียดและยังส่งผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและทำให้สามารถคุมน้ำหนักได้ดีไม่มีภาวะน้ำหนักเกิน หากผู้ป่วยมีความตั้งใจที่จะเลิกดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ ควรใช้อากาสนี้ในการเลิกดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อสุขภาพโดยรวมของตนเองเพราะการเลิกดื่มสุราและเลิกสูบบุหรี่ได้จะทำให้ตับและปอดดีขึ้นได้

7.ในกรณีที่การเดินทางไปโรงพยาบาลเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการติดโควิด-19

  • ควรสอบถามโรงพยาบาลว่ามีการรักษาด้วยระบบทางไกลและส่งยาทางไปรษณีย์หรือไม่ ปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลที่รับการตรวจรักษาด้วยระบบทางไกลผ่านการโทรศัพท์หรือวิดีโอคอลกับแพทย์ผู้รักษาและส่งยาให้ผู้ป่วยทางไปรษณีย์  

ที่มา: ไอเวิร์คพีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม