วว. /พันธมิตร นำเสนอแพลตฟอร์มการตลาดสินค้าเกษตรไม้ดอกไม้ประดับ @มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564

พฤหัส ๒๕ พฤศจิกายน ๒๐๒๑ ๑๐:๐๘
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย  ดร.อนันต์  พิริยะภัทรกิจ นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. ร่วมเสวนาเรื่อง "แพลตฟอร์มการตลาดสินค้าเกษตรของไม้ดอกไม้ประดับ" และได้รับเกียรติจากพันธมิตรของ วว.ได้แก่ รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคุณภูเบศร์ เจษฎ์เมธี รองประธานสภาดอกไม้โลก ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และแชร์ประสบการณ์ร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการปลูกไม้ดอกไม้ประดับจากผู้ผลิต...สู่ตลาดการค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564  จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ณ ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์

ดร.อนันต์  พิริยะภัทรกิจ  กล่าวว่า  วว. มุ่งเน้นการทำงานเครือข่ายกับเกษตรกรในการปรับปรุงพันธุ์และการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ โดยใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมร่วมกับพันธมิตรบูรณาพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยไม้ดอกไม้ประดับ โดยประสบผลสำเร็จในการวิจัยพัฒนาแพลตฟอร์มจำนวน  4 แพลตฟอร์ม ได้แก่

Smart Farming  การพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิต ต้านทานโรคและแมลง ลดการใช้สารเคมี ตลอดจนคำนึงถึงคุณภาพ ปริมาณต้นทุนที่เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

Argro Product  ได้ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ ผลผลิตทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบตั้งต้นอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน GAP และออร์แกนิก

Agro Tourism  สนับสนุนการท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดภายใต้โครงการฯและจังหวัดอื่นๆ

Value Addition / Value Creation  ผลผลิตจากดอกไม้สามารถนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร สุขภาพและความงาม

รศ.ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ไม้ดอกไม้ประดับมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเรา ใน 3 กรอบใหญ่ ได้แก่ 1. เป็นสื่อแสดงความรู้สึก ในการแสดงความยินดี การแสดงความรัก และการแสดงความเสียใจ 2.เสริมสร้างสภาพแวดล้อม ช่วยให้เกิดความสดชื่น ช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อม และ 3.การประกอบอาชีพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้เราต้องมาช่วยกันสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพที่เกี่ยวข้องกับไม้ดอกไม้ประดับ ให้รู้จักว่าดอกไม้มีคุณค่าแท้จริงอย่างไร เป็นอาชีพที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร คนทำดอกไม้ แม่ค้า เป็นต้น

คุณภูเบศร์  เจษฎ์เมธี  รองประธานสภาดอกไม้โลก  กล่าวถึงแพลตฟอร์มการตลาดและการผลิตไม้ดอกไม้ประดับว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานคือ  ผู้บริโภคทั่วไป  ผู้บริโภคอื่น  ผู้จำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวการจัดไม้ดอกไม้ประดับ  ผู้จำหน่ายอุปกรณ์การผลิตไม้ดอก เกษตรกร  ผู้ค้าส่ง  ผู้ค้าปลีกและผู้ส่งออก  โดยหน่วยงานภาครัฐจะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับเพื่อสร้างความตระหนักและให้เห็นความสำคัญในการใช้ผลผลิตภายในประเทศมากขึ้น  มีการแลกเปลี่ยนความรู้  มีการสื่อสาร  การวางแผนการผลิต การซื้อขายทั่วไปและการซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ มีความมั่นคงและยั่งยืนในการประกอบอาชีพ เนื่องจากไม้ดอกไม้ประดับจะมีเทรนด์ในการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกทุกๆ 2 ปี  "Color of the year" ในปี 2022 เทรนด์จะเป็นสีเขียวและส้ม  ซึ่งเราต้องทันสมัย รู้เท่าทันสถานการณ์ เพื่อให้แข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการจาก   ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์  วว.  ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2577-9000  Email : [email protected]  เว็บไซต์  www.tistr.or.th

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ