1. สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ 2.สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย 3. สมาคมวิชาชีพภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย 4. สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ไทย 5. สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย(TGA) 6. สมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย (DCAT) 7. สมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์ 8. สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย 9. สมาคมส่งเสริมวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ไทย 10. สมาคมผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ 11. สมาคมผู้บริหารการผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศ 12. สมาคมไทยธุรกิจอิเล็คโทรนิคบันเทิง 13. สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิงไทย 14. สมาคมการค้าผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีไทย 15. สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (RTBPF) 16. มูลนิธิสวัสดิการนักแสดง 17. สมาคมศิลปินตลกแห่งประเทศไทย 18. สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 19. สมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย 20.สมาคมผู้ประกอบอาชีพระบบแสงเสียงภาพไทย 21. สมาคมลิเกประเทศไทย 22. สมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลางประเทศไทย 23. สมาคมอุปรากรจีน 24. สมาคมศิลปินขับซอล้านนา 25. สมาคมกลองและศิลปะการแสดงล้านนา 26. สมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ 27. สมาคมหมอลำอีสาน 28. สมาคมหนังตะลุงปักษ์ใต้ และ 29.สหพันธ์สมาคมโนราแห่งประเทศไทย
นายประสพ กล่าวอีกว่า สำหรับกลุ่มศิลปินและกลุ่มเครือข่ายอุตสาหกรรมบันเทิงที่มีอายุเกิน 65 ปีทั้งผู้ที่เป็นสมาชิกและผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก 29 สมาคมข้างต้นสามารถไปติดต่อแจ้งความประสงค์เพื่อขึ้นทะเบียนรับการช่วยเหลือเยียวยาที่สมาคมต่างๆ ในสาขาอาชีพนั้นๆ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 24 มกราคมนี้ โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนวัฒนธรรม 1765 หรือ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กกระทรวงวัฒนธรรม หรือ เว็บไซต์กระทรวงวัฒนธรรม www.m-culture.go.th ทั้งนี้ วธ.จะประสานงานกับ 29 สมาคมเพื่อรวบรวมข้อมูลและจำนวนกลุ่มศิลปินและกลุ่มเครือข่ายอุตสาหกรรมบันเทิงที่มีอายุเกิน 65 ปีที่ได้แจ้งความประสงค์เพื่อขึ้นทะเบียนไว้ เพื่อเสนอของบประมาณช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบจากโรคโควิด-19 จากรัฐบาลต่อไป
ที่มา: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม