กรุงเทพฯ--18 ส.ค.--สสวทท.
รศ.ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานสภามนตรี สภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดจัดงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2549 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 8-22 สิงหาคม 2549 ซึ่งในงานดังกล่าวนอกจากจะมีการเทิดพระเกียรติพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แล้ว ยังมีการประกวดกิจกรรมของเยาวชนทั่วประเทศ อาทิการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ การแข่งขันตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ การแสดงไซน์โชว์ ฯลฯ รวมทั้งเผยแพร่ผลงานการวิจัยและพัฒนา กระตุ้นความสนใจ และส่งเสริมความรู้ ให้ความเข้าใจแก่เยาวชนและ ประชาชนทั่วไป
สภาสมาคมวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงววิทยาศาสตร์ฯ ร่วมในการจัดงานครั้งนี้ โยเข้าร่วมจัดนิทรรศการในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2549 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 11-12 สิงหาคม ศกนี้ โดยกลุ่มสมาชิกของสภาสมาคม ฯ ร่วมจัดนิทรรศการในหัวข้อ “ชีวิตกับวิทยาศาสตร์” ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มนิทรรศการคือ
กลุ่มสุขภาพ ประกอบด้วย แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมสรีรวิทยาแห่งประเทศไทย และสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีการนำเสนอความก้าวหน้าทางแพทย์ เช่น การใช้ “พันธุกรรมทำนายโรค” บริการตรวจยีนและ DNA การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกเพื่อการระวังรักษา และการออกกำลังกายแบบจีนโบราณ “”จิงกังกง” เพื่อสุขภาพ
กลุ่มที่อยู่อาศัยกับภัยพิบัติธรรมชาติ โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
ไทย สมาคมธรณีวิทยา ซึ่งให้ความรู้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านต่าง ๆ
กลุ่มพลังงานเพื่อความอยู่รอด โดยสมาคมเคมีแห่งประเทศไทย สมาคมฟิสิกส์ไทย สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการด้านพลังงานจากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต และวิธีการประหยัดพลังงาน
กลุ่มอาหารเพื่อชีวิต โดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร สมาคมบรรจุภัณฑ์ไทย สมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ในด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อชีวิต โดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร สมาคมบรรจุภัณฑ์ไทย สมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อชีวิต
จึงขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมชมนิทรรศการได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 22 สิงหาคม ศกนี้ ตั้งแต่เวลา 9.00 น.-21.00 น.
การให้บริการตรวจสุขภาพในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นายแพทย์ดิเรก จิวะพงศ์ กรรมการบริหารแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของบุคคลทั่วไป คือ มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรืออ้วน ซึ่งเป็นเหตุนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บชนิดต่าง ๆ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคปวดหลัง โรคเข่าเสื่อมเป็นต้น ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป หรือผอม ก็อาจจะเกิดโรคเลือดจาง กระดูกจางหรือมีโรคเรื้อรังอื่น ๆ แฝงอยู่ ซึ่งน้ำหนักตัวของคนทั่วไป ควรจะพอดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนสูง เพศ อายุ และเผ่าพันธุ์
ดัชนีมวลกายปกติ หมายถึงน้ำหนักตัวพอดี ไม่เกินค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวของ(สุขภาพดีที่วัยเดียวกัน การวัดดัชนีมวลกายจะกระทำได้โดยเอาน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยความสูงของร่างกายยกกำลังสอง ดัชนีมวลกายจะบอกถึงความสมดุลของน้ำหนักตัว และสูงสุดตามวัน เพศและอายุ โยทั่วไปดัชนีมวลกายในคนอายุมากกว่า 20 ปี ควรอยู่ระหว่าง 20-25 ถ้าสูงหรือต่ำกว่านี้ต้องปรึกษาแพทย์ สำหรับผู้ที่มีดัชนีมวลกายผิดปกติต่ำกว่ามาตรฐานเพียงเล็กน้อย ให้ออกกำลังกาย รับประทานอาหารพวกแป้ง และโปรตีนมากขึ้น รวมทั้งผลไม้ แต่ถ้าดัชนีมวลกายสูงไปให้ออกกำลังกาย งดน้ำขวด ขนม อาหารที่มีแป้งมาก รวมทั้งของมันและของทอด เมื่อได้ปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วไม่ต่ำกว่า 6 สัปดาห์ ค่า BMI ยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องไปปรึกษาแพทย์
และจากการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ได้จัดงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2549 ขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ในระหว่างวันที่ 11-22 สิงหาคม ศกนี้ แพทยสมาคมโดยการนำของของสภาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการในหัวข้อเรื่อง “วิทยาศาสตร์กับชีวิต”ในกลุ่มสุขภาพของงานดังกล่าวด้วย โดยได้มีการให้บริการตรวจดัชนีมวลกาย และความหนาแน่นของกระดูกให้แก่ประชาชนผู้เข้าร่วมชมงานฟรี ตลอดระยะเวลาของการจัดงาน
จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมชมนิทรรศการและเข้ารับบริการตรวจได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 น.-18.00 น.
ความรู้เรื่องโภชนาการกับมะเร็ง ในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ทันตแพทย์เสรี ปาการเสรี ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดความศูนย์เสียทางด้านเศรษฐกิจและทำลายชีวิตประชากรไทยจำนวนมหาศาลทุกปี โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศ องค์การอนามัยโลกบอกว่า โรคมะเร็งได้มีการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ และบอกว่าสาเหตุของโรคเกิดจากโภชนาการ 35 % เกิดจากเชื้อโรคโดยเฉพาะไวรัส 10 % และอื่น ๆ 25 % ได้แก่เกิดจากกรรมพันธุ์ที่มีอยู่ชัดเจนอยู่ 2 แห่ง คือ มะเร็งเต้านมกับมะเร็งลำไส้ สาเหตุเกิดจากความเครียด เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือสารเคมี มีคำกล่าวในวงการแพทย์ว่า อาหารอันแท้จริง (โภชนาการ) ไม่เคยทำให้คนเป็นมะเร็ง แต่สารปรุงแต่งหรือสารปนเปื้อนในอาหาร เป็นตัวการสำคัญให้เกิดโรคมะเร็ง สารปรุงแต่ เช่น สีสังเคราะห์ กลิ่นสังเคราะห์ สารไนไตร์ท สารไนเตรท สารกันบูด ฯลฯ สารปกเปื้อนได้แก่ อัลฟาท็อกซิล บอแรกซ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะทำให้เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง ถ้ารับเข้าไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะทำให้เซลล์นั้นกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยมันจะเข้าไปกระตุ้นแล้วทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเซลล์อย่างเรื้อรัง ดังนั้น คนเราจึงไม่ควรบริโภคอาหารอุตสาหกรรม
วิธีกินอาหารป้องกันมะเร็ง องค์การอนามัยโลกบอกว่า ถ้าเราจะลดการเสี่ยงมะเร็ง 50 % ให้รับประทานอาหารต่อไปนี้
1. เบต้าแคโรทีน มีอยู่ในพืชสีเหลืองส้ม เช่น แครอท ฟักทอง ส้ม
2. วิตามิน C มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ฝรั่ง ส้ม
3. วิตามิน E มีอยู่ในถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ จมูกข้าวสาลี
4. ซิงก์ (สังกะสี) มีอยู่ในอาหารทะเล เช่น หอยนางรม และพืชผัก
5. ซิลิเมียม มีอยู่ในอาหารทะเล และพืชผัก
ผักและผลไม้จึงมีประโยชน์มาก ฉะนั้น สถาบันมะเร็งฯ จึงรณรงค์ให้ประชาชนรับประทานผักผลไม้ ให้ได้ครึ่งหนึ่งของอาหารทั้งหมด ไม่กินอะไรจำเจ ซ้ำซาก ให้กินหลากหลาย เนื่องจากผักผลไม้มีกากใย หรือไฟเบอร์ ซึ่งเปรียบเสมือนไม้กวาด คอยกวาดทางเดินอาหารให้สะอาด และดูดซับสารพิษ เช่น อัลฟาท็อกซิล ไขมัน น้ำตาล ออกไปพร้อมกับอุจจาระ การออกกำลังกาย จะช่วยให้ระบบเซลล์น้ำเหลืองหรือเม็ดเลือดขาว ถูกขับเคลื่อนเข้าไปในกระแสโลหิต และไปทำลายเซลล์มะเร็งหรือสิ่งแปลกปลอมฉะนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งด้วย เนื่องจากว่าร่างกายของคนเราประมาณ 80 % เป็นน้ำ ฉะนั้นเราควรดื่มน้ำสะอาดวันละไม่น้อยกว่า 2 ลิตร ถ้าหน้าร้อนควรจะ 3 ลิตร เหตุผลก็คือ น้ำเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปล้างเม็ดเลือดให้สะอาดทำให้เม็ดเลือดนำอาหาร และเม็ดเลือดไปส่งที่เซลล์เนื้อเยื่อได้ดี และรับของเสียพร้อมคาร์บอนไดออกไซด์มาขับทิ้งทางปัสสะวะ จึงเป็นการป้องกันอีกทางหนึ่ง
และจากการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2549 ขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ในระหว่างวันที่ 11-22 สิงหาคม ศกนี้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยการนำของสภาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการใน หัวข้อเรื่อง “ชีวิตกับวิทยาศาสตร์”ในกลุ่มสุขภาพของงานดังกล่าวด้วย โดยจะมีวิทยากรไปบรรยายเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมชมงานดังกล่าว ตั้งบัดนี้ไปจนถึงวันที่ 22 สิงหาคมศกนี้ ตั้งแต่เวลา 09.00 น.-18.00 น. หรับผู้ไม่มีเวลาไปชมงาน แต่สนใจรายละเอียดสามารถสอบถามที่เบอร์โทร. 09 792535
บริการตรวจพันธุกรรม ทำนายโรคมะเร็งในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ดร.ดนัย ทิวาเวช รองเลขาธิการ สภาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และผู้ชำนาญการพิเศษด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ หัวหน้าชีววิทยามะเร็ง กลุ่มงานวิจัย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตนเอง พร้อมคณะได้ทำการศึกษาค้นคว้า พบว่าปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ ในคนเกิดจากการขาดยีนชนิดหนึ่งที่ผลิตเอนไซม์ GSTM 1 ซึ่งทำหน้าที่ขจัดสารก่อมะเร็งออกจากร่างกายก่อนที่สารดังกล่าวจะเข้าไปทำให้ DNA เกิดการกลายพันธุ์และเกิดโรคมะเร็งได้
เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบใน ประเทศไทยส่วนใหญ่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และเป็นโรคมะเร็งในระยะสุดท้ายเมื่อรักษาด้วยการผ่าตัด รังสีบำบัด และเคมีบำบัด ผู้ป่วยมักเสียชีวิตภายในระยะเวลาไม่นานนักหลังจากผ่านการบำบัดรักษา แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีของอณูพันธุ์วิทยาในปัจจุบันทำให้ทราบว่ามนุษย์นั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Polymorphism) ซึ่งทำให้แต่ละคนมีความไวในการเกิดโรคมะเร็งได้ไม่เหมือนกัน บ้างก็มีความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่ทำหน้าที่ต้านการเกิดโรคมะเร็ง กระตุ้นสารก่อมะเร็งให้ออกฤทธิ์ และทำลายพิษของสารก่อมะเร็งชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการซ่อมแซม DNA
จากการศึกษาพบว่า สามารถตรวจพบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนต้านโรคมะเร็ง (GSTM1)ได้จากการตรวจ DNA ในเม็ดเลือดขาว ซึ่งสามารถทำนายความเสี่ยงของผู้ที่กำลังจะเป็นโรคมะเร็งระยะเริ่มแรกในอนาคตได้ อาทิ มะเร็งกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ เต้านม ตับ และโพรงหลังจมูก ซึ่งการค้นพบนี้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่จะทำให้สามารถสืบค้นว่าใครคือผู้เสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง ในอนาคตอันใกล้ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มมีรหัสพันธุกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง จะสามารถป้องกันตนเอง และได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การตรวจพันธุกรรมทำนายโรคนี้ ได้จัดในงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2549 ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ร่วมกันจัดงาน สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยการนำของสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 11-22 สิงหาคม ศกนี้ ตั้งแต่เวลา 09.00 น.-20.00 น. ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและขอลงทะเบียนเพื่อรับการตรวจพันธุกรรมทำนายโรคมะเร็งได้ ตามวันเวลาและสถานที่ดังกล่าว โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
- ม.ค. ๒๕๖๘ วว. ร่วมงานสัมมนา Spain-Thailand Innovation and Tech Dialogue Platform 2023
- ม.ค. ๒๕๖๘ วว. ได้รับรางวัลเชิงธุรกิจและเชิงสังคม ประจำปี 2566 ร่วมขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
- ม.ค. ๒๕๖๘ วว. ต้อนรับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ด้านระบบราง