สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จับมือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยกระดับสมรรถนะผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม

พุธ ๒๐ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๐:๐๙
วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล เพื่อยกระดับสมรรถนะผู้ประกอบการและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม โดยมี นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมประเทศไทย และ รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นผู้ลงนาม ณ ลาน ThaiBev ชั้น 10 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ (มทรก.)

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมประเทศไทย กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีพันธกิจหลัก ในการส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรม ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา วิจัย อบรม เผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุตสาหกรรม และพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างผู้ประกอบการ เพื่อช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมในฐานะ "เพื่อนร่วมเศรษฐกิจมิตรร่วมสร้าง" สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจึงพยายามหาแนวทางและพันธมิตรในการพัฒนาความรู้ และทักษะที่จำเป็นให้กับสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมฯ เพื่อสร้างสมรรถนะการแข่งขันในตลาดโลก และสามารถนำพาอุตสาหกรรมไทยก้าวไกลสู่สากลอย่างเต็มภาคภูมิ จึงเล็งเห็นถึงโอกาสในการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเปิดชั้นนำของโลกผู้ริเริ่มด้านการเรียนการสอนทางไกลเพื่อส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่มุ่งเน้นพัฒนาสมาชิกให้มีความรู้ สร้างความเข้มแข็งและความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการรายย่อย และ/หรือผู้ประกอบการใหม่ และสร้างมาตรฐานสมรรถนะคุณวุฒิวิชาชีพผู้ประกอบการอุตสาหกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร. มานิตย์ จุมปา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้นำและผู้ริเริ่มการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาทางไกล เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต นอกเหนือจากหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก แล้วยังมีหลักสูตรในระดับต่ำกว่าปริญญา (Non-degree Programs) ระบบโมดูลการเรียน (Modular System) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะในการทำงานควบคู่กับคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างทักษะใหม่ (Re-Skill) และยกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้น (Up-Skill) ตอบสนองการเรียนรู้ตามความต้องการของแต่ละบุคคลและหน่วยงาน ตามคำขวัญว่า มสธ. ที่ไหน เวลาใด ใครก็เรียนได้

สำหรับการจัดหลักสูตรเพื่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เป็นการจัดการเรียนการสอนให้กับสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้มีความรู้ ทักษะและเจตคติที่จำเป็นเพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โดยหลักสูตรมีความสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพตามกลุ่มอุตสาหกรรม ที่สำคัญสมาชิกสภาอุตสาหกรรมที่เข้าเรียนผ่านโครงการความร่วมมือนี้จะสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตสำหรับการศึกษาต่อในหลักสูตรการศึกษาของ มสธ. ได้อีกด้วย นับเป็นมิติใหม่การพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมสำหรับยุค Next Normal เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสร้างโอกาสความสำเร็จที่สูงยิ่งขึ้น

ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี