3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ยืนกรานค้านแก้ กม. นำกากอ้อยเข้าสู่ระบบแบ่งปัน ชี้เป็นขยะอุตสาหกรรมไม่ใช่ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต

ศุกร์ ๐๘ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๑:๓๐
3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ย้ำจุดยืนคัดค้านการนำกากอ้อย กากตะกอนกรอง เข้าไปคำนวณในระบบแบ่งปันผลโยชน์ 70/30 เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ชี้เป็นกากขยะอุตสาหกรรมไม่ใช่ผลพลอยได้จากการผลิต ระบุเป็นการปิดกั้นโอกาสพัฒนาอุตสาหกรรมนำของเสียกากอ้อยและกากตะกอนกรองในอุตสาหกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอนาคต

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) และประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นตัวแทนจากผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 57 โรงงาน มีมติคัดค้านร่างแก้ไขมาตรา 4 ใน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่ต้องการนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองเข้าสู่การคำนวณระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 โดยเพิ่มเติมคำนิยามให้รวมกากอ้อย กากตะกอนกรอง เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลถือเป็นเรื่องที่ไม่ต้องถูกต้อง เนื่องจากกากอ้อยและกากตะกอนกรอง เป็นขยะอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทราย จึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.โรงงาน โดยต้องดำเนินการกำจัดของเสียดังกล่าวเพื่อไม่ได้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมาโรงงานได้นำกากอ้อยไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล และมีเพียงบางโรงงานที่นำไปสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด

เช่นเดียวกับกากตะกอนกรองที่มาจากการนำสิ่งปนเปื้อน เช่น อิฐ หิน ดิน ทราย ที่ติดมากับอ้อยเข้าหีบ ที่ชาวไร่ส่งมอบให้แก่โรงงานซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต โรงงานจึงนำไปผลิตเป็นปุ๋ยเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น การนำกากอ้อยและกากตะกอนกรอง ซึ่งเป็นขยะอุตสาหกรรมมาเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ โดยพยายามอ้างว่าเป็นพลอยได้จากกระบวนการผลิตนั้น จึงถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการฯ และส่งผลกระทบต่อสัดส่วนต่อการแบ่งปันผลรายได้ที่เคยเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่ายระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงาน

นอกจากนี้ การแก้ไขมาตราดังกล่าว ยังเป็นการปิดกั้นต่อภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรม โดยนำกากขยะอุตสาหกรรมสิ่งที่ไม่ใช้แล้วมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม BCG ที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้นำผลผลิตทางเกษตร เช่น อ้อยและมันสำปะหลังไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พัฒนาขึ้นใหม่ที่มีมูลค่าสูง หากมีการนำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เป็นการต่อยอดจากขยะอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมหรือจากผลผลิตอ้อยและน้ำตาล ต้องนำมาคำนวณแบ่งปันรายได้จากผลิตที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้น จะไม่มีภาคเอกชนรายใดที่ต้องการเข้ามาลงทุนเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในอนาคต

"เราไม่เห็นด้วยและพร้อมคัดค้านทุกทาง ที่จะนำกากอ้อยและกากตะกองกรองมารวมเป็นผลพลอยได้เพื่อเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลโยชน์ เนื่องจากการนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองที่เป็นขยะอุตสาหกรรมมาสร้างรายได้ โดยโรงงานเป็นผู้แบกภาระการลงทุนทั้งหมด ดังนั้นหากมีการบังคับแก้ไข ต่อไปคงไม่มีเอกชนรายใดต้องการเข้ามาลงทุนนำผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจแน่นอน" นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ที่มา: เอ็ม ที มัลติมีเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ