แห่งแรกในอาเซียน วิศวะมหิดล- เมดโทรนิค (ประเทศไทย) รับมือโควิด-19 ถ่ายทอดเทคโนโลยี เตรียมเปิดศูนย์เครื่องช่วยหายใจ ที่ศูนย์นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ ม.มหิดล

อังคาร ๐๕ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๐๗
ผนึกพลังความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน...ฝ่าวิกฤติโควิด-19 และการเตรียมเปิดประเทศไทย ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนาม MOU กับ บริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด  ถ่ายทอดเทคโนโลยี 'เครื่องช่วยหายใจ' (Ventilator) มาตรฐานสากล และพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขที่เชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยหายใจในการดูแลผู้ป่วย โควิด-19 หลังยอดผู้ป่วยในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากโควิดกลายพันธุ์เดลต้าในช่วงที่ผ่านมา พร้อมระดมทรัพยากรและองค์ความรู้เทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ เร่งช่วยพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ความก้าวหน้าและแผนการเปิดศูนย์นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ระดับภูมิภาคอาเซียน ที่มหาวิทยาลัยมหิดล

คุณรานีวรรณ รามศิริ ผู้อำนวยการ บริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เมดโทรนิค เป็นผู้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ระดับโลกซึ่งก่อตั้งในสหรัฐอเมริกามากว่า 70 ปี มีเครือข่ายในกว่า 150 ประเทศ  และมีการดำเนินงานด้านพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ควบคู่ความเจริญก้าวหน้าด้านสาธารณสุขในประเทศไทยมาเป็นเวลา 20 ปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เราตระหนักถึงภาวะวิกฤติโควิด-19 ในประเทศไทยที่มีความรุนแรง ทำให้ 'เครื่องช่วยหายใจ' (Ventilator) ไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยขั้นวิกฤติที่เพิ่มสูงขึ้น ระบบสาธารณสุขไทยยังขาดองค์ความรู้และขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเครื่องช่วยหายใจ ที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยในภาวะวิกฤต และพัฒนานวัตกรรมเครื่องช่วยหายใจที่ได้มาตรฐานระดับสากล รวมถึงเครื่องมือแพทย์อื่น ๆ ที่จะตอบสนองความต้องการของโรงพยาบาลและผู้ป่วยในประเทศไทยได้ ดังนั้น เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จึงได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้ความร่วมมือในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์นี้ ประกอบด้วย การถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ให้ปลอดภัย และการใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด การค้นคว้าทดลอง วิจัยและพัฒนา ต่อยอดนวัตกรรมเครื่องช่วยหายใจ และเครื่องมือแพทย์อื่นๆ ในอนาคต โดยมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกพร้อมที่จะช่วยแนะนำและฝึกอบรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผ่านมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านการแพทย์สาธารณสุขและวิศวกรรม  เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงและต่อยอดเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย ตลอดจนร่วมขับเคลื่อนความก้าวหน้าของระบบสาธารณสุขไทยในอนาคต

ทั้งนี้  เครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้อย่างเต็มที่ จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น อาการเจ็บป่วยจากโควิด-19 ขั้นรุนแรง หรือการผ่าตัด โดยถูกเชื่อมต่อกับผู้ป่วยด้วยท่อกลวงที่ส่งออกซิเจนไปยังผู้ป่วย จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง โดยมักใช้ในช่วงระยะสั้น ๆ แต่มีบางรายที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในระยะยาวหรือตลอดชีวิตด้วย  ปัจจุบันเครื่องช่วยหายใจ มี 2 ชนิด คือ

  • เครื่องช่วยหายใจชนิดธรรมดา (Conventional Ventilator) มีการใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากใช้งานไม่ยุ่งยาก เคลื่อนย้ายสะดวก โดยรูปแบบการทำงานของเครื่องสอดคล้องกับปอดของคนทั่วไป ระดับปริมาตรอากาศที่เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยจึงใกล้เคียงกับการหายใจของคนปกติ ทำให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
  • เครื่องช่วยหายใจชนิดความถี่สูง (High Frequency Ventilator) มักใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบาก เนื่องจากปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ เครื่องช่วยหายใจชนิดนี้มีการสูบฉีดออกซิเจนค่อนข้างถี่ ปริมาตรของอากาศที่เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยอยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการรับออกซิเจนของปอดในขณะนั้น

รศ.ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "สถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยที่ระบาดเร็วและรุนแรงขึ้นจากไวรัสกลายพันธุ์เดลต้า ทำให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของการวิจัยพัฒนาและผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะ'เครื่องช่วยหายใจ' (Ventilator) ซึ่งทุกโรงพยาบาลต้องมีอย่างเพียงพอจะสามารถช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยขั้นวิกฤติและช่วยลดความสูญเสียลงได้ การผนึกความร่วมมือของทั้ง 2 องค์กร นับเป็นการริเริ่มครั้งสำคัญนำไปสู่การถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้เชิงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาเครื่องช่วยหายใจอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการวิจัย ศึกษา บูรณาการมุ่งสู่วิศวกรรมระดับโลกด้านการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ (Innovative Medical Device Center of Excellence) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรมเครื่องช่วยหายใจแห่งแรกของอาเซียนอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีแผนขยายไปถึงเครื่องมือแพทย์อื่นๆ ซึ่งมีศักยภาพอันโดดเด่นพร้อมที่จะเป็นต้นแบบและเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ตามมาตรฐานสากลสำหรับประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเพิ่มจำนวนกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องช่วยหายใจ อันจะเป็นกำลังหลักในการช่วยชีวิตคนไทยด้วยเครื่องช่วยหายใจให้ได้มากที่สุดและก้าวหน้ายั่งยืน ตลอดจนร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยโควิดในอนาคต

ก่อนหน้านี้ เมดโทรนิค ได้เปิดพิมพ์เขียว (Open Sources) ให้ทางภาคเอกชนและองค์กรต่างๆ ที่มีศักยภาพสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้พัฒนาเครื่องช่วยหายใจ เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตเครื่องช่วยหายใจให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยโควิด-19 อาทิ บริษัท เทสล่า ได้นำพิมพ์เขียวดังกล่าวไปช่วยเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องช่วยหายใจในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ บริษัท อินเทล นำเทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ของเครื่องช่วยหายใจมาประยุกต์ใช้ให้สามารถควบคุมเครื่องได้จากระยะไกล (Remote Monitoring) ช่วยให้แพทย์สามารถใช้และควบคุมเครื่องได้จากระยะไกล (Telemedicine) ช่วยเพิ่มความสะดวกและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากการดูแลผู้ป่วยวิกฤตได้มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เมดโทรนิค ยังได้ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรและบริษัทพัฒนาแอพพลิเคชั่น Allego Inc.ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า 'Ventilator Training Alliance App (VTA)' เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลของเครื่องช่วยหายใจได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น บริษัทฯ ยังมีส่วนร่วมสนับสนุนระบบสาธารณสุข โดยจัดหา นำเข้า และส่งมอบเครื่องมือพร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีส่วนช่วยรักษาผู้ป่วยอย่างเพียงพอ รวมทั้งส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เข้าไปให้บริการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ทีมแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย

ในยามที่คนไทยประสบความยากลำบากในภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น มีความต้องการบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญอีกจำนวนมากในการใช้เครื่องช่วยหายใจให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในผู้ป่วยขั้นวิกฤติที่เพิ่มสูงขึ้น ความร่วมมือของบริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) และมหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นพลังสำคัญพัฒนานวัตกรรมและศักยภาพบุคคลากรทางการแพทย์ของไทยโดยถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีอย่างมีมาตรฐานสากล

ที่มา: เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๑ เม.ย. Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๑ เม.ย. แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๑ เม.ย. สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๑ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๑ เม.ย. คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๑ เม.ย. โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๑ เม.ย. รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๑ เม.ย. ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๑ เม.ย. มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION