"สำหรับ "Agri challenge Next Normal 2022" เหลียวหลัง แลหน้า รองรับ Next Normal มีความท้าทายต่อภาคเกษตรที่จะขับเคลื่อนในระยะต่อจากนี้ โดยเน้น 1) การผลิต เชื่อมโยงทรัพยากรการผลิตยั่งยืน เน้นผลิตสินค้ามูลค่าสูง ควบคู่การยกระดับมาตรฐาน GAP เกษตรอินทรีย์ สนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพร/สุขภาพ พืชพลังงานทดแทน และผลักดันระบบฟาร์มอัจฉริยะ 2) การแปรรูป เน้นสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงด้วย BCG Model การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร (GMP HACCP ฯลฯ) และ 3) การตลาด เน้นการนำเสนอคุณค่าต่อผู้บริโภค (การสร้าง Story) การสร้างสรรค์ packaging/branding Online Marketing และการสร้างประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์การเกษตร นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องปรับตัวสู่ "Next Normal" โดยพัฒนากำลังคนภาคเกษตร พัฒนากระบวนการทำงาน ผลักดันวิจัยและนวัตกรรมเกษตร และยกระดับความร่วมมือเครือข่ายการพัฒนาภาคเกษตรจากทุกภาคส่วน" ปลัดเกษตรฯ กล่าว
ขณะเดียวกัน ได้เน้นย้ำการยกระดับภาคการเกษตรของจังหวัด โดยเร่งยกระดับการทำงาน ผลักดัน "ตลาดนำการผลิต" 5 แนวทาง คือ 1) รู้ให้ลึก ข้อมูลและทิศทางการพัฒนาของจังหวัด ข้อมูลพื้นฐาน สินค้าโดดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่นในพื้นที่ที่รับผิดชอบอย่างถ่องแท้ 2) ประยุกต์ใช้เป็น ใช้เครื่องมือที่มีให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้ง Agri-Map ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ข้อมูลสินค้าเกษตร สถิติ แนวโน้ม แผนน้ำ แพลตฟอร์มตลาด มาวิเคราะห์วางแผนการพัฒนาภาคการเกษตรของจังหวัด 3) จัดการให้เป็นระบบ ต้องวางแผนและบริหารงบประมาณภาคการเกษตรภาพรวมของจังหวัดให้ได้ ให้ชัดเจน ส่วนใดต้องขอ
Function ส่วนใดควรของบจังหวัด ส่วนใดต้องให้สถาบันการเงินช่วย เพื่อให้การขับเคลื่อนเดินหน้าได้ตามเป้าหมาย 4) แสวงหาความร่วมมือ ให้เพื่อนช่วย โดยเฉพาะหน่วยงานส่วนกลางและต่างประเทศของ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานสังกัดกระทรวง ในการดำเนินการด้านข้อมูล การอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งภาคส่วนต่างๆ ที่จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรของจังหวัด สานสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นไว้ การทำงานในทุกสภาพการณ์จะได้มีความราบรื่น และ 5) ภูมิใจในความสำเร็จ ของการพัฒนาภาคเกษตรของจังหวัดที่ได้ทำไปแล้ว ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะได้รู้ และต่อยอดสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ที่มา: สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์