จัดแสดงโปรเจกต์ล้ำนวัตกรรม 70 รายการ โดยการใช้งานข้ามสาขาในการดูแลสุขภาพได้รับความสนใจมากที่สุด
การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพและเทคโนโลยีซึ่งแต่ก่อนแบ่งแยกออกจากกันชัดเจนนั้นเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น โดยทีมงานจาก National Taiwan University กำลังนำเทคโนโลยี AI, แมชชีนเลิร์นนิง, การสร้างภาพสามมิติ, การประมวลผลบิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้พัฒนาเครื่องมือตรวจจับและเทคโนโลยีติดตามที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อใช้รักษามะเร็งประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม ไปจนถึงมะเร็งอะดีโนคาร์ซิโนมาในปอดและมะเร็งสมองระยะแพร่กระจาย ขณะที่ทีมงานจาก National Tsing Hua University ยังคงเดินหน้านำเสนอความสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาควิชาการ ในการทำงานร่วมกับบรรดาผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ United Microelectronics Corporation (UMC) ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงและดีพเลิร์นนิงไปใช้ในการควบคุมกระบวนการขั้นสูง การตรวจจับความผิดปกติต่าง ๆ และเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะอื่น ๆ
การนำผลิตภัณฑ์สวมใส่ไปใช้อย่างแพร่หลายประกอบกับแพลตฟอร์มพลัง AI ก่อให้เกิดการใช้งานรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับยาแผนปัจจุบัน
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนายารักษาอาการของไวรัส โดยทีมงานจาก National Yang-Ming University ได้สร้างแพลตฟอร์มพลัง AI เพื่อนำยาแผนปัจจุบันไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นโดยใช้ AI และบิ๊กดาต้า ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนายาชนิดรับประทานที่มีสรรพคุณสำคัญทางคลินิก
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การสื่อสารแบบสัมผัสน้อยลงหรือไม่สัมผัสเลยกลายเป็นวิถีใหม่ โดยศูนย์วิจัย MOST AI Research Center ในสังกัด National Taiwan University ได้สร้างโซลูชันติดตามอาการแสดงผ่านนาฬิกาอัจฉริยะและผลิตภัณฑ์สวมใส่อื่น ๆ เพื่อแจ้งเตือนด้วยเสียงเมื่อบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินทำงานหนักเกินไป
ด้านทีมงานจาก Taipei Medical University ก็ได้นำเทคโนโลยีไร้สัมผัสมาใช้ ในการพัฒนาแพลตฟอร์มติดตามและดูแลการหายใจทางสรีรวิทยาแบบไร้สัมผัสเป็นลำดับชั้น ซึ่งใช้เรดาร์คลื่นมิลลิเมตรติดตามระบบหายใจ พร้อมระบบติดตามและบันทึกระดับออกซิเจนในเลือดอย่างต่อเนื่อง ระบบรายงานอาการที่ควบคุมด้วยแชทโรบอท เทคโนโลยี AI และข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้แพลตฟอร์มดังกล่าวติดตามอาการป่วยและมอบประโยชน์ได้มากที่สุดโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
เปลี่ยนหนังปลาเหลือทิ้งให้กลายเป็นวัสดุใหม่ในการซ่อมแซมบาดแผล
หนังปลาเหลือทิ้งนำไปใช้ฟื้นฟูเนื้อเยื่อได้ โดย Chuang Shen Biotechnology ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยศูนย์ National Cheng Kung University International Wound Repair and Regeneration Center ได้นำเทคโนโลยีอันเป็นกรรมสิทธิ์มาใช้ เพื่อสกัดคอลลาเจนชนิดที่ 1 ความบริสุทธิ์สูงจากหนังปลาเหลือทิ้ง ซึ่งนำไปสร้างความชุ่มชื้นให้ผิวหนังและซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้ ทั้งยังนำไปต่อยอดในการวิจัยทางชีววิทยาศาสตร์ วัสดุทางชีวการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ดูแลความงามทางการแพทย์ในอนาคตได้ด้วย
ข้อมูลการจัดแสดง
วันที่: 14-23 ตุลาคม 2564
2021 TIE On-Line Expo: https://tievirtual.twtm.com.tw/
FUTEX (Future Tech) On-Line Expo: https://reurl.cc/Rby4Ng
FUTEX (Future Tech) Official Website: https://www.futuretech.org.tw/futuretech/index.php
FUTEX (Future Tech) Facebook: https://www.facebook.com/futuretech.org.tw/