สำหรับรางวัลดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียน และองค์กรธุรกิจที่เป็นสมาชิกของ SDC ตระหนักถึงความสำคัญกับการเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือ ประเด็นด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน ซึ่งแสดงถึงความยั่งยืนของธุรกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ และการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ร่วมกัน
โดยการมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ในปี 2564 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทรางวัล ได้แก่ Sustainability Disclosure Award มีองค์กรที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณ จำนวน 40 แห่ง Sustainability Disclosure Recognition มีองค์กรที่ได้รับประกาศเกียรติคุณ จำนวน 45 แห่ง และ Sustainability Disclosure Acknowledgement มีองค์กรที่ได้รับกิตติกรรมประกาศ จำนวน 20 แห่ง ตามลำดับ
ทั้งนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้คัดเลือกบริษัทที่ได้รับรางวัล โดยพิจารณาจากข้อมูลความยั่งยืนที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ อาทิ รายงานแห่งความยั่งยืน หรือรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมบูรณาการในรายงานประจำปี หรือรายงานในรูปแบบอื่น ทั้งที่เป็นรูปเล่มรายงาน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ อินโฟกราฟิก ฯลฯ โดยไม่ใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใดๆ เพิ่มเติม
"การได้รับรางวัลนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของ บี.กริม ที่ส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability) ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ตลอดจนการบริหารห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) อย่างรับผิดชอบ และคำนึงถึงผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจกว่า 143 ปีในประเทศไทย ตามวิสัยทัศน์ของ บี.กริม เพาเวอร์ ที่มุ่งสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี (Empowering the World Compassionately) โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจด้วยความโอบอ้อมอารี เพื่อสร้างคุณค่าให้กับสังคม พร้อมเติบโตเคียงคู่ไปกับประเทศไทย" ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าว
ที่มา: บี.กริม เพาเวอร์