ในวาระนี้ มีหนังสือเล่มหนึ่งได้เกิดขึ้น ชื่อว่า หนังสือ "Seeing with the Eye of Dhamma" เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ ที่ได้รับการตีพิมพ์ โดย สำนักพิมพ์ชัมบาลา Shambhala Publications ที่มีความเชี่ยวชาญในการพิมพ์ "หนังสือที่นำเสนอวิธีที่สร้างสรรค์และมีสติในการเปลี่ยนแปลงบุคคลสังคมและโลก"
หนังสือ "Seeing with the Eye of Dhamma" ได้แปลมาจากหนังสือ ธรรมโฆษณ์ ฉบับชื่อ ธรรมะเล่มน้อย เป็นคำบรรยาย ของท่านอาจารย์พุทธทาส ประจำวันเสาร์ ภาคมาฆบูชา ระหว่างวันเสาร์ ที่ ๑ ม.ค. - ๒๖ มี.ค. ๒๕๒๖ รวม ๑๒ ครั้ง ณ ลานหินโค้ง สวนโมกขพลาราม ธรรมะเล่มน้อย เล่มนี้ ท่านอาจารย์มุ่งหมายให้เป็นธรรมะเล่มน้อย เล่มเดียวจบคือได้สรุปรวม หลักการศึกษาพุทธรรวม ไว้อย่างรวบรัด ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธที่มาของหนังสือ "Seeing with the Eye of Dhamma"
ย้อนไปเมื่อปี ๒๕๖๐ อาจารย์เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ แห่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) แนะนำให้สำนักพิมพ์ Shambhala ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาชีวิตจิตใจและสังคม แนวพระพุทธศาสนาระดับสากล รู้จักหนังสือหนังสือ ธรรมะเล่มน้อย และทำให้สำนักพิมพ์ Shambhala สนใจในงานเขียนเล่มนี้ จึงประสานมาที่มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส ฯ เพื่อขอลิขสิทธิ์ไปจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเผยแผ่ให้ผู้ที่สนใจในพุทธศาสนาจากทั่วโลกได้มีโอกาสได้อ่านบ้าง
ผู้แปล "Seeing with the Eye of Dhamma"
๑. ท่านธัมมวิทูภิกขุ พระภิกษุชาวอังกฤษ ผู้อุปสมบท อยู่ศึกษาปฏิบัติ และเผยแผ่ ณ สวนโมกขพลาราม ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๓๘ ถึงปัจจุบัน
๒. อาจารย์สันติกโร ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งท่านเคยอุปสมบทและเป็นผู้ถวายงานพุทธทาสภิกขุอย่างใกล้ชิด ณ สวนโมกขพลาราม ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ และยังคงร่วมงานกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ จนถึงปัจจุบัน
คำนิยมในหนังสือ "Seeing with the Eye of Dhamma"
- องค์ดาไลลามะ ผู้ประพันธ์ Our Human Potential: The Unassailable Path of Love, Compassion, and Meditation
"อาตมาเคยมีโอกาสพบท่านพุทธทาสเมื่อคราวเยือนประเทศไทยครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๑๐ และอีกครั้งที่สวนโมกขพลารามในอีกหลายปีต่อมา ท่านถือเป็นสหายธรรมอาวุโสของอาตมาและการได้สนทนาธรรมกับท่านทำให้อาตมาประจักษ์ถึงความเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่แตกฉานและบรรลุธรรมอย่างลุ่มลึกของท่าน ท่านพุทธทาสดำรงอยู่ในสมณเพศอย่างมีคุณค่าโดยการสืบสานพระธรรมคำสอนและอบรมสอนสั่งภิกษุสงฆ์และฆราวาสอย่างเต็มสติกำลัง อาตมาขอร่วมอนุโมทนาในการจัดพิมพ์ผลงานรวมเล่มใหม่ของท่านในชื่อ "Seeing with the Eye of Dhamma" มา ณ โอกาสนี้" www.dalailama.com
- สุเมโธภิกขุ (พระพรหมวชิรญาณ) ผู้ก่อตั้งวัดอมราวดี และผู้ประพันธ์หนังสือ Intuitive Awareness
"อาตมามีความยินดีที่จะแนะนำหนังสือแปลคำสอนของบรมครูพุทธทาสภิกขุเล่มใหม่ที่ครอบคลุมหลักคำสอนที่อ่านง่าย ช่วยให้เราเรียนรู้วิธีพัฒนาและเจริญอริยมรรคมีองค์แปด หนังสือ Seeing with the Eye of Dhamma ให้ข้อคิดหลายหลากและส่งเสริมการปฏิบัติสมาธิภาวนา"
- Christopher Titmuss ครูสอนธรรมะและผู้เขียนหนังสือ The Explicit Buddha: The Depths of the Teaching for Awakening
"ท่านอาจารย์พุทธทาสใช้เวลากว่า ๖๐ ปีในป่าทางภาคใต้ของไทยในการปฏิบัติสมาธิภาวนา พินิจพิจารณา และศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ดำรงชีวิตอยู่ใกล้ชิดปรมัตถสภาวธรรม และการบรรยายธรรมสอนสั่งผู้คน ท่านพุทธทาสแสดงให้เห็นถึงความรู้แจ้งในหลากหลายมิติตลอดชีวิตบนเส้นทางธรรมของท่าน
หนังสือ "Seeing with the Eye of Dhamma" ประกอบด้วยคำสอนของท่านที่สะท้อนความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในข้อธรรมะที่เหมาะกับชีวิตประจำวัน ผู้อ่านจะได้พบข้อพินิจพิจารณาของท่านในเรื่องการฝึกฝนจิต การค้นหาตัวตน/อัตตา ความเชื่อที่ไม่มีเหตุผล และความสำคัญของการเฝ้าสังเกตชีวิต ตลอดจนการอธิบายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับความทุกข์ใจ อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท ปรมัตถสภาวธรรม สังขารธรรม สุญญตา และนิพพาน หนังสือที่ดีมีความลุ่มลึกจะให้ประสบการณ์การอ่านที่เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจและหนังสือSeeing with the Eye of Dhamma ถือเป็นหนึ่งในนั้น"
ทั้งนี้สำนักพิมพ์ Shambhala กำหนดเปิดตัว หนังสือ "Seeing with the Eye of Dhamma" อย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕ ซึ่งหนังสือจะวางจำหน่ายทั้ง on-line อาทิ Amezon และ ในร้านหนังสือชั้นนำ (ทั่วโลก)
https://www.amazon.com/Seeing-Eye-Dhamma-Comprehensive-Buddhadasa/dp/1611807662
สามารถสั่งซื้อ SeeingWithTheEyeOfDhamma ได้ที่:
https://www.shambhala.com/seeing-with-the-eye-of-dhamma.html
หนังสือ ธรรมะเล่มน้อย ติดต่อได้ที่ สโมสรธรรมทาน สวนโมกข์กรุงเทพ
Line ID: @codhammaspace / Link QR Code: https://lin.ee/aFjAEca
สมทบการผลิต เล่มละ ๒๕๐ บาท (ไม่รวมค่าส่ง)
อ่าน E-book ภาษาไทย ได้ฟรีที่:
https://www.pagoda.or.th/dhammag.../2021-10-31-10-44-29.html
ที่มา: สวนโมกข์กรุงเทพ