BIM กับ ก้าวใหม่ของอสังหาฯ ใน 4 มิติยุค COVID-19

อังคาร ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๒๑ ๐๘:๔๕
"ลุมพินี วิสดอม" ระบุ การพัฒนา BIM ผนวกกับเทคโนโลยีดิจิทัล และ AI เป็นกระบวนการที่นำมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ใน 4 มิติทั้งด้านสุขอนามัย-วิเคราะห์และออกแบบ-การบริหารจัดการพื้นที่ก่อสร้าง-ลดปริมาณขยะ

นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom หรือ LWS) บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่า ไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ รวมทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ ต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งงานออกแบบที่ต้องตอบสนองต่อวิถีชีวิต (Lifestyle) ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการให้ความสำคัญในเรื่องสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็นต้องนำกระบวนการพัฒนางานออกแบบและก่อสร้างด้วย BIM (Building Information Modeling) มาสนับสนุนงานออกแบบและก่อสร้าง

"เป็นที่รู้กันว่า BIM เป็นกระบวนการทำงาน (Process) ที่มีส่วนช่วยในงานออกแบบและก่อสร้างของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในเรื่องของระยะเวลาการทำงานที่ลดลง (Time) การบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Cost) และการพัฒนาคุณภาพของงานออกแบบ (Quality) นอกจากทั้ง 3 มิตินี้แล้ว ปัจจุบัน BIM ยังมีการพัฒนากระบวนการทำงานที่ตอบโจทย์กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในอีก 4 มิติ นั่นคือเรื่อง ความปลอดภัยและสุขอนามัย งานวิเคราะห์และออกแบบ การบริหารจัดการพื้นที่ก่อสร้าง และ ลดปริมาณขยะจากกระบวนการทำงาน ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม" นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

ด้านสภาพแวดล้อมของความปลอดภัยและสุขภาพ (Safety & Healthy Environment):

ปัจจุบันการออกแบบสามารถนำเทคโนโลยีร่วมกับการทำงานบนระบบ BIM เข้ามาปรับใช้กับกระบวน การทำงาน ทั้งในพื้นที่ก่อสร้าง (On-Site) และในสำนักงาน (Office) เพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการทำงานและผลกระทบทางด้านสุขภาพ รวมถึงจำกัดการแพร่กระจายเชื้อที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการทำงาน

นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า ในพื้นที่ก่อสร้าง (On-Site) สามารถปรับการทำงานเป็นรูปแบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Automated) เพราะยังต้องมีคนงานทำงานที่พื้นที่ก่อสร้างอยู่ แต่สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามา ช่วยในการตรวจสอบความปลอดภัยได้ เช่น เทคโนโลยี Sensor ตรวจจับอุณหภูมิ ค่าสุขภาพร่างกายและตรวจจับการเคลื่อนไหวของคนงานที่อยู่ใกล้พื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและคัดกรองคนที่มีความเสี่ยงในพื้นที่การทำงานได้ ในขณะเดียวกันหัวหน้างานสามารถที่จะตรวจสอบการทำงานได้แบบ Real-Time Monitoring และแจ้งเตือนคนงานได้ทันที อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี VR ที่เป็นตัวช่วยสนับสนุนการทำงานของ สถาปนิก วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญ ให้สามารถประเมินปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่จริง ช่วยลดความหนาแน่นในพื้นที่ก่อสร้างและช่วยประหยัดทั้งทรัพยากรเวลาและเงิน

ในขณะเดียวกันในส่วนของสำนักงาน (Office) สามารถปรับการทำงานเป็นรูปแบบอัตโนมัติ (Automated) ด้วยการทำงานบนระบบ BIM ซึ่งเป็นระบบแบบรวมศูนย์ข้อมูล (Data Centric) ที่ช่วยลดความผิดพลาดของข้อมูลและลดความซ้ำซ้อนของการทำงานลง โดยทำงานร่วมกันผ่าน Cloud Platform ที่สามารถทำงาน ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฝ่ายงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับกับแนวคิดการทำงานในรูปแบบใหม่ เช่น Work from Home หรือ Remote Working

ลดปริมาณขณะ ที่เกิดขึ้นจากงานเอกสาร :

นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environment Sustainable Development) เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ความสำคัญ ถึงแม้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเป็นธุรกิจที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งเรื่องของฝุ่นและเสียงในพื้นที่ก่อสร้าง แต่การนำระบบการบริหารจัดการโครงการโดยใช้ระบบ BIM จะสามารถช่วยบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ก่อสร้าง ทั้งการบริหารจัดการเอกสารให้มีจำนวนการใช้กระดาษลดลง ทั้งการจัดทำเอกสารและแบบก่อสร้าง

"BIM มีรูปแบบเป็น Digital File ทดแทนรูปแบบกระดาษในแบบดั้งเดิม เพื่อสะดวกต่อการติดตามเอกสาร และประหยัดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ปัจจุบันหลายๆ ประเทศเริ่มมีกฎและข้อบังคับออกมาเพื่อให้ผู้ออกแบบ และผู้ก่อสร้างโครงการปฏิบัติตาม เช่น สิงคโปร์ มีการกำหนดการส่งแบบขออนุญาตทั้งหมด เป็น Digital File นอกจากจะช่วยการลดการใช้กระดาษที่ไม่จำเป็นซึ่งเป็นผลพลอยได้ทางอ้อมแล้ว ผู้ตรวจสอบแบบยังได้รับประโยชน์ทางตรงจากการใช้งาน BIM ในมิติต่าง ๆ ทำให้การตรวจสอบข้อมูลมีความถูกต้องและลดความผิดพลาด ในการทำงาน" นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

วิเคราะห์และพัฒนาแบบด้วย AI : Artificial Intelligence:

ปัจจุบัน BIM ได้มีการนำ AI (Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์) เข้ามายกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยการนำ AI เข้ามาใช้ในการรวบรวม เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ พร้อมกับจัดการหาวิธีแก้ปัญหา ในการออกแบบ ยิ่งมีข้อมูลมาก ก็จะสามารถนำมาใช้ในการประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกุญแจสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย AI เข้ามามีส่วนช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดต้นทุน ลดเวลาและความเสี่ยง ซึ่งเป็นปัจจัยในการปรับปรุงคุณภาพของโครงการ เช่น การใช้ Generative Design หรือ AI ช่วยออกแบบ ด้วยหลักอัลกอริทึม (Algorithm) ในการออกแบบโครงการที่มี Design Criteria จำนวนมาก เนื่องจาก AI สามารถเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันสั้น ทำให้ผู้ออกแบบสามารถระบุความต้องการ ข้อกำหนดของอาคาร กฎหมาย ทิศทางของแสงอาทิตย์ รวมถึงพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ โดยการนำข้อมูลต่างๆ เข้าสู่ระบบ จากนั้น AI จะช่วยออกแบบอาคารตามข้อกำหนดที่ระบุไว้เป็น Design Option ได้หลากหลาย พร้อมกับวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประสิทธิภาพของทางเลือกเหล่านั้น ทำให้ผู้ออกแบบเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดนำไปพัฒนาต่อไป หรือ การใช้ Generative Design ในงานออกแบบทางวิศวกรรม เพื่อลดปริมาณวัสดุหรือน้ำหนักลง แต่ยังสามารถรับน้ำหนักและปลอดภัยได้ตามเดิมอยู่

การบริหารจัดการพื้นที่ก่อสร้าง

ปัจจุบันการก่อสร้างในยุค COVID-19 มีข้อจำกัดเมื่อเทียบกับสถานการณ์ปกติ มีความจำเป็นต้องลดปริมาณคนเข้าทำงานลงเพื่อลดความแออัดตามมาตรการป้องกันโรค อีกทั้งการเข้าทำงานหน้างานมีการจำกัดเวลา แบ่งพื้นที่การเข้าถึง ทำให้การเก็บข้อมูลและส่งต่อข้อมูลระหว่างกันเกิดความคลาดเคลื่อนสูง การนำเทคโนโลยี เช่น การใช้โดรนในการเก็บภาพถ่ายงานก่อสร้าง ผสานกับการใช้ BIM Model เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการก่อสร้างจึงช่วยลดปัญหาการบริหารจัดการงานก่อสร้าง โดยระบบสามารถนำข้อมูลภาพจากโดรนและ BIM Model ไปเปรียบเทียบกับแผนการก่อสร้าง ใช้ Software ด้านการบริหารจัดการ (Management) ช่วยประเมินความเสี่ยงในการก่อสร้างต่อไป

นอกจากนี้ข้อมูลทั้งหมดสามารถเก็บอยู่บน Cloud ตอบโจทย์ในด้านการจัดเก็บข้อมูลไม่ให้สูญหาย มีข้อมูลถูกต้องครบถ้วนและสามารถอัพเดทข้อมูลแบบ Real Time เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของงานได้ตลอดเวลา และสามารถบริหารจัดการพื้นที่ก่อสร้างได้มากกว่า 1 พื้นที่ก่อสร้าง จากการศึกษาพบว่าวิธีเก็บข้อมูลหน้างานด้วยโดรน สามารถช่วยลดเวลาการเดินตรวจงานในพื้นที่ก่อสร้างได้ถึง 400 เท่าของเวลาทำงาน และช่วยลดต้นทุนการจัดเก็บข้อมูลเดิมได้ถึง 40%

"จากกระบวนการทำงานของ BIM ผนวกกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ สามารถพัฒนางานออกแบบและงานก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันทำให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยได้ที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพตอบโจทย์กับความต้องการ" นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

ที่มา: แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ