การดูแลระยะประคับประคองแบบองค์รวม
- เน้นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ
- เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
- มีระบบดูแลโดยทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาล
- ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่าสงบและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- ดูแลและให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยหลังเสียชีวิต
การดูแลทางร่างกาย
- บรรเทาความปวด
- การหายใจลำบาก
- ความอ่อนเพลีย
- คลื่นไส้อาเจียนและภาวะกรดไหลย้อน
- ป้องแผลกดทับการดูแลทางจิตใจ
ควรประเมินภาวะซึมเศร้าตลอดช่วงการรักษา
การดูแลทางสังคม
- ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมักต้องการกลับไปอยู่บ้าน ในสภาพแวดล้อมเดิม ท่ามกลางคนที่รัก
- ความต้องการของผู้ป่วยและความต้องการของครอบครัว ต้องมีการปรับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยยึดเจตจำนงของผู้ป่วยเป็นหลักให้ได้มากที่สุด
การดูแลทางจิตวิญญาณและศาสนา
- อ่านหนังสือส่งเสริมความคิดบวก เช่น หนังสือธรรมะ
- ฟังสวดมนต์ หรือเกี่ยวกับศาสนาที่ผู้ป่วยศรัทธา
- จัดกิจกรรมกับคนในครอบครัวเพื่อให้ได้อโหสิกรรม ให้อภัย ในสิ่งที่ค้างคาใจ
การดูแลผู้ป่วยระยะก่อนเสียชีวิต
เฉพาะผู้ป่วยที่ใกล้ตายเท่านั้น สังเกตุจากสัญญาณชีพ หากไม่แน่ใจควรให้ทีมสหวิชาชีพช่วยประเมิน
- อ่อนเพลีย: ไม่ต้องรักษา ควรให้ผู้ป่วยพักผ่อนเต็มที่
- เบื่ออาหาร: การกินน้อยลงในระยะนี้ เป็นผลดีมากกว่าผลเสียเพราะสารคีโตนจะหลั่งออกมา ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น
- ดื่มน้ำน้อย: ให้รักษาความชุ่มชื้นไว้ โดย
- ใช้สาลีหรือผ้าสะอาดชุบน้าแตะที่ปาก
- ใช้ขี้ผึ้งทาที่ริมฝีปาก
- ถ้าตาแห้ง ให้หยอดน้ำตาเทียม - รู้สึกง่วงตลอดเวลา: ควรปล่อยให้ผู้ป่วยหลับสบายๆ ไม่คสรปลุก
- ไม่รู้สึกตัว: ผู้ป่วยยังสามารถรับรู้หรือได้ยินเสียง จึงควรอยู่ในความสงบและไม่พูดสิ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจ
- ร้องครวญครางหรือหน้าบิดเบี้ยว: ต้องให้แพทย์ประเมินอาการและให้คำแนะนำว่าเกิดจากความปวดหรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสมองจากภาวะก่อนตาย
- เสมหะมาก: ไม่ควรใช้การดูดเสมหะ เพราะยิ่งทำให้ทรมาน
โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู Chersery Home Internationalบอก "รัก" ผู้สูงวัย เชื่อใจให้เราดูแลสอบถามเพิ่มเติมได้ที่Tel : 084-264-2646Line id : @cherseryhomewww.cherseryhome.com
ที่มา: เดอะซีนิเซ่นส์