สำหรับเงินเฟ้อสหรัฐฯเดือน พ.ย. ยังสูง นำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น โดยเงินเฟ้อ (CPI) เดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ +6.8% YoY และ +0.5% MoM จากราคาพลังงาน (Energy) ที่ยังสูงต่อเนื่อง +33.3% YoY และ +3.5% MoM เป็นปัจจัยที่ยังสร้างความกังวลว่าอาจส่งผลลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (Stagflation) และนำไปสู่การปรับมุมมองของตลาด ให้น้ำหนักการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นในการประชุม FOMC วันที่ 14-15 ธ.ค. และจาก CME Fed Watch Tool ล่าสุดก็ให้น้ำหนักการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 1 ครั้ง ในการประชุมเดือน มิ.ย.ที่โอกาส 79.2%
ในทางกลับกันก็สะท้อนภาพที่แข็งแกร่งในหลายอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าเงินเฟ้อที่สูงจากราคาพลังงานซึ่งถือเป็นต้นทุนหลักในภาคการผลิต จะเป็นปัจจัยถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่หากพิจารณาลงในรายละเอียดจะพบว่า มีแรงขับเคลื่อนด้านอุปสงค์ (Demand) กลับมาช่วยหนุนในหลายอุตสาหกรรม และอาจเป็นสัญญาณบวกต่อธุรกิจของไทยที่มีลักษณะเดียวกันหรือเกี่ยวข้องให้มีโอกาสฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน นำโดย 1) ค่าตั๋วเครื่องบิน (Airline fares) +4.7% MoM 2) การใช้บริการขนส่ง (Transportation services) เร่งตัวมากที่สุดในรอบ 5 เดือน +0.7 MoM ซึ่งมาจาการปรับตัวขึ้นของ ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน ค่าธรรมเนียมการใช้บริการขนส่งภายในเมือง (Intracity) สะท้อนความต้องการการใช้ชีวิตนอกบ้าน ท่องเที่ยว จับจ่ายใช้สอย การเดินทาง
สำหรับความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจน่าจะกลับมามีความชัดเจนมากขึ้น หลังความกังวลต่อปัจจัยลบต่างๆผ่อนคลายลง (ความเสี่ยง Omicron, ภาวะเงินเฟ้อจากด้านต้นทุน) หนุนให้หุ้นวัฎจักรกลับมามีความน่าสนใจ และเป็นเป้าหมายการเข้าซื้อของกระแสเงินลงทุน มีโอกาสที่จะ Outperform ในภาวะที่ตลาดที่ยังมีความกังวลต่อภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นที่น่าจะเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม
Top Picks:
-KBANK TTB: "Rate Hike Shelter" ดอกเบี้ยขาขึ้นและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว
-CPN: "Demand" การบริโภค การใช้ชีวิตนอกบ้าน เร่งตัวช่วง 4Q64
-SPRC: "Supply" อุปทานจากจีนตึงตัว กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้น
-WICE: "Inventory" ช่วงผู้ประกอบการ restocking inventory cycle
ที่มา: บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)