UnionBank ได้เข้ามาบุกเบิกการคิดค้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาตลอดเพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อก้าวขึ้นเป็นธนาคารแห่งนวัตกรรมของฟิลิปปินส์ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของชาวฟิลิปปินส์ทุกหนทุกแห่งได้ดีที่สุด UnionBank ยึดมั่นกับพันธสัญญาในการมอบพลังขับเคลื่อนอนาคตของวงการธนาคาร ด้วยการร่วมสร้างนวัตกรรมให้ลูกค้าและเพื่อให้โลกนี้ดีกว่าเดิม
UnionBank กำลังยกระดับความเป็นดิจิทัลอย่างเจาะลึก ครอบคลุมทั้งโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย โครงสร้างองค์กร และรูปแบบการทำงาน ทุกวันนี้ข้อมูลมีปริมาณพรั่งพรูมหาศาลในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นหน้าที่ของศูนย์ข้อมูล (DC) ในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลอันมากมายเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบข้อมูลและระบบการผลิตแกนหลักขององค์กร ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจด้วย UnionBank เป็นเจ้าแรก ๆ ที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการสร้างสถาปัตยกรรม DC แบบใหม่ พร้อมส่งเสริมการพลิกโฉมเครือข่ายศูนย์ข้อมูล (DCN) ซึ่งจะให้คุณประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายที่คล่องตัวและน่าเชื่อถือมากขึ้น บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น และนวัตกรรมธุรกิจที่มีพลวัตกว่าเดิม
แต่เดิมนั้น UnionBank ใช้สถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลที่รองรับการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ (DR) แบบ active/standby ซึ่งสร้างขึ้นบนอุปกรณ์ที่ใช้อยู่เดิม อย่างไรก็ดี สถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบเก่านี้นำไปใช้จริงได้น้อยลง เนื่องจากบริการต่าง ๆ ของธนาคารได้ก้าวหน้าขึ้น โดยเกิดปัญหาท้าทายในเรื่องของความรวดเร็วและยืดหยุ่นในการปรับขนาด การใช้ระบบที่มีความคล่องตัว หรือระบบอัตโนมัติแบบ E2E ทั้งยังเผชิญกับความยากลำบากในการตอบสนองข้อกำหนดด้านนวัตกรรมบริการแบบคล่องตัว และเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ ทางธนาคารจำเป็นต้องสร้าง DCN อัจฉริยะแบบใหม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
UnionBank ได้พิจารณาและเปรียบเทียบอย่างรอบคอบ จนท้ายที่สุดก็ตัดสินใจร่วมมือกับหัวเว่ยในการสร้าง DCN อัจฉริยะ เนื่องจากหัวเว่ยมีจุดแข็งที่ไม่มีใครเทียบชั้นได้ ไม่ว่าจะในเรื่องของสถาปัตยกรรม DCN ที่รองรับกับอนาคต ความราบรื่นในการย้ายและยกระดับเครือข่าย ความเรียบง่ายและชาญฉลาดของระบบ O&M ของ DCN ไปจนถึงบริการสนับสนุนแบบเรียลไทม์ที่มุ่งแก้ไขปัญหาของลูกค้าอย่างตรงจุด
1. สถาปัตยกรรม DCN ที่รองรับกับอนาคต อำนวยความสะดวกในการย้ายและยกระดับเครือข่าย
โซลูชัน CloudFabric Autonomous Driving Network Solution สำหรับศูนย์ข้อมูลของหัวเว่ย ช่วย UnionBank ในการสร้างเครือข่ายศูนย์ข้อมูลชั้นนำระดับโลกที่รองรับกับอนาคต ซึ่งสร้างศูนย์ข้อมูลแบบ active-standby ขึ้นบนสถาปัตยกรรมแบบ spine-leaf ที่บริหารจัดการผ่านซอฟต์แวร์ (SDN) โดยใช้เทคโนโลยี VXLAN ขณะที่สร้างแหล่งรวมทรัพยากร N ขึ้นตามหมวดหมู่ของทรัพยากรนั้น และนำ iMaster NCE-Fabric มาใช้เพื่อวางระบบเครือข่ายอัตโนมัติและปรับขนาดอย่างยืดหยุ่น นอกจากนี้ ยังใช้ iMaster NCE-Fabric เพื่อบริหารจัดการไฟร์วอลและตัวกระจายโหลดจากเวนเดอร์เจ้าต่าง ๆ เพื่อมอบบริการมูลค่าเพิ่มตามกลุ่มทรัพยากรต่าง ๆ เช่น การรักษาความปลอดภัยและการกระจายโหลด
เมื่อว่ากันในเรื่องการย้ายและยกระดับเครือข่ายการผลิตของ UnionBank แล้ว กรอบเวลาในการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องตีให้แคบลง เพื่อรับรองความต่อเนื่องในการให้บริการของทางธนาคาร และลดผลกระทบที่การย้ายเครือข่ายมีต่อบริการลงให้เหลือน้อยที่สุด นี่เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ ซึ่งในการเอาชนะความท้าทายนี้ หัวเว่ยได้ออกแบบโซลูชันย้ายเครือข่ายที่ทั้งสะดวกและราบรื่นอย่างระมัดระวัง ทำได้ง่าย ๆ เพียง 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรกคือการสร้างเครือข่าย SDN ขึ้นใหม่ โดย iMaster NCE-Fabric มีหน้าที่หาและวางโครงร่างเครือข่ายเดิมเพื่อให้เครือข่ายเก่าและใหม่มีความสอดคล้องกัน สองคือการย้ายบริการระดับ Layer 2 ซึ่ง iMaster NCE-Fabric จะเข้ามาปรับปรุงโครงร่าง Layer 2 ของระบบเก่าและใหม่ และย้ายเซิร์ฟเวอร์ (เครื่องจริงและคอมพิวเตอร์เสมือน) โดยอัตโนมัติ ขั้นตอนที่สามคือการย้ายบริการระดับ Layer 3 ซึ่ง iMaster NCE-Fabric จะเข้ามาปรับปรุงโครงร่าง Layer 3 ของระบบเก่าและใหม่ และย้ายเกตเวย์ Layer 3 ไปยังเครือข่ายใหม่ ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนการย้ายบริการ ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือการรับรองความต่อเนื่องของบริการ โดย iMaster NCE-Fabric จะตรวจสอบการเชื่อมโยงของเครือข่าย เส้นทางบริการ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบบริการทั้งหมดทำงานได้เป็นปกติ
เมื่อย้ายเครือข่ายในช่วงเช้ามืดแล้ว หัวเว่ยก็ย้ายสถาปัตยกรรมเดิมของธนาคารไปอยู่ในสถาปัตยกรรม DCN ที่รองรับกับอนาคตได้เป็นผลสำเร็จ โดยไม่ต้องโรลแบคคอนฟิกหรือเกิดเหตุใด ๆ บนเครือข่าย
2. ระบบอัตโนมัติขั้นสูงแบบ E2E อำนวยความสะดวกในการจำลองเครือข่ายและประเมินการเปลี่ยนแปลง
เมื่อนวัตกรรมบริการแบบคล่องตัวได้รับความนิยมมากขึ้น ศูนย์ข้อมูลของ UnionBank จึงจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการบริการเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากบนเครือข่ายที่ทำงานหนักตลอดเวลา จากการที่มีบริการใหม่ ๆ และเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายเฉลี่ยปีละกว่า 3000 รายการ ในการแก้ไขปัญหานี้ วิศวกรเครือข่ายจำเป็นต้องใช้เวลาที่ตัวเองมีกว่าครึ่งหนึ่งไปกับการปรับเครือข่ายให้สอดรับกับบริการใหม่และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้ว การเปลี่ยนเครือข่ายจะอาศัยการออกแบบโซลูชันการเปลี่ยนแปลงตามประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ ประเมินการเปลี่ยนแปลง นำโซลูชันมาใช้งาน และตรวจสอบผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี สิ่งนี้ไม่ได้ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการเปลี่ยน เนื่องจากเครือข่ายขยายขนาดและมีความซับซ้อนมากขึ้นตลอดเวลา
iMaster NCE-Fabric ช่วยรับมือปัญหาทั้งหมดนี้ได้ โดยเข้ามาสร้างและจำลองแบบ เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอย่างอัตโนมัติ ดำเนินการเปลี่ยนแปลง และตรวจสอบผลลัพธ์หลังเปลี่ยนไปแล้ว เพื่อให้เปลี่ยนส่วนต่าง ๆ บนเครือข่ายได้อย่างไม่มีข้อผิดพลาดและตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ ลูกค้ายังสร้างคำสั่งให้ตรวจสอบติดตามต่อเนื่องบน iMaster NCE-Fabric ได้ด้วย เพื่อรับรองว่าบริการของตนจะต่อเนื่องตลอดเวลา
3. ระบบ O&M อัจฉริยะพลัง AI แบบ "1-3-5" พลิกโฉมวิธีใช้งานและบำรุงรักษาเครือข่ายศูนย์ข้อมูล
เพื่อยกระดับประสบการณ์และประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า UnionBank ได้เปิดให้บริการลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้ารับบริการทางการเงินคุณภาพสูงได้อย่างสะดวกง่ายดายจากที่บ้าน และเมื่อบริการดังกล่าวได้รับความนิยมมากขึ้น ลูกค้าหลายคนก็เริ่มเข้าระบบไม่ได้บ่อยครั้งขึ้น จอค้างมากขึ้น ก่อให้เกิดความไม่พอใจตามมา ทางธนาคารจึงได้เริ่มหาจุดผิดพลาดบน DCN ของตน อย่างไรก็ดี การตรวจจับค่า Jitter ที่ทำให้เครือข่ายล่าช้าและหาการสูญเสียแพ็คเก็ตในรูปแบบการทำ O&M ทั่วไปที่ต้องลงมือทำเองและต้องพึ่งพาประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเป็นส่วนใหญ่นั้นได้กลายเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ การหาจุดผิดพลาดยังกินเวลาและแรงงาน เนื่องจากวิศวกรจำเป็นต้องหาแพ็คเก็ตในแต่ละโหนดเพื่อใช้หาจุดผิดพลาดนั้น ทั้งหมดนี้ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจน้อยลง
โซลูชัน iMaster NCE-FabricInsight ของหัวเว่ยเข้ามาช่วยในจุดนี้ได้ ด้วยการนำ AI มาใช้ในการทำ O&M บนเครือข่ายศูนย์ข้อมูล เพื่อช่วยให้ UnionBank ทำ O&M บนเครือข่ายศูนย์ข้อมูลได้อย่างชาญฉลาดในทุกสถานการณ์ เช่น เปิดโอกาสให้ติดตาม KPI ที่วัดและส่งข้อมูลทางไกลได้ในเวลาไม่กี่วินาที สร้างระบบประเมินสถานะเครือข่ายเรียลไทม์แบบ 5 มิติ ซึ่งมิติเหล่านี้ได้แก่อุปกรณ์ เครือข่าย โปรโตคอล โอเวอร์เลย์ และบริการ นอกจากนี้ iMaster NCE-FabricInsight ยังงัดใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ด้าน O&M ที่หัวเว่ยสั่งสมมากว่า 30 ปี รวมถึงตัวอย่างข้อมูลหลายสิบล้านรายการ ทำให้โซลูชันนี้หาความสัมพันธ์กันระหว่างวัตถุต่าง ๆ ในเครือข่ายได้ และกำหนดกฎการแผ่กระจายของข้อผิดพลาดได้จากการทำเหมืองข้อมูลและสร้างแบบจำลอง ส่งผลให้ตรวจจับข้อผิดพลาดที่พบได้ทั่วไปได้อย่างแม่นยำถึง 75 ประเภทในเวลาเพียงนาทีเดียว โดยหาตำแหน่งได้ใน 3 นาที และแก้ไขได้ในเวลา 5 นาทีเท่านั้น มากไปกว่านั้น iMaster NCE-FabricInsight ยังเข้ามายกระดับระบบ O&M แบบตั้งรับ เป็นระบบ O&M แบบรุกที่สอดรับกับอนาคตด้วย ช่วยให้วิศวกรเครือข่ายไม่ต้องเสียเวลาไปกับระบบ DCN O&M แบบตั้งรับที่ต้องเสียเวลาลงมือเอง ทั้งหมดนี้ช่วยให้ UnionBank เพิ่มประสิทธิภาพในการทำ DCN O&M ได้ถึงขีดสุด
เครือข่ายศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น โดย UnionBank ยังคงเดินหน้าผลักดันขีดจำกัดเดิม ๆ ในการยกระดับสู่ความเป็นดิจิทัล ด้วยการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์แบบเสมือนจริงเพื่อสร้าง Innovation Campus ซึ่งเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนการริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ของทางสถาบัน แคมปัสแห่งนี้ยังเป็นศูนย์กลางสำหรับเทคโนโลยีบล็อกเชน AI และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาพลิกวิถีชีวิตของทุกคน ทั้งนี้ หัวเว่ยหวังที่จะร่วมมือกับ UnionBank ในสาขาใหม่ ๆ และช่วย UnionBank ยกระดับสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างลงลึก
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1701884/image.jpg