ฟอร์ติเน็ตร่วมนำเสนอข้อมูลในการประชุมระดับโลกครั้งแรกของ INTERPOL ต่อสู้แรนซัมแวร์

อังคาร ๒๓ พฤศจิกายน ๒๐๒๑ ๑๕:๐๖
ฟอร์ติเน็ตผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจรได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงจัดขึ้นทางออนไลน์โดยองค์การตำรวจสากลเพื่อจัดการกับแรนซัมแวร์ "INTERPOL High-Level Forum on Ransomware" เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา  โดยเดอริค แมนคีจากฟอร์ติการ์ดแล็บส์เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมกับเลขาธิการ INTERPOL หัวหน้าของอาชญากรรมไซเบอร์จากสหประชาชาติ ผู้นำหลายท่านจาก World Economic Forum (WEF) และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจากทั่วโลกเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์แรนซัมแวร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ เดอริคเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลก (INTERPOL Global Cybercrime Expert Group) นับตั้งแต่ที่ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการประจำปีเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ

ในที่ประชุมของ INTERPOL นั้น ส่วนใหญ่เน้นการหารือเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงของอาชญากรรมทางไซเบอร์ต่อองค์กรทั่วโลก โครงสร้างพื้นฐานและบริการสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข รวมถึงกลยุทธ์การโจมตี ความร้ายแรงของแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นล่าสุด และผลงานการวิจัยของฟอร์ติการ์ดแล็บส์

การประชุมระดับโลกครั้งแรกของ INTERPOL นี้ช่วยสร้างแผนภูมิของอาชญากรรมทางไซเบอร์

เดอริคได้นำเสนอในที่ประชุมถึงแผนภูมิ (Mapping project) ของภัยคุกคามใหม่ๆ ที่เขาจัดทำร่วมกับ WEF ซึ่งเน้นไปที่การทำผังอาชญากรรมไซเบอร์และได้แสดงให้เห็นถึงกลุ่มองค์กรร้ายหลายแห่งที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อสร้างการโจมตีและแรนซัมแวร์ แผนภูมิจะช่วยให้เราเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ และใช้ข้อมูลยับยั้งอาชญากรรมต่อไป

จากแผนภูมิ พบว่าภัยคุกคามเกิดจากการทำงานร่วมกันเงียบๆ ของผู้ประสงค์ร้ายหลายสิบคนในห้องสนทนาลับ (Chat room) ที่ไม่มีชื่อเพื่อโจมตีให้สำเร็จ  บางกลุ่มเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์อาชญากรรม (เช่น ผู้พัฒนา ผู้รวบรวมและผู้เชี่ยวชาญในแพลตฟอร์มพิเศษ) กลุ่มอื่นๆ จะเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุน (เช่น รัฐและผู้ให้บริการโฮสต์) และบางคนเป็นสมาชิกขององค์กรอาชญากรรมที่ก่อตั้งมานานแล้วและทำหน้าที่ลงมือจู่โจม

การจับผู้ร้ายและป้องกันแรนซัมแวร์

พบปัญหาใหญ่ 2 ประการในการหยุดยั้งซัมแวร์ คือ การที่สามารถหาซื้อบริการที่ช่วยสร้างการคุกคามต่างๆ ข้างต้นได้จากห้องสนทนาในเว็บลับ Dark Web มากมายจึงทำให้การจับคนร้าย 1 คนหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะยังไม่สามารถหยุดยั้งการทำงานขององค์กรนั้นได้ ปัญหาที่ 2 คือ ภัยคุกคามมักเกิดข้ามประเทศ ซึ่งเราอาจจะสามารถตามล่าหาอาชญากรทางไซเบอร์ แต่อาจจับกุมไม่สำเร็จ เนื่องจากในปัจจุบันบางประเทศยังให้ความร่วมมือน้อยอยู่

ประเด็นสำคัญจากการประชุมแรนซัมแวร์ของ INTERPOL

ในตอนท้ายของการประชุม พบประเด็นสำคัญ 4 ประการที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนควรนำไปใช้เพื่อช่วยยับยั้งกระแสการโจมตีของแรนซัมแวร์ ดังนี้คือ:

  1. การป้องกันแรนซัมแวร์ต้องอาศัยการสร้างความตระหนักรู้ ความร่วมมือกันเป็นเครือข่ายและแบ่งปันข้อมูล
  2. ตั้งเป้าหมายขัดขวางแรนซัมแวร์ก่อนการโจมตีและระบบนิเวศของแรนซัมแวร์ โดยบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก ทั้งในเชิงโต้ตอบและเชิงรุก
  3. ให้การสนับสนุนเมื่อเกิดกรณีการโจมตี โดยใช้เครือข่ายและศักยภาพของ INTERPOL ที่มีอยู่ทั่วโลก
  4. ให้การสนับสนุนหลังจากที่เกิดการโจมตีของแรนซัมแวร์ เพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัย ความคล่องตัว และการตอบสนองต่อภัยคุกคามให้สูงมากยิ่งขึ้น

การบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ยังต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากภาคเอกชน ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสำหรับการป้องกัน การตรวจจับ และการตอบสนองภัยคุกคามขั้นสูง รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้ค้นหาภัยคุกคามและการติดตามอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ  ต้องมีแนวการปฏิบัติและการฝึกอบรมที่ดีที่สุด ใช้ปัญญาประดิษฐ์และแมชชีนเลิร์นนิงเพื่อต่อสู้และตอบโต้ความซับซ้อนขององค์กรอาชญากรทางไซเบอร์ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้น

ที่มา: คอมมิวนิเคชั่น อาร์ต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ