AIS 5G ผนึก สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย พร้อมพันธมิตร เลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ - ยาวาต้า โชว์ศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะสู่ Smart Factory ใช้งานได้จริงแล้ววันนี้

พฤหัส ๒๓ ธันวาคม ๒๐๒๑ ๑๑:๕๓
หลังจากที่ AIS 5G Business ได้ เปิดตัวบริการและโซลูชั่นที่พร้อมให้บริการและเชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรม รวมถึงโรงงานภาคการผลิต ด้วยการจับมือกับพันธมิตรที่หลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อผลักดันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้มีส่วนสำคัญต่อการเสริมขีดความสามารถในทุกกระบวนการทำงาน ล่าสุดได้จับมือกับ สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) ร่วมกันส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการไทยโดยการพัฒนาโซลูชั่นบนเครือข่ายและแพลตฟอร์ม 5G ปลดล็อกขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันกับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ตอบโจทย์การพัฒนา Industry 4.0 ของไทย โดยมีความสำเร็จของ บริษัทผู้ประกอบการสัญชาติไทยชั้นนำในอุตสาหกรรมอย่าง บริษัท เลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ ผู้ให้บริการโซลูชันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม ที่ได้พัฒนาโซลูชันมาใช้งานจริงบนแพลตฟอร์ม AIS 5G Private Network แล้ววันนี้ ในโรงงานผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้าของ บริษัท ยาวาต้า จำกัด ที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นการยกระดับการทำงานภายในโรงงานสู่ Smart Factory ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยถือเป็นการขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ ฝีมือคนไทย ที่พร้อมขยายการให้บริการและสร้างการเปลี่ยนแปลงในโลกอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศรองรับโอกาสและการเติบโตในอนาคต

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS อธิบายว่า "เราเห็นโอกาสของการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้วยการเป็น 5G Industrial Solutions ซึ่งที่ผ่านมาเราได้ทุ่มเทสรรพกำลังในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของโครงข่าย 5G ด้วยเป้าหมายสำคัญในการนำโครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G เข้าเชื่อมต่อและส่งเสริมการดำเนินงานในภาคส่วนต่างๆ เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการเติบโตของประเทศในอนาคต ซึ่งวันนี้เรามีความพร้อมในการพาภาคอุตสาหกรรมไทยในทุกกลุ่มเข้าสู่โลกของ 5G Industrial Solutions

จากการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในหลายแขนงอย่างต่อเนื่อง วันนี้เป็นอีกครั้งสำคัญที่เราได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย ที่มีพันธกิจตรงกันในการร่วมพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย ในการพัฒนาโซลูชันให้กับภาคอุตสาหกรรม และผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยในวันนี้ เราเห็นผลที่ชัดเจนจากการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโซลูชั่นในโรงงานอุตสาหกรรม ในการผลักดันโซลูชันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นจริง บนแพลตฟอร์ม 5G Private Network ซึ่งเป็นบริการเครือข่ายส่วนตัวสำหรับการใช้งานเฉพาะภายในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม และสามารถทำ Network Slicing เพื่อจัดสรรทรัพยากร ทำให้เกิดคุณสมบัติทางเครือข่ายรองรับความต้องการเฉพาะของแอพพลิเคชั่น เช่น ความเร็ว หรือความหน่วงต่ำ ซึ่งการออกแบบเครือข่ายเฉพาะนี้ ยังช่วยให้การเชื่อมต่อข้อมูลเป็นส่วนตัว แม้จะใช้เครือข่ายแบบไร้สาย ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลมีความคล่องตัว มีความหน่วงในการทำงานต่ำ และมีความปลอดภัยของข้อมูลสูง จึงเป็นการตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำในตลาดลูกค้าองค์กรและกลุ่มอุตสาหกรรมของ AIS ซึ่งเราเชื่อว่าการทำงานร่วมกันในครั้งนี้จะช่วยทำให้ Ecosystem ของผู้ประกอบการไทย มีศักยภาพพร้อมรับโอกาสและการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต"

ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายต่อไปอีกว่า "ที่ผ่านมาสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทยได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยมีภารกิจสำคัญในการสนับสนุนผู้ประกอบการ ในการวิจัย พัฒนาจนถึงการต่อยอดความร่วมมือเชิงพาณิชย์ และส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเห็นความสำคัญของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่จะมาทำให้ขีดความสามารถในโรงงานภาคการผลิตมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และในครั้งนี้เรายินดีที่ได้ร่วมมือกับ AIS ที่เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีโครงข่ายและมีเป้าหมายเดียวกันในการยกระดับศักยภาพของกลุ่มผู้ประกอบการโรงงานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ก้าวทันโลกของเทคโนโลยีด้วยโซลูชั่นและระบบการทำงานอัตโนมัติรวมถึงหุ่นยนต์ ที่จะมาช่วยให้กระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ภายในโรงงานเกิดประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้น

วันนี้ ผู้ประกอบการไทยในสมาคมได้ทำการวิจัย ค้นคว้า พัฒนา ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์และโซลูชันที่ตอบโจทย์การทำงานของโรงงานผลิตที่หลากหลาย ซึ่งแน่นอนว่าเครือข่าย 5G ที่ AIS ได้พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริงแล้วในเชิงพาณิชย์ ผ่านการทำงานร่วมกับ เลิศวิลัย ที่ได้นำโซลูชั่นเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตของโรงงานยาวาต้าที่ทำงานบนเครือข่าย 5G จึงนับว่าเป็นก้าวสำคัญของวงการอุตสาหกรรมไทยที่จะเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เดินหน้าแข่งขันในตลาดโลกต่อไป"

บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) เป็นบริษัทผู้ผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งดำเนินธุรกิจมากว่า 50 ปี ซึ่งบริษัทปรับเปลี่ยนตัวเองตลอด โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ ลดต้นทุน ลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่โรงงาน และการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรโดยการใช้เทคโนโลยีและ 5G นี้ ยังได้เข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีนิติบุคคล 100% ของวงเงินการปรับปรุงเป็นเวลา 3 ปี ตามมาตรการสนับสนุนจาก BOI ด้วย

ทางด้าน ดร.กุลฉัตร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ผู้จัดการแผนกวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในโรงงาน จาก บริษัทเลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ กล่าวต่อไปอีกว่า "เรารู้สึกตื่นเต้นที่วันนี้โซลูชั่นที่เกิดจากการพัฒนาโดยการสนับสนุนและทำงานร่วมกันจากทางสมาคม และ AIS ได้เกิดการใช้งานจริงภายในโรงงานของยาวาต้า ซึ่งเป็นโรงงานผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้าที่มีกระบวนการผลิตค่อนข้างซับซ้อนในการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบแต่ละจุด จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าระบบ Autonomous Mobile Robots หรือ AMRs ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ขนย้ายสินค้าอัตโนมัติซึ่งต้องเคลื่อนที่อย่างอิสระในพื้นที่ทั้งหมดของโรงงานโดยไม่มีเส้นนำทางบนพื้นเหมือนระบบเก่า จึงต้องการการเชื่อมต่อไร้สายที่เสถียร มีความหน่วงต่ำ มีความปลอดภัยสำหรับการรับส่งข้อมูล และมีพื้นที่ครอบคลุมอย่างแท้จริงในโรงงาน เมื่อนำมาใช้กับ AIS 5G Private Network ก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความแม่นยำในการสั่งการ สามารถเพิ่ม Productivity ได้ตามเป้าหมายการเป็น Smart Factory เต็มรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาโซลูชั่น Smart Factory ซึ่งทุกองค์ประกอบ เช่น Robotics, AMR และ PLC ของระบบ IIoT จะต้องเชื่อมต่อกันผ่าน OT, IT และ Cloud ในรูปแบบ Everything Connected เพื่อเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมไทยให้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มศักยภาพของการทำงานมากยิ่งขึ้นได้"

ที่มา: เอไอเอส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๖ MEDEZE ต้อนรับสถาบันนักลงทุน CSI เยี่ยมชมบริษัท
๑๓:๔๙ บริษัท อินเตอร์ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด รับประกาศนียบัตร เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประจำปี 2567
๑๓:๔๓ AJA จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ผถห. โหวตผ่านทุกวาระ พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์ใหม่ รีแบรนด์ AJ EV BIKE สู่
๑๓:๕๑ SCAP ตั้งเป้าระดมทุนโดยการขายหุ้นกู้1,600 ล้านบาท ชูดอกเบี้ยสูงสุด 5.05% ต่อปี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB เปิดขายวันที่ 31 ม.ค. และ 3-4 ก.พ.
๑๒:๐๐ สกสว. - สวทช. รุกปั้นกลุ่ม ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม หนุนระบบบุคลากร
๑๒:๑๕ HMD ประเทศไทย เปิดแผนธุรกิจปี 68 ย้ำมุ่งพัฒนาสมาร์ทโฟนคุณภาพ ด้วยปรัชญา ใช้งานปลอดภัย ไว้ใจได้ ด้วยราคาเข้าถึงง่าย
๑๑:๑๒ VEHHA Hua Hin คว้า Fitwel มาตรฐานคอนโดระดับโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตระยะยาว ต่อยอดจุดแข็งสู่ที่สุดของความครบครัน
๑๑:๐๐ ttb reserve มอบประสบการณ์ใหม่เหนือระดับเพื่อลูกค้าคนสำคัญ
๑๑:๓๙ ศิลปะจักสานหลินซู ภูมิปัญญาโบราณสู่ตลาดโลก
๑๑:๐๐ ฉลองครบ 10 ปี HOUSE OF LITTLEBUNNY กระเป๋าแบรนด์ไทย จากกระต่ายน้อยตัวเล็ก เติบโตสู่ตลาดอินเตอร์ จัดแฟชั่นโชว์ยิ่งใหญ่