การลงทุนด้านสุขภาพของพนักงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่ทวีคุณ

อังคาร ๑๑ มกราคม ๒๐๒๒ ๑๓:๓๕
องค์กรทั่วโลกพร้อมเพิ่มงบประมาณการลงทุนเพื่อสุขภาพของพนักงาน นั่นเป็นข้อมูลจากการศึกษาที่ระบุในรายงาน อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส Risk Outlook 2022 นอกจากนี้ ข้อมูลจากรายงานและแผนที่ความเสี่ยงโลกปรับปรุงใหม่นี้ได้ชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่าง ๆ กำลังรับมือกับความเสี่ยงที่ทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น
การลงทุนด้านสุขภาพของพนักงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่ทวีคุณ

ผลการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงเกือบ 1,000 คนใน 75 ประเทศ ผนวกกับข้อมูลเชิงลึกจาก Workforce Resilience Council และข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส บ่งชี้ว่าต่อไปองค์กรจะลงทุนในด้านการรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตมากขึ้น และในความเป็นจริงแล้วมีหน่วยงานมากกว่า 56% มีแผนเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับการพัฒนาทั้งสองด้านนี้

ทุกวันนี้องค์กรต่าง ๆ กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพทั้งสองส่วน คือนอกจากสุขภาพกายแล้ว โรคระบาดใหญ่ทั่วโลกยังส่งผลต่อวิกฤตสุขภาพจิตอีกด้วย มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม (36%) คาดว่าสุขภาพจิตจะส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2565

ความจำเป็นในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการที่องค์กรต่าง ๆ คาดว่าจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในปี 2565 กล่าวคือ มากกว่าสองในสาม (68%) ขององค์กรคาดการณ์ว่าความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหรือยังคงเท่าเดิมในปีหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้มีอำนาจตัดสินใจที่รับผิดชอบการเดินทางเพื่อธุรกิจ 69% และพนักงานที่ได้รับมอบหมายให้ไปประจำในต่างประเทศ 67% คาดว่าความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิม

5 สาเหตุหลักที่คาดว่าจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของพนักงานลดลงในปี 2565

  • โควิด 19
  • ปัญหาสุขภาพจิต
  • ภัยธรรมชาติรวมถึงสภาพอากาศที่รุนแรง
  • ข้อกังวลด้านการเดินทาง
  • ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยและเหตุการณ์ความไม่สงบ

นายแพทย์ นีล เนอร์วิชผู้อำนวยการกลุ่ม ฝ่ายการแพทย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ให้ความเห็นว่า "ในปี 2565 เรากำลังเผชิญกับภัยคุกคามต่าง ๆ นานา ที่ซ้อนตัวกันอยู่เป็นชั้น ๆ กล่าวคือ เรากำลังก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 3 ของการแพร่ระบาดของโรค ในขณะที่สถานการณ์ โควิด-19 และผลกระทบจากการล็อคดาวน์จะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ธุรกิจชะงักงัน และความเสี่ยงอื่น ๆ ก็จะปรากฎตัวโผล่ขึ้นมาให้เห็นเด่นชัดมากขึ้นตามมาในทันทีที่ผู้คนเริ่มกลับมาเดินทาง จากการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าปี 2565 จะเป็นปีแห่งการลาออกครั้งใหญ่ องค์กรต้องออกมาตรการจำเป็นต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนพนักงาน โดยการลงทุนในกิจกรรมเพื่อสุขภาวะทางอารมณ์และสุขภาพกายซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นต่อการรักษาพนักงานไว้ นอกจากนี้ ยังจะช่วยหลีกเลี่ยงวัฎจักรแห่งความเลวร้ายที่สร้างปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย และเนื่องจากการทำงานของรัฐบาลและระบบการดูแลสุขภาพหลายแห่งยังต้องดำเนินต่อไปภายใต้สถานการณ์ที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น องค์กรเชิงรุกเท่านั้นจะสามารถยืนหยัดความเป็นผู้นำได้ องค์กรที่สามารถช่วยพนักงานให้ทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด ย่อมจะได้รับการปรับตัว ยืดหยุ่น ความจงรักภักดี และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่เพิ่มขึ้นตอบแทนกลับมา"

โควิด-19 ยังคงฉุดรั้งให้ธุรกิจชะงัก ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ต่อสู้ที่จะรับมือ

สำหรับหลาย ๆ องค์กร โควิด-19 ยังคงเป็นความท้าทายในการดำเนินงานที่สำคัญ หนึ่งในสาม (33%) ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดกล่าวว่า การมีทรัพยากรที่พอเพียงสำหรับการจัดการกับไวรัสถือได้ว่าเป็นความท้าทายสูงสุดในปี 2565 นี้ และเป็นที่น่าประหลาดใจที่ว่าหากพิจารณาเฉพาะองค์กรในเอเชีย จะเห็นได้ว่ามีอัตราที่สูงกว่า กล่าวคือเกือบครึ่งคือที่ระดับ 47% นั่นแสดงให้เห็นว่าภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ในช่วงแรก ๆ อาจยังคงต้องรับมือกับการหยุดชะงักต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ในขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสอบถามจากยุโรปตะวันตกและอเมริกามีแนวโน้มที่ต้องเจอความท้าทายกับการวางนโยบายเกี่ยวกับโควิด-19 มากขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากความจำเป็นในการกำหนดนโยบายการตรวจโควิดและการฉีดวัคซีนสำหรับโควิด-19 ทั้งนี้ 36% ของผู้ตอบแบบสอบถามในยุโรปตะวันตกและอเมริการะบุถึงเรื่องนี้ว่าเป็นปัญหา ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกจำนวน 25% มองว่าสิ่งนี้เป็นความท้าทาย

ในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ การจัดการผลกระทบที่สำคัญอย่างต่อเนื่องของโควิด-19 จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ องค์กรต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้นำควบคู่ไปกันกับการทำงานของแผนกต่าง ๆ เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และการบริหารความเสี่ยง

ปัญหาด้านความปลอดภัยที่ยืดเยื้อคือความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่การแพร่ระบาดของโรคเป็นความกังวลอันดับต้นๆ แต่ทว่าความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอื่น ๆ ที่ยืดเยื้อก็คาดว่าจะเป็นตัวการที่ทำให้ธุรกิจชะงักในปี 2565 นี้เช่นกัน

ประเด็นความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถาม 21 % คาดการณ์ว่าภัยธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยสภาพอากาศที่รุนแรง จะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อธุรกิจในปี 2565 ตามมาด้วยความกังวลด้านการคมนาคมขนส่งสำหรับการเดินทางในท้องถิ่น ภายในประเทศและระหว่างประเทศ (19%) และภัยคุกคามด้านความปลอดภัยและเหตุการณ์ไม่สงบ (16%)

มิกค์ ชาร์ป ผู้อำนวยการบริการด้านความมั่นคงปลอดภัยของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า "ในปี 2565 องค์กรต่างๆ ยังคงต้องตระหนักถึงปัญหาความปลอดภัยที่ยืดเยื้ออยู่ตลอด เช่น อาชญากรรม เหตุการณ์ความไม่สงบ การก่อการร้าย หรือปัญหาทางภูมิศาสตร์การเมืองอื่นๆ ไม่ได้หมดไป แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก แท้จริงแล้ว ในหลายกรณีความเสี่ยงจากปัญหาเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้น ความตึงเครียดจากการล็อกดาวน์จากโรคระบาด การฉีดวัคซีน และการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้เป็นชนวนโหมให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในบางพื้นที่ ทั้งนี้ การประกาศใช้ข้อบังคับหรือข้อจำกัดด้านวัคซีนสำหรับบุคคลที่ไม่ได้รับวัคซีนทั่วโลกที่มีมากขึ้นจะทำให้เราเห็นความตึงเครียดเพิ่มขึ้นตลอดปี 2565 นอกจากปัจจัยกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับ โควิด-19 แล้ว ภัยธรรมชาติ ภูมิศาสตร์การเมืองและความขัดแย้งภายในประเทศ ตลอดจนปัญหาอาชญากรรมจะยังคงส่งผลกระทบต่อองค์กรทั่วโลก ผลกระทบนี้จะเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2565 อันเป็นผลจากการกลับมาเดินทางที่เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับภารกิจในการดูแล (the Duty of Care) ของพนักงานในประเทศที่มากขึ้นเช่นกัน

ในการรับมือกับความเสี่ยง องค์กรจะต้องระบุจุดบอดของการบริหารจัดการภาวะวิกฤตทั้งภายในและภายนอกให้ชัดเจน และลงมือดำเนินการทันที เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น องค์กรต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เป็นข้อเท็จจริง ปราศจากอคติ และมองไปข้างหน้า โดยเป็นรายละเอียดเฉพาะที่เชื่อถือได้ของแต่ละสถานที่ให้แก่พนักงานที่ต้องเดินทาง ตลอดจนพนักงานภายในประเทศให้ได้รับทราบอยู่เสมอ ทั้งนี้ การติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบก็นับเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน อีกทั้งหน่วยงานต้องมีกระบวนการที่เหมาะสมในการปฏิบัติตามหลักหรือความรับผิดชอบในการดูแลทรัพยากรบุคคล"

มุมมองของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส

5 การคาดการณ์ในปี 2565

จากผลการสำรวจ Risk Outlook ร่วมกับข้อมูลของ Workforce Resilience Council และข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส การคาดการณ์ 5 อันดับแรกของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ในปีนี้ ได้แก่:

  1. โควิด-19 และปัญหาสุขภาพจิตระยะยาวจะเป็นอุปสรรคหลักในการทำงานของพนักงานในปี 2565 โดยจะส่งผลต่อปัญหาการขาดงานและความต่อเนื่องงานที่ทวีความรุนแรงขึ้น
  2. การแพร่ระบาดของข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน (Infodemic) จะยิ่งทำให้การดูแลและปกป้องพนักงานดำเนินการได้ยากขึ้นไปอีก ในขณะที่ภาระหน้าที่ในการดูแลพนักงาน (duty of care) จะถูกปรับเปลี่ยนไปตามมาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัย ความคาดหวังของพนักงาน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่ ๆ ที่ออกมา
  3. กิจกรรมที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดใหญ่จะเริ่มเข้าสู่ภาวะทรงตัวภายในปี 2566 เนื่องจากองค์กรใช้การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยมาสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน โดยนำมาใช้เป็นมาตรการในการรักษาบุคลากร และสร้างความเต็มใจที่จะกลับไปทำกิจกรรม ซึ่งรวมไปถึงการเดินทางเพื่อธุรกิจ
  4. ความเสี่ยงขององค์กรที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันได้ตั้งตัว ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความไร้ระเบียบทางสังคมและความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์จะยกระดับสูงขึ้นมากกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด
  5. การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (climate change) จะเพิ่มความถี่และระดับความรุนแรงของภัยคุกคามหรืออันตราย (hazard) ที่เกิดขึ้นจากสภาพที่ไวต่ออากาศ อาทิ โรคติดเชื้อ สภาพอากาศที่เลวร้าย (extreme weather event) และความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและสังคม

Risk Outlook 2022 จะถูกนำเสนอในงาน Thailand Risk Outlook Webinar ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ที่มา: ทีคิวพีอาร์ ประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม