SVI ซื้อกิจการ บริษัทโทโฮกุ ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญการผลิตอุปกรณ์สำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมยานยนต์

จันทร์ ๑๑ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๑:๑๕
SVI ซื้อกิจการ บริษัทโทโฮกุ ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญการผลิตอุปกรณ์สำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ต่อยอดขยายฐานลูกค้ากลุ่มผู้ผลิตยานยนต์และเพิ่มความสามารถบริหารต้นทุน หนุนอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 2-3% ในอีก 3 ปีข้างหน้า

บมจ.เอสวีไอ (SVI) ประกาศเข้าซื้อกิจการ บริษัทโทโฮกุ ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัทโทโฮกุ ไพโอเนียร์) ผู้เชี่ยวชาญการผลิตอุปกรณ์สำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมยานยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ ป้อนลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นและยุโรป พร้อมผนึกกำลังร่วมนำเสนอสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการลูกค้าร่วมกัน ช่วยสร้างโอกาสขยายฐานลูกค้าประเทศญี่ปุ่นเพิ่มเติม ดันความสามารถด้านอัตราการทำกำไรสุทธิ SVI เพิ่มขึ้น 2-3% ภายใน 3 ปีข้างหน้า

นายสมชาย สิริปัญญานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ SVI ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการแบบครบวงจรในการประกอบผลิตภัณฑ์ประเภทวงจรไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป ให้แก่ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Original Equipment Manufacturer: OEM) เปิดเผยว่า
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติลงนามเข้าซื้อหุ้น 100% ของ บริษัท โทโฮกุ ไพโอเนียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการผลิตอุปกรณ์สำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ติดตั้งในรถยนต์แบบสันดาบและยานยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งสัญชาติญี่ปุ่นและยุโรป ทั้งนี้ บริษัทโทโฮกุ ไพโอเนียร์ มีพื้นที่การผลิตกว่า 15,000 ตารางเมตร รวมถึงยังเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของลูกค้า (OEM) ให้แก่ผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์แบรนด์ชั้นนำระดับโลกอีกมากมาย

สำหรับ บริษัทโทโฮกุ ไพโอเนียร์ เป็นผู้ผลิตที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมากกว่า 20 ปี ในการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต โดยที่อุปกรณ์ดังกล่าวนั้น สามารถนำมาใช้เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ SVI ดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้ได้ประโยชน์จากการเข้าบริหารซัพพลายเชนต้นน้ำ เพื่อบริหารต้นทุนการผลิตโดยรวมลดลง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญเพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาวของ SVI

ทั้งนี้ ภายหลังเข้าซื้อกิจการจะก่อให้เกิด Synergy ร่วมเสริมสร้างความแข็งแกร่งระหว่างกัน ทำให้ SVI สามารถต่อยอดขยายตลาดใหม่จากฐานลูกค้าเดิมของบริษัทโทโฮกุ ไพโอเนียร์ ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่มีฐานผลิตในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นได้เพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังสามารถนำเสนอทางเลือกให้แก่ฐานลูกค้าของ SVI มาใช้อุปกรณ์สำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากโรงงานดังกล่าว ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักรได้เต็มประสิทธิภาพ โดย SVI วางเป้าหมาย 3 ปี จะผลักดันยอดรายได้บริษัทโทโฮกุ ไพโอเนียร์ จะเพิ่มขึ้นเป็น 4,500 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,500 ล้านบาท

"การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ จะทำให้เกิด Win-Win ทำให้ SVI ใช้ความสามารถด้านการผลิตของโรงงานแห่งนี้ได้อย่างเต็มที่เพื่อบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้ดียิ่งขึ้นควบคู่กับการขยายลูกค้ารายใหม่ เพื่อผลักดันยอดขายของบริษัทโทโฮกุ ไพโอเนียร์ ให้สูงขึ้นและบันทึกกำไรจากการดำเนินงานที่มาจากดีลนี้ ทำให้อัตราการทำกำไรสุทธิของ SVI เพิ่มขึ้น 2-3% และกำไรต่อหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในอีก 3 ปีข้างหน้า" นายสมชาย กล่าว

ที่มา: เอ็ม ที มัลติมีเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๑๗:๑๖ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๑๗:๕๕ Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๑๗:๔๗ โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๑๗:๑๒ ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๑๗:๐๐ กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๑๖:๐๐ WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๑๖:๐๔ เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๑๖:๔๗ ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๑๖:๐๒ NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ