สหไทย เทอร์มินอล (PORT) ไตรมาส 3 กำไรโต QoQ 46.75% ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากสถานการณ์ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน

จันทร์ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๐๒๑ ๐๘:๓๖
สหไทย เทอร์มินอล (PORT) หนึ่งในผู้นำการให้บริการท่าเทียบเรือและโลจิสติกส์แบบครบวงจรเผยผลประกอบการ ไตรมาส 3 ปี 2564 มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 12.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 46.75%

คุณเสาวคุณ ครุจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) หรือ PORT กล่าวว่า "สำหรับ ไตรมาส 3 ปี 2564 บริษัทฯมีรายได้รวม 518.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.83% จากรายได้รวม 341.25 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการในการเป็นตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออก(Freight forwarder) และบริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า โดยมีกำไรขั้นต้น 71.24 ล้านบาท ลดลง 23.18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 11.90 ล้านบาท ลดลง 50.89% จากกำไรสุทธิ 24.23 ล้านบาท ในไตรมาส 3 ปี 2563 มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 12.21 ล้านบาท ลดลง 47.89% ถึงแม้บริษัทฯจะมีรายได้จากการให้บริการเป็นตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออก(Freight forwarder)เพิ่มขึ้น เพื่อมาชดเชยรายได้จากกิจกรรมบริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ แต่เนื่องจากกิจกรรมการให้บริการเป็นตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออก(Freight forwarder)นั้น มีกำไรขั้นต้นที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับอัตรากำไรขั้นต้นของรายได้จากบริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯในภาพรวมยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน แต่อย่างไรก็ตามจากอัตราค่าระวางเรือที่ทรงตัว ทำให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกบางส่วนเริ่มปรับตัวรับกับอัตราค่าระวางเรือดังกล่าวได้ ทำให้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนผลการดำเนินการของบริษัทฯมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีกำไรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 46.75%"

คุณบัญชัย ครุจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) หรือ PORT กล่าวเสริมว่า "สำหรับ 9 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ บริษัทฯมีรายได้เติมโต 16.94 % โดยมีเติบโตในทุกธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการบริการขนส่งทางบก การบริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า ร่วมถึงบริการต่อเนื่องอื่น เว้นแต่รายได้จากกิจกรรมท่าเรือที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่กดดันอยู่ และคาดว่ายังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 4 ของปีนี้ ทางบริษัทฯยังคงติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและมุ่งที่จะเพิ่มปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือให้ได้โดยเร็ว โดยบริษัทฯเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ดังกล่าวได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ด้วยปัจจุบันรัฐบาลในหลายประเทศได้มีนโยบายและมาตรการต่างๆเพื่อรณรงค์ให้ประชากรของตนเองเข้ารับวัคซีน พร้อมผลักดันให้ประชากรสามารถอยู่ร่วมกับโควิด-19ได้ ทำให้ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้สถานการณ์ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนเริ่มดีขึ้น อัตราค่าระวางเรือที่เริ่มทรงตัวตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา"

สำหรับโครงการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่ PORT ร่วมลงทุนกับกลุ่มน้ำตาลมิตรผล และ บริษัท APM Terminals จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ A.P.Moller-Maersk สายเรืออันดับหนึ่งของโลก ผ่านบริษัท บางกอก ริเวอร์ เทอมินอล จำกัด (Bangkok River Terminal : BRT) โครงการดังกล่าวจะให้บริการท่าเรือขนส่งตู้สินค้าระหว่างประเทศ (feeder) ตั้งอยู่บนพื้นที่ว่า 45 ไร่ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต ซึ่งปัจจุบันได้รับการอนุมัติ EIA แล้ว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมให้บริการในปลายปี 2565 ส่วนโครงการศูนย์กระจายสินค้าบนพื้นที่กว่า 40 ไร่ ซึ่ง PORT ร่วมทุนกับกลุ่มเฟรเซอร์สฯ ผู้นำการให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมไทย คาดว่าจะเปิดดำเนินการในต้นปี 2565 โดยจะเปิดในเขตพื้นที่ขอบเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านบริษัท บริษัท บางกอก โลจิสติกส์ พาร์ค จำกัด (Bangkok Logistics Park : BLP) หากโครงการทั้ง 2 ได้เริ่มเปิดดำเนินการ บริษัทฯเชื่อมั่นว่าจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและสร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจอีกด้วย

บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) หรือ PORT เป็นผู้ให้บริการท่าเรือเอกชนครบ วงจรรายใหญ่ของประเทศไทยโดยให้บริการตั้งแต่ 1. ธุรกิจการให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ ครบวงจรสำหรับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Feeder) และเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง (Barge) รวมถึงการให้บริการบรรจุสินค้าเข้าและถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ (CFS) และซ่อมแซมทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ (Container Depot) 2.ธุรกิจการให้บริการขนส่ง ตู้คอนเทนเนอร์ทางบก ภายในบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลบริเวณเขตพื้นที่แหลมฉบัง 3. ธุรกิจการให้บริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้าโดยให้บริการพื้นที่ลานพักตู้คอนเทนเนอร์ และคลังจัดเก็บสินค้ากับลูกค้า ทั้งที่เป็นเขตให้บริการปกติและปลอดภาษีอากร (Free Zone) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯให้บริการแก่กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกกลุ่มธุรกิจ e-commerce และอีกหลากหลายอุตสาหกรรม 4.ธุรกิจการให้บริการ เกี่ยวเนื่องอื่นๆ อาทิ การให้บริการ Freight Forwarding เป็นต้น

ที่มา: แบรนด์ เวลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย