ดีอีเอส ประกาศหนุนการจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ

พฤหัส ๑๖ ธันวาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๒๑
ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ หนุนวาระขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ย้ำความสำคัญเรื่องการจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ เผยผลงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 2 ปีที่ผ่านมา พบเฟคนิวส์ข่าวหมวดสุขภาพที่เข้าเกณฑ์ตรวจสอบ 6,704 เรื่อง

นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในโอกาสร่วมเปิดการประชุมและรับรองระเบียบวาระสมัชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564 ว่า กระทรวงดิจิทัลฯ และคณะกรรมการจัดการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 มีบทบาทร่วมกันในการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในประเด็น การจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ

ทั้งนี้ การสื่อสารในภาวะวิกฤตสุขภาพ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นการสื่อสารที่สร้างความสับสนในสังคม เช่น ข่าวลวง ข่าวปลอมและการบิดเบือนข้อเท็จจริง ที่สร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อการสื่อสารและล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงดิจิทัลฯ มีหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบ วิเคราะห์ และรับแจ้งเบาะแสข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอไม่ตรงข้อเท็จจริงที่ถูกเผยแพร่อยู่ในสังคม และนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องให้ทุกหน่วยงาน รวมถึงภาคประชาชนรับทราบโดยตรงอย่างทันท่วงที

โดยนับตั้งแต่จัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 62 ปัจจุบันพบเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ในหมวดข่าวสุขภาพ จำนวนรวม 6,704 เรื่อง (อัพเดท ณ วันที่ 30 พ.ย. 64)

"เราขอสนับสนุนร่างมติระเบียบวาระการจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ

ในทุกประเด็น โดยเฉพาะในข้อ 3 เรื่องการสื่อสารในภาวะวิกฤตอย่างมีส่วนร่วมที่ครอบคลุม

และทั่วถึง และข้อ 6 เรื่องการให้ความสำคัญกับการกำกับทิศทาง และความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารวิกฤตสุขภาพในสังคม โดยบังคับใช้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม เป็นธรรม รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์" นางสาวชมภารีกล่าว

โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเฝ้าระวัง จัดการกับข่าวลวง ข่าวปลอม และการบิดเบือน ที่สร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อการสื่อสารของภาครัฐ และการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในสังคม ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานและช่องทางรับข้อมูลจากประชาชน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันด้วย

นางสาวชมภารี กล่าวว่า นอกจากนี้ต้องสร้างให้เกิดความเข้าใจ ในกระบวนการตรวจสอบข่าวปลอมได้ด้วยตนเอง วิธีเช็คแหล่งที่มา วิธีสังเกต การพาดหัวข้อข่าว การแจ้งเบาะแสให้กับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี การชี้แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบอย่างรวดเร็วกรณีปัญหาข่าวปลอม ในสื่อต่างๆ เน้นความรวดเร็ว และทุกจังหวัดอาจต้องเตรียมพร้อมในการจัดให้มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมจังหวัด เพื่อตรวจสอบข่าวปลอม ที่เกี่ยวข้องและต้องมีการชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบ

ขณะเดียวกัน กระทรวงดิจิทัลฯ มีแผนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่มุ่งเน้นสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันปัญหาข่าวปลอมให้กับประชาชน และสร้างเครือข่ายสนับสนุนการขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและประชาชน

ที่มา: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย