นอกจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะได้รับรางวัล Good Design Award แล้ว ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ของโตชิบายังได้รับรางวัล iF Design Award เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยการที่กลุ่มโตชิบาได้รับทั้ง 2 รางวัลการออกแบบผลิตภัณฑ์อันทรงเกียรติได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานที่ยอดเยี่ยม โดยยึดหลักผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง
รายละเอียดผลิตภัณฑ์ของโตชิบาที่ได้รับรางวัล
1. ระบบกักเก็บพลังงานขับเคลื่อนสำหรับรถไฟด้วย SCiB(TM) ความร่วมมือระหว่าง โตชิบา และ TISS
เป็นระบบกักเก็บพลังงานหมุนเวียนสำหรับรถไฟซึ่งสร้างขึ้นใหม่ และอินเทอร์เฟซ สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญ ซึ่งอาจไม่ได้ปรากฎให้เห็นแก่บุคคลทั่วไปมากนัก โดยระบบนี้สร้างขึ้นจากการวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างวิศวกร นักออกแบบ กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกลุ่มผู้ให้บริการแบบ B2B (Business to Business) แม้ในช่วงเวลาดังกล่าว การจ้างวิศวกรรุ่นใหม่จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากจำนวนวิศวกรที่มีประสบการณ์สูงในภาคสนามมีจำนวนลดน้อยลง แต่ผู้พัฒนาระบบดังกล่าวกลับฟังความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่ายอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องยกย่องกลุ่มผู้พัฒนาระบบผลิตภัณฑ์ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบอินเทอร์เฟซ โดยเป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย แม้วิศวกรหรือผู้ใช้ที่ประสบการณ์ไม่มากนักก็สามารถใช้งานได้
2. เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์รุ่น HAORI ความร่วมมือระหว่างโตชิบา และ TCC
ด้วยความตระหนักว่า เครื่องปรับอากาศถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการตกแต่งภายในเคหะสถาน ตัวเครื่องปรับอากาศ และฝาครอบ จึงถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะโครงสร้างในส่วนของฝาครอบ ได้ถูกออกแบบใหม่โดยเลือกใช้ผ้าเป็นส่วนประกอบหลัก ดังนั้นการออกแบบเครื่องปรับอากาศจึงมีความเรียบง่าย ฝาครอบหุ้มด้วยผ้าที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับห้องได้หลากหลายสไตล์ และยังมีการออกแบบแผ่นปรับทิศทางลม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของเสียงรบกวนนอกเหนือจากการออกแบบฝาครอบขึ้นใหม่ทั้งหมด บริษัทได้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเลือกใช้วัสดุอื่นๆ ผสมกับผ้า เพื่อให้รูปลักษณ์ดูกลมกลืน และทำให้เครื่องปรับอากาศรุ่นนี้ กลายเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการตกแต่งภายในอย่างแท้จริง
เกี่ยวกับรางวัล Good Design Award
Good Design Award หรือรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1957เป็นรางวัลอันทรงเกียรติด้านการออกแบบของประเทศญี่ปุ่น โดยผลงานที่ได้รับรางวัลนี้มีหลากหลายสาขา อาทิ ผลิตภัณฑ์สถาปัตยกรรม แอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ และโครงการนำร่องที่ใช้การออกแบบเข้าไปบูรณาการด้วย การมอบรางวัลนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้คนได้สัมผัสและรับรู้ถึงคุณค่าของ "การออกแบบที่ดี" โดยอัตราการรับรู้เกี่ยวกับรางวัลนี้ รวมถึงสัญลักษณ์ G-Mark อยู่ที่ 84%
*จากผลสำรวจล่าสุดโดย สถาบันส่งเสริมการออกแบบแห่งประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 2020 http://www.g-mark.org/
ที่มา: นิโอ ทาร์เก็ต