จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน นำทีมจัดประชุมแนวทางรับมือวิกฤตวัณโรค เดินหน้าผลักดันนวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อดูแลผู้ป่วยในเอเชียแปซิฟิก

ศุกร์ ๑๗ ธันวาคม ๒๐๒๑ ๑๑:๕๐
จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน พร้อมด้วยบรรดาผู้ให้การสนับสนุนและผู้เชี่ยวชาญ ได้มารวมตัวกันเพื่อหารือแนวทางรับมือวิกฤตวัณโรคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ( WHO) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก

ในวันที่ 30 พฤศจิกายน และ 7 ธันวาคม จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) พร้อมด้วยบุคลากรจากกองควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (National Tuberculosis Program) จากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ได้จัดการประชุมสถานการณ์วัณโรคประจำเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความก้าวหน้าในการยุติโรควัณโรคในภูมิภาค เนื่องจากถึงแม้โรคดังกล่าวจะป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ แต่วัณโรคยังคงเป็นโรคติดเชื้อที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับต้น ๆ ในเอเชียแปซิฟิก

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นทางออนไลน์เป็นเวลา 2 วันภายใต้หัวข้อ United Against TB (รวมพลังสู้วัณโรค) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเกือบ 500 ราย ไม่ว่าจะเป็นบรรดาผู้นำ ผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานเอ็นจีโอ และแพทย์จากหลายประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ วิทยากรจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ได้ร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ตลอดจนองค์ความรู้ ความท้าทาย และคำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งทุกประเทศมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งตั้งเป้าที่จะกำจัดวัณโรคให้หมดไปจากโลกใบนี้ภายในปี 2573

ประเด็นหลักในการหารือครั้งนี้คือการพัฒนาการติดตามเคสผู้ป่วยใหม่ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่หนักหนาเป็นอันดับต้น ๆ ในการต่อสู้กับวัณโรค เนื่องจากในเอเชียแปซิฟิก อัตราการป่วยเป็นโรควัณโรคอยู่ที่ราว 6.1 ล้านคนในปี 2563 แต่มีการแจ้งยอดผู้ป่วยเพียง 3.9 ล้านคนเท่านั้น[1] นอกจากนี้ ประเทศสมาชิก WHO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นกลุ่มประเทศที่รับภาระด้านวัณโรคหนักมากที่สุดในโลก โดยมียอดผู้ป่วยใหม่สูงสุดถึง 43% จากจำนวนผู้ป่วยใหม่ทั่วโลกในปี 2563[2] ขณะเดียวกันยังมีรายงานว่า ผู้ป่วยวัณโรค 4 ใน 10 รายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือแม้กระทั่งไม่ได้รับการรักษา[3] ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่บั่นทอนกำลังของระบบสาธารณสุขซึ่งรับภาระหนักจากโควิด-19 อยู่ด้วยแล้ว ด้วยเหตุดังกล่าว ตัวเลขของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคในประเทศที่มีอัตราการรักษาต่ำอยู่แล้วนั้นจึงทรุดหนักลงไปอีก แตะระดับเดียวกับปี 2551 ถือเป็นอุปสรรคที่สกัดความก้าวหน้าของเป้าหมายที่จะขจัดวัณโรคให้หมดไป[4]

อานา-มาเรีย โยเนสคู หัวหน้าสาขาวัณโรคระดับโลกแห่งสถาบันจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน โกลบอล พับบลิค เฮลธ์ กล่าวเกี่ยวกับการประชุมนี้ว่า "การประชุมครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง และนวัตกรรมของชุมชนวัณโรคและแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาระดับการช่วยชีวิตผู้ป่วย ตลอดจนความต่อเนื่องของบริการด้านการรักษาซึ่งจำเป็นต่อผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมาก พร้อมลดผลกระทบในเชิงลบที่เป็นผลพวงจากโควิด-19 จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มุ่งมั่นที่จะปลดล็อกนวัตกรรมในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และในระดับโลก เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่ยังตกค้างและไม่ได้รับการรักษา ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่เรามีร่วมกัน นั่นคือการขจัดวัณโรคให้หมดไป"

ในการกำหนดแผนงานเพื่อสร้างกลยุทธ์ในการค้นหาผู้ป่วยใหม่ในอนาคต การประชุมครั้งนี้จึงได้เน้นหารือเกี่ยวกับการยกระดับการคิดเชิงนวัตกรรม เทคโนโลยี และความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อเร่งนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้งานจริงในชุมชน

  • การปรับปรุงอัตราการแจ้งเตือนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญ โดยเรียกร้องให้เพิ่มความเข้มข้นในการค้นหาเคสผู้ป่วยใหม่ทั้งภายในระบบการแพทย์ หรือนอกเหนือจากระบบ
  • การถอดบทเรียนจากการรับมือวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพระดับโลกอื่น ๆ อาทิ โควิด-19 และเอชไอวี เพื่อนำมาใช้ยกระดับการรับมือกับการรักษาวัณโรค
  • เทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถช่วยสนับสนุนและรับมือกับอาการของผู้ป่วยวัณโรคในแต่ละระยะ ตั้งแต่การใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อปรับปรุงอัตราการแจ้งเตือนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีเอกซเรย์ล่าสุดและการวินิจฉัยระดับโมเลกุลไปใช้ยกระดับการวินิจฉัยวัณโรคในระยะเริ่มต้น และช่วยสร้างหลักประกันว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในส่วนนี้ Telehealth หรือบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการควบคุมและป้องกันวัณโรค
  • ส่งเสริมความร่วมมือทางกลยุทธ์ระหว่างภาครัฐกับเอกชน และขยายความร่วมมือไปยังผู้มีส่วนร่วมกลุ่มอื่น ๆ อาทิ หน่วยงานท้องถิ่น เอเจนซี องค์กรทางสังคม และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลด้านวัณโรค เพื่อขจัดโรคนี้ให้หมดสิ้นไป
  • ความร่วมมือด้านนวัตกรรมควรจะต้องได้รับการผลักดันไปให้ไกลกว่าเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
    • การจับมือเป็นพันธมิตรระหว่างซีอาน แจนส์เซน ฟาร์มาซูติคอล (Xian Janssen Pharmaceutical) และเทนเซ็นต์ ในประเทศจีน เพื่อร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มผู้ป่วยวัณโรคกลุ่มที่มีภาวะดื้อยา เพื่อมอบบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม
    • สนับสนุนมูลนิธิ MTV Staying Alive Foundation ในอินเดียในโครงการ "สาระความรู้คู่ความบันเทิง" เพื่อสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่เด็ก ๆ และ
    • จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ร่วมมือกับโครงการ PATH on Breath for Life (B4L) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มในปี 2559 ที่มีเป้าหมายเพื่อเร่งการตรวจหาผู้ป่วยวัณโรคในเด็ก ตลอดจนแนวทางการรักษาและป้องกันโรค โดยอาศัยระบบการแพทย์ที่มีความแข็งแกร่งในจังหวัดเงียอาน ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบททางตอนเหนือของเวียดนาม
  • ปัญหาด้านการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติกับผู้ป่วยวัณโรคเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายประสิทธิภาพในการค้นหาและวินิจฉัยโรคในกลุ่มผู้ป่วยใหม่มาอย่างยาวนาน ฉะนั้น การสื่อสารข้อมูลความรู้ทางการแพทย์กับผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัว และชุมชน ไม่ว่าจะทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อสร้างบรรยากาศในการรักษาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Ending Workplace TB (ถึงเวลายุติปัญหาวัณโรค) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มที่มีจุดประสงค์เพื่อผลักดันภาคเอกชนในการเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเอาชนะวัณโรค ด้วยการงัดใช้ประโยชน์จากศักยภาพของธุรกิจทั่วโลกเพื่อให้เข้าถึงแรงงานและชุมชนหลายล้านคนได้

ภายในการประชุมยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนเยาวชนให้มีส่วนร่วมกับการยุติวัณโรค ทั้งนี้ คนหนุ่มสาวที่มีอายุตั้งแต่ 15-34 ปีได้รับผลกระทบจากวัณโรคในสัดส่วนที่มากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นกลุ่มอายุที่รับภาระจากโรคดังกล่าวหนักที่สุด[5] จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ตระหนักดีว่า ก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จคือการผลักดันคนหนุ่มสาวเหล่านี้ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในความพยายามของแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ และริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ที่จะผลักดันให้เยาวชนเป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แจคกี แฮทฟิลด์ หัวหน้าพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ด้านวัณโรคของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กล่าวว่า "เพื่อสร้างหลักประกันว่าจะไม่มีเยาวชนคนไหนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เราจะต้องมองว่าเยาวชนทุกคนคือตัวแทนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในการรับมือกับปัญหาเกี่ยวกับวัณโรค อาทิ ช่องว่างระหว่างความตระหนักและการเข้าถึง รวมถึงการเผชิญหน้ากับปัญหาการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ เราตั้งตารอที่จะยกระดับการมีส่วนร่วมกับเยาวชน เพื่อส่งเสียงของพวกเขาเพื่อยุติวัณโรค"

คลิกที่นี่เพื่อรับชมคำพูดของวิทยากรจากแต่ละพื้นที่

[1] Tuberculosis profile: WHO Western Pacific Region and South-East Asia Region.
[2] World Health Organisation (2021). Global Tuberculosis Report.
[3] Stop TB Partnership. The Missing 3 Million.
[4] Stop TB Partnership (2021) One year on, new data show global impact of COVID-19 on TB epidemic is worse than expected.
[5] World Health Organization. Mobilizing youth to end TB.



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version