สมาคมผู้ค้าปลีกไทย พร้อมสู้โอมิครอน ร่วมกับภาครัฐ ชู 5 แนวทางปฏิบัติ เพื่อผลักดัน และพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย

อังคาร ๐๔ มกราคม ๒๐๒๒ ๑๑:๒๓
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโอมิครอนที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ และจากการศึกษาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโอมิครอนพบว่าโอกาสของการติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าโควิดสายพันธุ์อื่นๆ โดยประเทศไทยเองก็ได้มีการแพร่กระจายไปยัง 47 จังหวัดทั่วประเทศไทย สมาคมผู้ค้าปลีกไทย จึงมีความกังวล ต่อแนวโน้มของจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันสกัด การแพร่ระบาด และลดความรุนแรงให้ลดลงให้ได้มากที่สุด สมาคมฯ จึงขอนำเสนอแนวทางให้ความร่วมมือเพื่อร่วมกับภาครัฐในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ด้วยการช่วยเหลือให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึง รวมทั้งฟื้นฟูและเยียวยา SMEs ไทย และขอร่วมผลักดันในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้เติบโต อย่างต่อเนื่อง
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย พร้อมสู้โอมิครอน ร่วมกับภาครัฐ ชู 5 แนวทางปฏิบัติ เพื่อผลักดัน และพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า "ทุกภาคส่วนต้องร่วมใจ ร่วมมือ และร่วมผลักดันอย่างพร้อมเพรียงในการควบคุมการแพร่ระบาดในครั้งนี้ บวกกับการที่ประชาชนทุกคนมีวินัยและป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข มีความเป็นไปได้มากว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 30,000 คนต่อวัน ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ เราน่าจะผ่านความท้าทายนี้ไปได้ไม่ยาก เศรษฐกิจไทยกำลังจะฟื้นตัวจากวิกฤต และ เราทุกคนต้องร่วมผลักดันไม่ให้ประเทศไทยของเราเข้าสู่วิกฤตอีกครั้ง เราไม่สามารถกลับมาเจอกับบาดแผลที่จะซ้ำตรงที่เดิมได้อีกแล้ว ดังนั้นการทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อของโอมิครอนลดลงหรือให้มีจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เราต้องใช้ระบบป้องกันแบบปูพรม (Innate Immunity) เพิ่มความช่วยเหลือให้ SMEs ไทยมีสภาพคล่อง และการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นคีย์หลักที่สมาคมฯ พร้อมที่จะร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้อีกครั้ง"

โดยสมาคมฯ และภาคีเครือข่าย ยังคงยึด 5 แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  1. สนับสนุนพื้นที่จุดฉีดวัคซีนทั่วประเทศ สมาคมฯ และภาคีเครือข่ายพร้อมที่จะนำพื้นที่จุดฉีดวัคซีนของภาคเอกชนกลับมาทันที เพื่อช่วยรัฐบาลในการเป็นจุดกระจายการฉีดวัคซีนให้เข้าถึงประชาชนทั่วประเทศอย่างทั่วถึง รวมทั้งให้การสนับสนุนหน่วยฉีดวัคซีนเคลื่อนที่เพื่อให้ชุมชนต่างๆ เข้าถึงวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว
  2. ยกระดับมาตรฐานสาธารณสุข สมาคมฯ และภาคีเครือข่าย ยังคงยกระดับมาตรการสาธารณสุขไทยอย่างเคร่งครัดเข้มข้นขั้นสูงสุด ยึดหลัก Covid Free Setting ทุกคนต้องป้องกันตนเองแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) และพร้อมให้ความร่วมมือปฏิบัติตามนโยบาย Work From Home เพื่อเป็นการช่วยลดการกระจายและแพร่ระบาดของโอมิครอน
  3. ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย โดยเร่งผลักดันให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่านแฟลตฟอร์ม Digital Supplychain Finance ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย รวมทั้งยังลด Credit Term ให้สั้นลงเพื่อเสริมสภาพคล่องและช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นการสร้างแต้มต่อให้ SMEs ไทยสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
  4. ตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค สมาคมฯ และภาคีเครือข่าย พร้อมสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนใน การช่วยลดภาระค่าครองชีพด้วยการตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน
  5. เร่งการลงทุนในประเทศ ภาคค้าปลีกและบริการ ยังคงไว้ซึ่งแผนการลงทุน และการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการช่วยอัดฉีดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทย และยังสร้างการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่แล้วในระบบค้าปลีกและบริการกว่า 1.1 ล้านคน

ทั้งนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องในเรื่อง ดังต่อไปนี้

  1. รัฐต้องมีมาตรการเชิงรุกสำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดให้มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม หากมีการระบาดในแต่ละพื้นที่ รัฐควรมีการปิดเฉพาะพื้นที่ที่เป็นคลัสเตอร์เท่านั้น
  2. การยกระดับการเตรียมพร้อมของระบบสาธารณสุข
    2.1 เร่งกระจายวัคซีน ทั้งในส่วนที่ประชาชนได้จองไว้ผ่านโรงพยาบาลเอกชน และในส่วนที่รัฐบาลจัดหามา เพื่อให้วัคซีนกระจายถึงประชาชนให้มากที่สุด และเร็วที่สุด
    2.2 เสริมชุดตรวจ ATK ที่มีคุณภาพสูง ในราคาที่ภาคเอกชนและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจาก มีความจำเป็นต้องใช้เป็นจำนวนมากเพื่อการตรวจเชื้อโควิด-19
    2.3 เตรียมยารักษาโควิด-19 ให้พร้อม เผื่อในกรณีที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อในวงกว้าง เพื่อเป็นการตัดตอนการแพร่ระบาดให้ได้ทันท่วงที
    2.4 สำรองเตียงสำหรับผู้ป่วยหนัก ให้มีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทั่วประเทศ
  3. อัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐที่มีผลลัพธ์ที่ดี เช่น โครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน เป็นต้น รวมทั้งการเร่งเบิกงบประมาณทุกหน่วยงานของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเงินหมุนเวียนในระบบฯ
  4. ช่วยภาคเอกชนและประชาชนลดค่าใช้จ่าย โดยช่วยลดค่าน้ำ ค่าไฟ ลดเงินสมทบประกันสังคม ภาษีป้าย รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงิน ดอกเบี้ยบัตรเครดิต ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ไม่มีการค้ำประกัน และพิจารณาลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการทั้งที่เกี่ยวข้องกับโควิดทางตรงและทางอ้อม

"สมาคมฯ ขอยืนยันให้การสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโอมิครอน และเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในสภาวะที่เปราะบางเช่นนี้ การร่วมมือกันจะเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยอย่างมีประสิทธิผลและต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ผมเชื่อมั่นว่าทุกคนได้ร่วมกันผ่านจุดที่ยากที่สุดมาแล้ว และเป็นอีกครั้งที่ทุกภาคส่วนต้องพร้อมใจร่วมฝ่าฟันความท้าทายครั้งนี้ ซึ่งจะนำบทเรียนการปรับตัวในอดีตมาปรับใช้ เพื่อเป็นทางออกที่ดีที่สุดให้แก่ประเทศ แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดอีกกี่ครั้งก็ตาม" นายญนน์ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: สมาคมผู้ค้าปลีกไทย

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย พร้อมสู้โอมิครอน ร่วมกับภาครัฐ ชู 5 แนวทางปฏิบัติ เพื่อผลักดัน และพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ