ภาพรวมตลาดลงทุน ปี 64
คุณวรยุทธ พิกุลสวัสดิ์ เผยว่า การลงทุนในปี 64 นั้นมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบหลักอยู่ 4 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่
- ปัจจัยแรกคือภาวะฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปี 63 สามารถดูได้จากการเติบโตของ GDP ซึ่งอาจแตกต่างกันบ้างตามแต่ละประเทศและภูมิภาค โดยในไตรมาสที่ 4 นี้ การฟื้นตัวเริ่มกลับคืนมาในระดับหนึ่ง ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวได้ในช่วงหลังจากนี้
- ปัจจัยที่สองคือโควิด-19 จำนวนผู้ติดเชื้อที่มีการปรับเพิ่มมากขึ้นในระยะหลัง ส่งผลให้ตลาดมีความผันผวน เศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก ต้องคอยติดตามเรื่องการประกาศเปิดประเทศ การเข้าสู่ฤดูหนาว การกลายพันธุ์ ไปจนถึงประสิทธิภาพวัคซีน ว่าการระบาดจะกลับมารุนแรงอีกระลอกหรือไม่ ในขณะเดียวกันที่ต่างประเทศก็ได้รับวัคซีนกระจายเกือบทั่วโลกแล้ว ทำให้หลายประเทศกลับมาเปิดเมืองได้
- ปัจจัยที่สามคือการปราบปรามการควบคุมภาคธุรกิจของจีน จากปีที่แล้วหุ้นจีนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่จีนสามารถควบคุมโควิด-19 ได้ก่อน จากนั้นทางการของจีนก็มีการควบคุมธุรกิจแนวคิดที่มีการผูกขาด โดยที่รัฐบาลได้เข้าตรวจสอบหลายธุรกิจไม่ว่าจะเป็นอาลีบาบา ภาคธุรกิจกวดวิชา ตลอดจนภาคอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มฟินเทคต่าง ๆ ทำให้หุ้นจีนที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาปรับตัวลงอย่างรุนแรง แต่ไม่นานมานี้ แจ็ค หม่า ได้เริ่มออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งส่งผลให้หุ้นเทคโนโลยีจีนมีการฟื้นตัวขึ้นมาบ้างแล้ว
- ปัจจัยที่สี่คือนโยบายการเงินของโลก ปัจจุบันธนาคารกลางสหรัฐเริ่มมีนโยบายปรับลดการผ่อนคลายทางการเงินแล้ว ซึ่งก็คาดการณ์ว่าจะมีการลดขนาดงบดุลในเดือนพฤศจิกายน 64 หลังจากที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มมีการฟื้นตัวมาพอสมควร รวมถึงการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปี 66 ในขณะที่ความเสี่ยงในเรื่องของตัวเลขเงินเฟ้อก็ยังเป็นประเด็นที่ตลาดจับตาดูอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 65 เหตุผลที่มีแนวโน้มที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวหรือสามารถกลับมาขยายตัวได้นั่นเอง อย่างไรก็ดีในอดีตพบว่าตลาดอาจมีความผันผวนบ้างในช่วงเริ่มลดการผ่อนคลายในเชิงนโยบายลง แต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็มักจะปรับตัวขึ้นต่อไปได้เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจที่กลับมาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
เปิด 4 กลยุทธ์ปัจจัยสำคัญในการบริหารพอร์ต odini BLACK
จากภาพรวมการลงทุนตลอดปี 63-64 ทำให้ odini BLACK มีการวางกลยุทธ์ในการปรับพอร์ตโดยอาศัย 4 กลยุทธ์การช่วยวิเคราะห์การลงทุนด้วย FVMR Model ซึ่งแบ่งเป็น 4 ปัจจัยสำคัญคือ
- ปัจจัยที่หนึ่ง Fundamental เป็นปัจจัยพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น Earning Growth, Return on Equity เป็นต้น
- ปัจจัยที่สอง Valuation คือมูลค่าความถูกความแพงของตัวหุ้นในแต่ละตลาด ตัวอย่างเช่น Upside, Price to Earning เป็นต้น
- ปัจจัยที่สาม Momentum ดูในเรื่องการปรับประมาณการณ์กำไร ตัวอย่างเช่น EPS Revision, Price Performance เป็นต้น
- ปัจจัยที่สี่ Risk เป็นเรื่องของความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น Volatility ในแต่ละช่วงเวลา และ Debt to Equity เป็นต้น
ปัจจัยเหล่านี้จะถูกใช้ในการพิจารณากำหนดน้ำหนักการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาว่าตลาดใดมีความน่าสนใจมากน้อยต่างกันอย่างไร
พอร์ต odini BLACK มีการบริหารความเสี่ยงด้วยการปรับพอร์ตอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระดับประเภทสินทรัพย์ ระดับประเทศ/ภูมิภาค หรือในระดับกองทุนรวมที่มีความเหมาะสมในการลงทุนที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา จากนั้นจะมีการปรับสมดุลพอร์ตให้กับนักลงทุน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นสำคัญของ odini BLACK ที่สามารถช่วยปรับพอร์ตการลงทุนด้วยการทยอยขายทำกำไรและถัวเฉลี่ยต้นทุนทีละน้อย เช่น ทีละ 1-2% ให้กับพอร์ตการลงทุน ซึ่งนักลงทุนทั่วไปไม่สามารถจัดการเองได้ และเป็นวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี
ในแง่ของการคัดเลือกกองทุน odini BLACK จะมีการคัดเลือกกองทุน Best in Class ให้กับพอร์ตของนักลงทุนซึ่งเราจะคัดเลือกกองทุนทั้งจากปัจจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ สำหรับปัจจัยเชิงปริมาณจะดูจากผลตอบแทนในแต่ละช่วงเวลา ความผันผวน และผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงอัตราการขาดทุนสูงสุดในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ odini BLACK ยังมีการจัดทำ Fund Ranking และพิจารณาถึงขนาดของกองทุนด้วยเช่นกัน เพราะกองทุนที่มีขนาดเล็กเกินไป อาจมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องในการซื้อขายได้ สำหรับปัจจัยเชิงคุณภาพ จะพิจารณาจากนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ เนื่องจากกองทุนประเภทเดียวกันอาจมีความแตกต่างกันในด้านกลยุทธ์การลงทุน แนวคิดในการเลือกหุ้น หรือมีวิธีการซื้อและขายหุ้นที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์ถึงสินทรัพย์ที่อยู่ในกองทุนว่าเป็นหุ้นประเภทใด มีลักษณะอย่างไร รวมถึงประสบการณ์ของทีมผู้จัดการกองทุนก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการพิจารณา นอกจากนี้จะมีการพิจารณาถึงลักษณะและรายละเอียดอื่น ๆ ของกองทุน เช่น นโยบายการจ่ายปันผล ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน รวมถึงความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของกองทุนที่ส่งผลถึงการอัปเดตข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยที่คณะกรรมการลงทุน หรือ Investment Committee จะเป็นผู้อนุมัติแนวทางในการลงทุนดังกล่าว ตลอดจนถึงติดตามผลการแนะนำและคัดเลือกกองทุน เพื่อการสร้างผลตอบแทนภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมให้กับนักลงทุน odini BLACK นั่นเอง
ความสำเร็จปี 64 และแผนระยะยาวของพอร์ต odini BLACK
จากการวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรมและการวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ส่งผลให้นับตั้งแต่จัดตั้งพอร์ตในเดือนสิงหาคม ปี 63 จนถึงเดือนตุลาคม ปี 64 odini BLACK มีผลตอบแทนจากการลงทุนบวกถึง 13.41% โดยในปัจจุบัน พอร์ต odini BLACK เน้นลงทุนในธีมหลัก 3 ธีมคือ จีน เวียดนาม และ Global Quality and Growth โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ธีมแรกจะเน้นการลงทุนในหุ้นจีนประมาณ 18% ของพอร์ต โดยเน้นลงทุนในตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ ผ่านกองทุน MCHINAGA ซึ่งลงทุนในหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้แก่ พลังงานสะอาด พลังงานทางเลือก เช่น บริษัท CATL ที่ทำธุรกิจแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชูโรง นอกจากนี้บริษัทหลักทรัพย์จีนยังได้รับประโยชน์โดยตรงจากการที่รัฐบาลมีนโยบายให้บริษัทที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาทยอยกลับมาจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงมากขึ้น และจะยังได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากการเติบโตของธุรกิจ Wealth Management อีกด้วย
- ธีมที่สองจะเน้นหุ้นเวียดนามประมาณ 14 % ของพอร์ต ผ่านกองทุน KFVIET-A และ PRINCIPAL VNEQ-A เนื่องจากหุ้นเวียดนามเข้าสู่การเติบโตจากการที่มีเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้ามา โดยคาดการณ์ว่า GDP เวียดนามจะสามารถเติบโตได้อีก 6-7% ส่งผลให้ตลาดเวียดนามเป็นที่สนใจของนักลงทุน ซึ่งเห็นได้จากที่ผ่านมานักลงทุนมีการลงทุนมากขึ้นในตลาดหุ้นเวียดนาม อีกปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามเติบโตขึ้นคือการเพิ่มน้ำหนักของหุ้นเวียดนามในดัชนี MSCI Emerging Market ที่จะทำให้เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาในเวียดนามอีกมาก
- ธีมที่สามเป็นธีม Global Quality and Growth ซึ่งมีจุดเด่นในด้านการสร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ โดยกองทุนที่เลือกลงทุนจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันคือ กองทุนแรก TMBGQG จะเน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพดี มีการเติบโต โดยมีการกระจายการลงทุนในหุ้นหลายตัวเพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง เช่น Google, Microsoft และ Facebook เป็นต้น ส่วนกองทุนที่สองคือ ONE-UGG-RA จะเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรมและมีการเติบโตสูงทั่วโลก ซึ่งเน้นลงทุนแบบกระจุกตัว เช่น Tesla, Amazon, Moderna เป็นต้น
นอกจากการลงทุนในธีมหลัก ทั้ง 3 ธีมแล้ว พอร์ต odini BLACK ยังเน้นการลงทุนในธีม Innovation หรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ได้ประโยชน์ในยุค Disruption อีกด้วย คุณวรยุทธ พิกุลสวัสดิ์ ปิดท้าย
ที่มา: แบรนด์ คอมมิวนิเคชัน