เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย และโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ บุกเบิกการลงทะเบียนผู้ป่วยแบบไร้สัมผัส

พฤหัส ๑๘ พฤศจิกายน ๒๐๒๑ ๑๑:๑๐
บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งต่อจากนี้จะเรียกว่าบริษัทเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย ให้การสนับสนุนโรงพยาบาลที่ชั้นนำในประเทศไทยอย่างโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ด้วยการปรับกระบวนการลงทะเบียนให้สอดคล้องกับสถานการ์ปัจจุบันโดยลดขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นแบบไร้สัมผัสและใช้ระบบจดจำใบหน้า ระบบดังกล่าวนี้เริ่มเปิดให้ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 และเป็นระบบลงทะเบียนในปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เลือกบริษัทเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย เป็นผู้นำเทคโนโลยีจดจำใบหน้าระดับแนวหน้าของโลกของบริษัทมาสู่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล รวมถึงบริเวณจุดสัมผัสต่าง ๆ เพื่อเอื้อให้กระบวนการลงทะเบียนเป็นไปอย่างปลอดภัย รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น เทคโนโลยีจดจำใบหน้าของเอ็นอีซียังมีประโยชน์สูง ในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินได้ลงทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดำเนินการรักษาอย่างทันท่วงทีโดยที่ผู้ป่วยอาจไม่มีบัตรประจำตัวติดตัวอยู่ในขณะนั้น

นอกจากระบบลงทะเบียนด้วยระบบจดจำใบหน้าแล้ว เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย ยังได้ปรับเปลี่ยนและเพิ่มจำนวนกล้องในระบบกล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัยของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ถือเป็นการยกระดับความปลอดภัยโดยรวม และช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ระบุตำแหน่งผู้ป่วยในบริเวณโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ คาดว่า โซลูชันใหม่จากบริษัทเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น จะช่วยลดระยะเวลาการตอบสนองและภาระหน้าที่ของบุคลากรในขั้นตอนการลงทะเบียนได้ โดยการให้บริการระบบลงทะเบียนแบบไร้สัมผัสนี้แก่ผู้ป่วย ทำให้ทีมบุคลากรการแพทย์ให้การรักษาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยลดทรัพยากรและบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้ และสามารถนำทรัพยากรและบุคคลากรเหล่านั้นไปเสริมสร้างบริการด้านอื่นให้ดียิ่งขึ้น

โฆษกของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กล่าวว่า "โซลูชันของบริษัทเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ช่วยส่งเสริมระบบรักษาความปลอดภัยของเราในช่วงวิกฤตโรคระบาด และช่วยเรื่องข้อจำกัดด้านทรัพยากรของเรา ความเชี่ยวชาญของบริษัทเอ็นอีซีทำให้เราได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เนื่องจากมีความท้าทายในการปฏิบัติการ การทำงานของบริษัทเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบูรณาการเข้ากับโซลูชันของเราที่มีอยู่เดิม ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการสนับสนุนระบบรู้จำใบหน้าอัจฉริยะ และช่วยให้กระบวนการลงทะเบียนเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น"

นาย Ichiro Kurihara ประธานบริษัทเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย กล่าวว่า "เรายินดีที่ได้ติดตั้งโซลูชันระบบจดจำใบหน้ารุ่นใหม่ล่าสุดให้แก่โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลศิริราชเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า อีกทั้งยังเก่าแก่และใหญ่เป็นโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศไทย จึงมีผู้ใช้บริการเป็นบุคคลระดับสูง รวมถึงสมาชิกราชวงศ์และบุคคลสาธารณะอื่น ๆ อีกมากมาย โซลูชันของบริษัทเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยของผู้เข้ามาใช้บริการและบุคลากรของโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก บริษัทเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น ทำให้กระบวนการลงทะเบียนสำหรับผู้ป่วยเป็นไปโดยไร้สัมผัส เพื่อมุ่งสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มั่นคงและปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการลดการสัมผัสจากการดำเนินการ ณ สถานที่จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมอย่างในโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงกว่าในการติดเชื้อโควิด-19 และโรคอื่น ๆ ทั้งนี้ เราจะพัฒนานวัตกรรมโซลูชันที่สร้างมูลค่าทางสังคมให้สูงยิ่งขึ้นแก่สังคมต่อไปครับ"

เกี่ยวกับบริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทเอ็นอีซีเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเมื่อปี 2505 ด้วยการเปิดสำนักงานประสานงาน ก่อนจะเปิดบริษัทเอ็นอีซี ประเทศไทย และเอ็นอีซี คอมมิวนิเคชั่น ประเทศไทย (NCOT) ในปี 2530 และ 2531 ตามลำดับ

บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี 2546 ด้วยการควบรวมทั้ง 3 บริษัทนี้ เพื่อให้การสนับสนุนด้านไอทีและเครือข่ายในประเทศไทย เราให้บริการโซลูชันไอทีในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงให้การสนับสนุนและให้บริการโซลูชันเชิงเทคนิคที่เหนือชั้นในด้านระบบโทรศัพท์ เครือข่าย ศูนย์บริการลูกค้า การสื่อสารของเครือข่าย โครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์มไอที และระบบความปลอดภัยและความมั่นคงสำหรับโลกไซเบอร์ องค์กร และชุมชน นอกจากนี้ยังมีโซลูชันการค้าปลีก โซลูชันระบบติดตาม การบูรณาการระบบ และปฏิบัติการเครือข่ายในระบบโลจิสติกส์ บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มุ่งสร้างสังคมที่เชื่อมต่อคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ด้วยการช่วยขจัดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบดิจิทัล

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://th.nec.com

เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/NECCorporationThailand/

เกี่ยวกับโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ดำเนินงานภายใต้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ถือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วย โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาโรงพยาบาลศิริราชให้เป็นศูนย์การแพทย์ชั้นเลิศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ชื่อ "สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช"

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระนามในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงวางศิลาฤกษ์อาคาร "โครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์" ณ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรีในเขตบางกอกน้อยในวันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2551 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่ออาคารดังกล่าวว่า "ปิยมหาราชการุณย์" และเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีมติให้ก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (Siriraj Piyamaharajkarun Hospital หรือ SiPH) โดยใช้อาคารดังกล่าวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1684024/Image_Siriraj_Piyamaharajkarun_Hospital_s_Security_Video_Wall.jpg
คำบรรยายภาพ - แผงจอแสดงภาพจากกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ