วิศวะมหิดล ต้อนรับ นายทหารชั้นนายพลของกองทัพไทย รุ่นที่ 46 เยี่ยมชมเทคโนโลยีวิศวกรรมอันก้าวหน้า

พฤหัส ๑๖ ธันวาคม ๒๐๒๑ ๑๐:๒๒
โลกที่กำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมท่ามกลางวิกฤติและอุปสรรคนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี ให้การต้อนรับการศึกษาดูงานของเหล่านายทหารระดับสูง นำโดย พลโท โสภณ ศิริงาม เสนาธิการ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และผู้อำนวยการจัดการอบรมการปฐมนิเทศนายทหารชั้นนายพลของกองทัพไทย ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานวิศวกรรมและเทคโนโลยี กว่า 100 คน และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและศูนย์วิจัยที่ก้าวล้ำ พร้อมหารือความร่วมมือการศึกษาวิจัย ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โลกที่กำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมท่ามกลางวิกฤติและอุปสรรคนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง คนไทยทุกแวดวงต้องเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง และเตรียมพร้อมที่จะก้าวไปกับวิถีใหม่และอนาคต ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รู้สึกยินดีที่ได้พบปะนายทหารซึ่งเป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความก้าวหน้าแก่กองทัพและสังคมประเทศชาติ เป็นโอกาสอันดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชมการดำเนินงานของคณะวิศวะมหิดล และห้องปฏิบัติการวิจัยของภาควิชาต่างๆเพื่อศึกษาวิจัยและต่อยอดนวัตกรรม ส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างมูลค่าเพิ่มและตอบโจทย์แก่สังคมและเศรษฐกิจ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม และ ห้องปฏิบัติการกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ พร้อมทั้งหารือแนวทางในการสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัยพัฒนาร่วมกันต่อไป

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็น World-Class Engineering และเพิ่งผ่านการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษามาตรฐานโลกจาก Accreditation Board for Engineering and Technology หรือ ABET สหรัฐอเมริกา ในเบื้องต้นถึง 6 หลักสูตรแล้วนั้น มุ่งมั่นสร้างงานวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนที่ส่งเสริมเยาวชนและนักวิจัยสู่ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ครบครันห้องปฏิบัติการและศูนย์วิจัยของภาควิชาต่างๆ พร้อม Eco-System ที่กระตุ้นการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และบ่มเพาะวิศวกรแห่งอนาคต อาทิ 1. Innogineer Studio เปรียบเสมือนเวิร์คช็อป เครื่องมือไฮเทคที่เปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีและเมคเกอร์สามารถเข้ามาทำโปรเจคต่างๆ บ่มเพาะสตาร์ทอัพ สร้างชิ้นงานและต้นแบบจากความคิดสร้างสรรค์จากความฝันสู่ความเป็นจริง 2. Innogineer BAY ศูนย์ฝึกหัดด้านหุ่นยนต์และระบบ AI ที่ทันสมัยระดับโลก 3. BART LAB ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์  4.BCI LAB ห้องปฏิบัติการเชื่อมต่อสัญญาณสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interface Lab) 5.ศูนย์ทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือการแพทย์ (Biocompatibility Testing of Medical Device Lab)  6.ศูนย์ LogHealth ศึกษาวิจัยและออกแบบพัฒนาระบบโลจิสติกส์โรงพยาบาล และดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภาคสาธารณสุขของประเทศ (HealthCare Logistics Big Data) 7. FlexLab ห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมอุตสาหการ 8. Digital Forensics Lab ศูนย์แกะรอยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

 

 

ที่มา: บริษัท เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ