"ภายใต้การดูแลภาคเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีสินค้าเกษตรทุกรูปแบบเป็นจำนวนมาก แต่ยังมีตลาดอยู่น้อย ในฐานะที่ตนกำกับดูแลองค์การสะพานปลาจึงได้มอบนโยบายให้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการหาตลาดให้กับเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำประมงก่อน โดยครั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ จะส่งเสริมสินค้าทุกประเภท ไม่ใช่เฉพาะสัตว์น้ำ ที่เราสามารถผลิตได้ในประเทศ เพื่อจะส่งออกโดยการขนส่งทางเรือ โดยใช้กลยุทธ์ เมื่อเรือสินค้านำสินค้าเข้ามาส่ง เราจะไม่ให้กลับไปเป็นเรือเปล่า แต่ต้องให้นำสินค้าของประเทศไทยกลับไปด้วย โดยตอนนี้องค์การสะพานปลากำลังหารือกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยจะเริ่มนำร่องสินค้าสัตว์น้ำเป็นประเภทแรกซึ่งหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ จะมีการสร้างคลังสินค้าบริเวณใกล้ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนเป็นที่แรก มีการสร้างห้องเย็นเพื่อเก็บสินค้า หากมีความต้องการสินค้าก็จะทำให้สามารถขนส่งขึ้นเรือได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว และหากประสบผลสำเร็จก็จะเริ่มขยายไปยังสินค้าเกษตรอื่นๆ และท่าเรืออื่นๆ ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยต่อไป " รมช.ประภัตร กล่าว
ทั้งนี้ ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน อยู่ในความรับผิดชอบของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นประตูระหว่างประเทศไทยกับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ตอนบน ส่งเสริมการขนส่ง การค้า ตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำบ้านช้าง - แม่น้ำโขง โดยมีสินค้าผ่านท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนกว่า 6 ล้านตันต่อปี มีบริการที่ทันสมัยตามมาตรฐานสากล สำหรับท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน มีท่าเทียบเรือ 4 ท่า ประกอบด้วย 1.ท่าเรือแนวลาดทิศใต้ 2.ท่าเรือแนวดิ่ง 3.ท่าเรือแนวบาดทิศเหนือ 4.ท่าเรือขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถรองรับเรือสินค้ามีขนาดบรรทุกได้ถึง 400 ตัน กินน้ำลึกถึง 2 เมตร มีสถิติเรือเข้า - ออก ปี 2564 กว่า 103,971 ลำ โดยมีสินค้านำเข้าที่โดดเด่น คือ ข้าวโพด บุหรี่ เปลือกไม้ สินค้าส่งออก ที่โดดเด่นคือ ชิ้นส่วนไก่แช่แข็ง เนื้อกระบือแช่แข็ง น้ำตาลทราย เป็นต้น
ที่มา: สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์